Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50382
Title: ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์ต่อความร่วมมือในการใช้ยาหลายขนานของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง
Other Titles: FACTORS RELATED TO POLYPHARMACY MEDICATION ADHERENCE AMONG OLDER PERSONS WITH CHRONIC ILLNESS
Authors: ศศิธร รุ่งสว่าง
Advisors: ทัศนา ชูวรรธนะปกรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Subjects: ผู้สูงอายุ -- การใช้ยา
โรคเรื้อรัง
Older people -- Drug utilization
Chronic diseases
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยเชิงพรรณนาหาความสัมพันธ์ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความร่วมมือในการใช้ยาหลายขนานของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง และความสัมพันธ์ระหว่าง อายุ เพศ ระดับการศึกษา การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้อุปสรรค การรับรู้สมรรถนะแห่งตนและการสนับสนุนทางสังคมกับความร่วมมือในการใช้ยาหลายขนานของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง กลุ่มตัวอย่างเป็นบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป จำนวน 150 คน ที่มารับบริการรักษาแผนกผู้ป่วยนอกอายุรกรรม โรงพยาบาลสมเด็จพระปิ่นเกล้า และโรงพยาบาลตำรวจ ใช้การสุ่มเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน, Chi-Square และ ค่า t-test ผลการวิจัย สรุปได้ดังนี้ 1. ความร่วมมือในการใช้ยาหลายขนานของผู้สูงอายุโรคเรื้อรังอยู่ในระดับสูง (x =29.32, SD = 3.07) 2. การรับรู้โอกาสเสี่ยง การรับรู้ความรุนแรง การรับรู้ประโยชน์ การรับรู้สมรรถนะแห่งตนและการสนับสนุนทางสังคม มีความสัมพันธ์ทางบวกกับความร่วมมือในการใช้ยาหลายขนานของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r = 0.273, 0.258, 0.344, 0.530 และ 0.597 ตามลำดับ) และการรับรู้อุปสรรคมีความสัมพันธ์ทางลบกับความร่วมมือในการใช้ยาหลายขนานของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (r= -0.445) 3. อายุ เพศและระดับการศึกษา ไม่มีความสัมพันธ์กับความร่วมมือในการใช้ยาหลายขนานของผู้สูงอายุโรคเรื้อรัง (r= 0.004 และ Chi-Square = 2.277, 0.256) ตามลำดับ โดยที่เพศชายและเพศหญิงมีคะแนนความร่วมมือในการใช้ยาหลายขนานโรคเรื้อรังไม่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (t= 1.33)
Other Abstract: The purposes of this descriptive correlational study were to examine the polypharmacy medication adherence among older persons with chronic illness and the relationship between age, sex, education, perceived susceptibility, perceived severity, perceived benefit, perceived barriers, self-efficacy, social supports and medication adherence. One hundred and fifty people aged 60 and above with chronic illness were recruited from outpatient department at Police General Hospital and Somdech Pra Pinklao Hospital, selected by a multistage sampling technique. Descriptive statistics, Pearson’s Product Moment Correlation, Chi-Square and t-test were used to analyze data. The major findings were as follow: 1. The mean score of medication adherence was at a high level (x = 29.32, SD = 3.07) 2. There were statistically positive relationships between perceived susceptibility, perceived severity, perceived benefit, self-efficacy, social supports and polypharmacy medication adherence among older persons with chronic illness at the level 0.05 (r= 0.273, 0.258, .0344, 0.530 and 0.597) respectively. There were statistically negative relationships between perceived barriers and polypharmacy medication adherence among older persons with chronic illness at the level 0.05 (r= -0.445) 3. There were no significant relationships between age, sex, education and medication polypharmacy adherence in among older persons with chronic illness. (r= 0.004 and Chi-Square = 2.277, 0.256) respectively. Whereas, there was no significant relationships between gender and polypharmacy medication adherence. (t= 1.33)
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50382
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5677213036.pdf4.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.