Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50377
Title: ผลของโปรแกรมการปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านสุขภาพต่อพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้สูงอายุโรคมะเร็งท่อทางเดินน้ำดีที่ได้รับการใส่ท่อระบายทางเดินน้ำดี
Other Titles: The effect of health belief modification program on preventing complications behaviors among older persons with cholangiocarcinoma undertaking percutaneous transhepatic biliary drainage
Authors: ระพีพรรณ ทะนันไชย
Advisors: ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Tassana.C@Chula.ac.th,Tassana.C@chula.ac.th
Subjects: ท่อน้ำดี -- มะเร็ง -- ผู้ป่วย
มะเร็ง -- ภาวะแทรกซ้อน -- การป้องกัน
พฤติกรรมสุขภาพ
Bile ducts -- Cancer -- Patients
Cancer -- Complications -- Prevention
Health behavior
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้สูงอายุโรคมะเร็งท่อทางเดินน้ำดีที่ได้รับการใส่ท่อระบายทางเดินน้ำดีก่อนและหลังได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านสุขภาพ และเพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้สูงอายุโรคมะเร็งท่อทางเดินน้ำดีที่ได้รับการใส่ท่อระบายทางเดินน้ำดีระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านสุขภาพกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มตัวอย่างคือผู้สูงอายุโรคมะเร็งท่อทางเดินน้ำดีที่ได้รับการใส่ท่อระบายทางเดินน้ำดี เข้ารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก แผนกศัลยกรรมทั่วไป โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 44 คน แบ่งเป็นกลุ่มทดลอง 22 ราย กลุ่มควบคุม 22 ราย กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ ในขณะที่กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านสุขภาพ เป็นระยะเวลา 5 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัยคือโปรแกรมการปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านสุขภาพ และแบบสอบถามพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้ป่วยมะเร็งท่อทางเดินน้ำดีที่ได้รับการใส่ท่อระบายทางเดินน้ำดี วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่า ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ค่าเฉลี่ยระดับพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้สูงอายุโรคมะเร็งท่อทางเดินน้ำดีที่ได้รับการใส่ท่อระบายทางเดินน้ำดีหลังได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านสุขภาพสูงกว่าก่อนได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านสุขภาพอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (p<.05) 2. ค่าเฉลี่ยระดับพฤติกรรมการป้องกันภาวะแทรกซ้อนของผู้สูงอายุโรคมะเร็งท่อทางเดินน้ำดีที่ได้รับการใส่ท่อระบายทางเดินน้ำดีในกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการปรับเปลี่ยนความเชื่อด้านสุขภาพสูงกว่ากลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (p<.05)
Other Abstract: The purposes of this quasi-experimental research were to compare complications preventing behaviors among older persons with cholangiocarcinoma undertaking percutaneous transhepatic biliary drainage between the experimental group and control group. The sample were 44 older persons with cholangiocarcinoma undertaking percutaneous transhepatic biliary drainage, aged 60 years and above with general surgery, OPD clinic at King’s Chulalongkorn Memmorial Hospital. They were randomed and classified into 2 groups : 22 each in experimental group and control group. The control group was undertaken conventional nursing care while the experimental group received the health belief modification program for 5 weeks. The instruments of this study were the health belief modification program and the complications preventing behaviors scale for older persons with cholangiocarcinoma undertaking percutaneous transhepatic biliary drainage measure. Data were analyzed by using frequency, percentage, mean, standard deviation and t-test. The research findings were as follows : 1. The mean score of complications preventing behaviors among older persons with cholangiocarcinoma undertaking percutaneous transhepatic biliary drainage after received the health belief modification program was significantly higher than before undertaking the program. (p<.05) 2. The mean score of complications preventing behaviors among older persons with cholangiocarcinoma undertaking percutaneous transhepatic biliary drainage after received the health belief modification program cases in the experimental group was significantly higher than the control group at .(p<05)
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50377
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.734
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.734
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5677202136.pdf4.01 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.