Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50420
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorมานิตย์ จุมปาen_US
dc.contributor.authorรันตี อัศวพิศาลบูลย์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-01T08:06:54Z
dc.date.available2016-12-01T08:06:54Z
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50420
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงแนวคิด หลักการและเหตุผล ความเป็นมาและความสำคัญในการจัดตั้งองค์กรให้คำปรึกษาด้านเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ โดยวิเคราะห์แนวความคิด ความเป็นมา และการสรรหาสมาชิกขององค์กรที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศฝรั่งเศส ประเทศเนเธอร์แลนด์ ประเทศอิตาลี ประเทศเกาหลีใต้ และประเทศเบลเยี่ยม เพื่อกำหนดรูปแบบโครงสร้างสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติที่เหมาะสมกับประเทศไทย จากการศึกษาพบว่า การจัดตั้งสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของประเทศไทยที่ได้รับอิทธิพลมาจากการจัดตั้งสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมของประเทศฝรั่งเศส แต่กลับไม่ประสบความสำเร็จเช่นเดียวกับประเทศฝรั่งเศสและประเทศอื่นๆ อันเนื่องมาจากภูมิหลัง ประวัติความเป็นมาของการจัดตั้งองค์กร ซึ่งพบว่าองค์กรสภาที่ปรึกษาในแถบประเทศยุโรป ได้เกิดขึ้นจากการรวมกลุ่มของผู้ใช้แรงงานในการต่อรองเรียกร้องความเป็นธรรมเกี่ยวกับผลประโยชน์ทางเศรษฐกิจ จนขยายตัวเป็นสภาที่เป็นตัวแทนของสาขาอาชีพทางด้านเศรษฐกิจและสังคมที่มีฐานะเป็นองค์กรภาคประชาสังคม ทำหน้าที่เสริมองค์กรรัฐสภาและวุฒิสภาซึ่งเป็นองค์กรทางการเมือง ขณะที่สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติของประเทศไทย การดำเนินงานขององค์กรไม่ได้ประสบความสำเร็จ โดยมีสาเหตุสำคัญ คือ กระบวนการสรรหาสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ซึ่งสมาชิกที่ได้รับการคัดเลือกเข้ามาเป็นตัวแทนของกลุ่ม ไม่ได้เป็นตัวแทนที่สะท้อนเจตจำนงของกลุ่มอย่างแท้จริง ทำให้การดำเนินงานขององค์กรไม่เกิดประสิทธิผล จนมีคำสั่งคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 107/2558 ให้สมาชิกสภาที่ปรึกษาฯ พ้นจากหน้าที่ ดังนั้น ผู้เขียนจึงมีความเห็นว่า ควรจัดตั้งสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติในฐานะเป็นองค์กรภาคประชาสังคม และควรกำหนดรูปแบบการสรรหาสมาชิกเพื่อให้ได้ตัวแทนที่เป็นกลุ่มสาขาหลักทางด้านเศรษฐกิจและสังคมอย่างแท้จริงen_US
dc.description.abstractalternativeThis thesis aimed to study the concepts, principles, rationales, backgrounds and importance of establishing the National Economic and Social Advisory Council. The study was conducted by analyzing the concepts, backgrounds, selection of members of the council from other countries, namely France, Netherlands, Italy, South Korea, and Belgium in order to specify appropriate structures of the council of Thailand. According to the study, it could be found that the establishment of the National Economic and Social Advisory Council of Thailand was influenced by the establishment of the National Economic Social and Environmental Advisory Council of France. However, it has been unsuccessful comparing to France and other countries due to the backgrounds of its establishment. They were set to request for the fairness of their economic advantages. They expanded and transformed to the council which was the representative of laborers in economic and social areas as a civil society organization and supported the congress and senate which were political organizations. In contrast, the council of Thailand has implemented unsuccessfully. The cause was the process of member selection of the council. The members selected to be representatives could not reflect the general will of the council literally. It leads to be an inefficient implementation of the organization until there were the words of command from National Council for Peace and Order (NCPO) No.107/2558 to exclude the members of the council. Therefore, the author suggests that there should have an establishment of the National Economic and Social Advisory Council to be as a civil society organization and should specify a pattern of selecting members to be the representatives of each main groups from economic and social areas entirely.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.630-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
dc.subjectสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ -- สมาชิก -- การคัดเลือกและสรรหา
dc.subjectการสรรหาบุคลากร
dc.subjectNational Economic and Social Advisory Council
dc.subjectNational Economic and Social Advisory Council -- Membership -- Selection and appointment
dc.subjectEmployee selection
dc.titleความจำเป็นในการมีสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติและวิธีการได้มาซึ่งสมาชิกสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติen_US
dc.title.alternativeThe Necessity of having the national economic and social advisory council and selection of its membersen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorManit.J@Chula.ac.th,Manit_j@yahoo.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.630-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5686012734.pdf4.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.