Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50388
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorถนอมวงศ์ กฤษณ์เพ็ชร์en_US
dc.contributor.advisorวรรณพร ทองตะโกen_US
dc.contributor.authorพัชมน ถวัลย์วาณิชกุลen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.date.accessioned2016-12-01T08:06:15Z
dc.date.available2016-12-01T08:06:15Z
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50388
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลของโปรแกรมการฝึกแบบวงจรด้วยกลุ่มเพื่อนที่มีต่อสมรรถภาพทางกายของวัยรุ่นหญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกิน วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนหญิง ในระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1-3 อายุระหว่าง 13 - 15 ปี และมีภาวะน้ำหนักเกินโดยใช้เกณฑ์น้ำหนักตามเกณฑ์ส่วนสูง มากกว่า +1.5 SD ขึ้นไป ตามเกณฑ์อ้างอิงการเจริญเติบโตของเพศหญิงอายุ 5 – 18 ปี ของกรมอนามัย จำนวนทั้งสิ้น 38 คน โดยแบ่งเป็นกลุ่มละ 19 คน ทั้งสองกลุ่มเรียนวิชาพลศึกษา 100 นาทีต่อสัปดาห์ โดยกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการฝึกแบบวงจรด้วยกลุ่มเพื่อน ทำการฝึกครั้งละ 40 นาที 3 วันต่อสัปดาห์ ระยะเวลา 8 สัปดาห์ ทำการเก็บข้อมูลก่อนและหลังการทดลอง 8 สัปดาห์โดยการทดสอบสมรรถภาพทางกาย 7 รายการ ได้แก่ เปอร์เซ็นต์ไขมัน ลุก-นั่ง 60 วินาที ดันพื้น 30 วินาที ยืนกระโดดไกล นั่งงอตัวไปด้านหน้า วิ่งอ้อมหลัก 6 หลัก และวิ่งระยะไกล 1,600 เมตร นำมาวิเคราะห์ความแตกต่างระหว่างก่อนและหลังการทดลองโดยทดสอบค่าทีแบบรายคู่ (Paired t-test) และระหว่างกลุ่มด้วยการทดสอบค่าทีแบบอิสระ (Independent t-test) ที่ระดับความมีนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 ผลการวิจัย หลังการทดลอง 8 สัปดาห์ วัยรุ่นหญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกินที่ได้รับการฝึกแบบวงจรด้วยกลุ่มเพื่อนมีค่าเฉลี่ยของเปอร์เซ็นต์ไขมัน เวลาในการวิ่งอ้อมหลักและวิ่งระยะไกลลดลง และมีค่าเฉลี่ยของการลุกนั่ง 60 วินาที ดันพื้น 30 วินาที ยืนกระโดดไกล และนั่งงอตัวไปด้านหน้าเพิ่มขึ้นกว่าก่อนการทดลองและแตกต่างกับกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 สรุปผลการวิจัย โปรแกรมการฝึกแบบวงจรด้วยกลุ่มเพื่อนช่วยพัฒนาสมรรถภาพทางกายในวัยรุ่นหญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกินได้en_US
dc.description.abstractalternativePurpose: The purposes of this study were to determine and compare the effects of peer group circuit training program on physical fitness in overweight female adolescents. Methods: Thirty-eight overweight middle school female, age 13-15 years old, used the criteria of weight and height > +1.5 S.D. by Department of Health were randomly divided into two groups; peer group circuit training program (PCT; n = 19) and control group (CON; n = 19). The both groups engaged with physical education class 100 minutes per week. The PCT group had participated in 9 stations of peer group circuit training program, 40 minutes per day, 3 days per week, for 8 weeks. Before and after 8 weeks, each group was evaluated for physical fitness, such as percentage of body fat, sit-ups, push-ups, standing board jump, sit and reach, zig-zag run, and distance run. The dependent variables were analyzed using paired t-test and independent t-test. Statistical significance was set at p < 0.05. Results: After 8 weeks, the percentage of body fat, time of zig-zag run and distance run in PCT group were significantly decreased (p<0.05) and sit-ups, push-ups, standing board jump, sit and reach test were significantly increased (p<0.05) when compared with pre-test and CON group. Conclusion: These results suggest that peer group circuit training program can improve the physical fitness in overweight female adolescents.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.900-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสตรีน้ำหนักเกิน
dc.subjectบุคคลน้ำหนักเกิน
dc.subjectการฝึกแบบหมุนเวียน
dc.subjectสมรรถภาพทางกาย
dc.subjectOverweight women
dc.subjectOverweight persons
dc.subjectCircuit training
dc.subjectPhysical fitness
dc.titleผลของโปรแกรมการฝึกแบบวงจรด้วยกลุ่มเพื่อนที่มีต่อสมรรถภาพทางกายของวัยรุ่นหญิงที่มีภาวะน้ำหนักเกินen_US
dc.title.alternativeEffects of peer group circuit training program on physical fitness in overweight female adolessentsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การกีฬาen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorThanomwong.K@Chula.ac.th,Tkritpet@yahoo.comen_US
dc.email.advisorWannaporn.To@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.900-
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5678321339.pdf8.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.