Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50403
Title: การพัฒนารูปแบบห้องเรียนกลับด้านด้วยวิธีการเรียนแบบกลุ่มสืบสอบออนไลน์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้เป็นทีมสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
Other Titles: DEVELOPMENT OF A FLIPPED CLASSROOM MODEL WITH ONLINE LEARNING GROUP INVESTIGATION METHOD TO ENHANCE TEAM LEARNING ABILITY OF UPPER SECONDARY SCHOOL STUDENT
Authors: ชนากานต์ โสจะยะพันธ์
Advisors: จินตวีร์ คล้ายสังข์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: jinkhlaisang@gmail.com,jintavee.m@chula.ac.th
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนา ศึกษาผล และนำเสนอรูปแบบห้องเรียนกลับด้านด้วยวิธีการเรียนแบบกลุ่มสืบสอบออนไลน์เพื่อเสริมสร้างความสามารถในการเรียนรู้เป็นทีมสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โดยมีขั้นตอนในการดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน คือ 1) การพัฒนารูปแบบห้องเรียนกลับด้านด้วยวิธีการเรียนแบบกลุ่มสืบสอบออนไลน์ฯ 2) การศึกษาผลการใช้รูปแบบห้องเรียนกลับด้านด้วยวิธีการเรียนแบบกลุ่มสืบสอบออนไลน์ฯ 3) การนำเสนอรูปแบบห้องเรียนกลับด้านด้วยวิธีการเรียนแบบกลุ่มสืบสอบออนไลน์ฯ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองคือ นักเรียนในระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ แบบประเมินรูปแบบ เว็บไซต์การเรียนแบบห้องเรียนกลับด้าน แผนการจัดการเรียนรู้ เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบประเมินตนเองในการเรียนรู้เป็นทีม แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียนรู้เป็นทีม แบบสอบถามความคิดเห็นในการเรียนด้วยรูปแบบฯ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการใช้ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบค่าเอฟ (f-test) ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบฯ ที่พัฒนาขึ้น มี 6 องค์ประกอบ ดังนี้ 1) ผู้เรียน 2) ผู้สอน 3) แหล่งการเรียนรู้บนเว็บโดยเน้นสื่อวีดิทัศน์ 4) การติดต่อสื่อสารและการมีปฏิสัมพันธ์ 5) กิจกรรมกลุ่ม และ 6) การวัดและประเมินผล และมีทั้งหมด 6 ขั้นตอน ดังนี้ 1) ขั้นแบ่งกลุ่ม 2) ขั้นเรียนเนื้อหาบนเว็บ 3) ขั้นบันทึกการเรียนรู้ 4) ขั้นวางแผนแบ่งหัวข้อเพื่อสืบค้น 5) ขั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้และสรุปเป็นชิ้นงาน และ 6) นำเสนอผลงาน ผลการทดลองใช้รูปแบบฯ พบว่า คะแนนเฉลี่ยความสามารถในการเรียนรู้เป็นทีมหลังเรียนของกลุ่มตัวอย่างสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผู้เรียนที่มีความสามารถทางการเรียนแตกต่างกัน มีความสามารถในการเรียนรู้เป็นทีมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purpose of this research was to develop, examine, and propose a flipped classroom model with an online group investigation learning method to enhance team learning ability of upper secondary school students. The subjects in this study were 30 upper secondary students. The research instruments consisted of an expert interview form, a model evaluation form, a flipped classroom website, and a lesson plan. The data gathering instruments consisted of a self-evaluation, an observation form, and a student satisfaction questionnaire. The data were analyzed by using mean, standard deviation, T-test dependent, and F-test. The results of the study comprised of six components and six steps. The six components were: (1) Learners; (2) Instructor; (3) Online learning resources; (4) Communication and interaction; (5) group activities; and (6) Assessment. The Six steps were: (1) Dividing into groups; (2) Studying contents on web; (3) Writing learning log; (4) Planning the investigation in groups; (5) Carrying out the investigation; and (6) Presenting the final report. The experimental results indicated that the subjects post-test mean score was significantly higher than the pre-test mean score (P<.05). In addition, Students with different learning abilities had significantly different team learning abilities (P<.05).
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ครุศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50403
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5683320427.pdf8.59 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.