Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50386
Title: | ผลของการฝึกออกกำลังกายด้วยเครื่องกรรเชียงวัดงานในสภาวะปริมาณออกซิเจนต่ำที่มีต่อความสามารถที่แสดงออกทางอากาศนิยมและจุดเริ่มล้า |
Other Titles: | Effects of rowing ergometer exercise in normobaric hypoxic condition on aerobic performance and anaerobic threshold |
Authors: | ทรงทรรศน์ จินาพงศ์ |
Advisors: | วันชัย บุญรอด |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา |
Advisor's Email: | Wanchai.B@Chula.ac.th,Wanchai.B@chula.ac.th,Wanchai.B@Chula.ac.th |
Subjects: | การออกกำลังกาย การออกกำลังกาย -- เครื่องมือและอุปกรณ์ การใช้ออกซิเจน (สรีรวิทยา) Exercise Exercise -- Equipment and supplies Oxygen consumption (Physiology) |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของการฝึกในสภาวะปริมาณออกซิเจนต่ำที่มีต่อความสามารถที่แสดงออกทางอากาศนิยมและจุดเริ่มล้าโดยการฝึกและทดสอบด้วยเครื่องกรรเชียงวัดงาน กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตคณะวิทยาศาสตร์การกีฬา จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เพศชาย อายุระหว่าง 19-24 ปี แบ่งออกเป็นสองกลุ่ม กลุ่มละ 7 คนได้แก่ กลุ่มควบคุม ฝึกในสภาวะปริมาณออกซิเจนปกติ (สัดส่วนปริมาณออกซิเจนในอากาศ = 0.209) และกลุ่มทดลอง ฝึกในสภาวะปริมาณออกซิเจนต่ำ (สัดส่วนปริมาณออกซิเจนในอากาศ = 0.145) ทั้งสองกลุ่มทำการฝึกออกกำลังกายด้วยเครื่องกรรเชียงวัดงานแบบต่อเนื่อง 30 นาที โดยมีอัตราการเต้นของหัวใจที่ 80-90 เปอร์เซ็นต์ของอัตราการเต้นของหัวใจที่จุดเริ่มล้า ทำการฝึก 4 ครั้งต่อสัปดาห์ เป็นเวลา 6 สัปดาห์ ทำการทดสอบตัวแปรทางสรีรวิทยาก่อนการฝึก หลังฝึกสัปดาห์ที่ 3 และหลังฝึกสัปดาห์ที่ 6 ได้แก่ สมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด อัตราการเต้นของหัวใจที่จุดเริ่มล้า และสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนที่จุดเริ่มล้า นำผลที่ได้จากการทดสอบมาวิเคราะห์ผลทางสถิติ ผลการวิจัย พบว่า หลังการฝึกสัปดาห์ที่ 6 กลุ่มที่ฝึกในสภาวะปริมาณออกซิเจนต่ำ มีค่าสมรรถภาพการใช้ออกซิเจนที่จุดเริ่มล้าเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับก่อนการฝึกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 สมรรถภาพการใช้ออกซิเจนสูงสุด อัตราการเต้นของหัวใจที่จุดเริ่มล้า สมรรถภาพการใช้ออกซิเจนที่จุดเริ่มล้ามีค่าไม่แตกต่างกัน เมื่อเปรียบเทียบระหว่างกลุ่มที่ฝึกในสภาวะปริมาณออกซิเจนปกติ และกลุ่มที่ฝึกสภาวะปริมาณออกซิเจนต่ำ สรุปผลการวิจัย การฝึกออกกำลังกายแบบต่อเนื่องด้วยเครื่องกรรเชียงวัดงานในสภาวะปริมาณออกซิเจนต่ำมีผลต่อการเพิ่มระดับจุดเริ่มล้า อย่างไรก็ตาม ไม่พบความแตกต่างกันระหว่างกลุ่มที่ฝึกในสภาวะปริมาณออกซิเจนปกติ และสภาวะปริมาณออกซิเจนต่ำ |
Other Abstract: | The purpose of this experiment was to investigate the effect of normobaric hypoxic training on aerobic performance and anaerobic threshold. There were fourteen male subjects who performed 30 minutes continuous training in either a normoxic (FiO2=0.145) or hypoxic (FiO2=0.209) condition. Both the Control (n=7) and Hypoxic (n=7) group subjects exercised on a rowing ergometer at an intensity corresponding to 80-90% of heart rate at anaerobic threshold attained in normoxia. Before the training, after week 3 training and after week 6 training, subject’s aerobic performance and anaerobic threshold were determined by 7x4 rowing ergometer incremental test under normoxic condition and then analyzed statistically. The results showed that 1.Mean±S.D. normoxic anaerobic threshold significantly increased after 6 weeks of training only on the Hypoxic group (p<.05). 2.Mean±S.D. normoxic aerobic performance and normoxic anaerobic threshold were no significant difference between Control and Hypoxic group. (p<.05) In conclusion, the normobaric hypoxic training protocol manipulated in this experiment had significant effect on development in anaerobic threshold but no significant difference between Control and Hypoxic group |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิทยาศาสตร์การกีฬา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50386 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.894 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.894 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Spt - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5678309939.pdf | 3.22 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.