Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50422
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศารทูล สันติวาสะen_US
dc.contributor.authorรัฐฉัตร เพ็ชรนารีen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-01T08:06:57Z
dc.date.available2016-12-01T08:06:57Z
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50422
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงข้อท้าทายในการใช้ความคุ้มกันของรัฐจากเขตอำนาจศาลและการบังคับคดีในกรณีการละเมิดกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศอย่างร้ายแรง ซึ่งโดยทั่วไปนั้นกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศเป็นกฎหมายที่กำหนดให้การคุ้มครองแก่ปัจเจกชนในบริบทของภาวะขัดกันทางอาวุธ ดังนั้น เมื่อใดก็ตามที่สิทธิของปัจเจกชนถูกละเมิด ปัจเจกชนเหล่านั้นมีสิทธิที่จะได้รับการเยียวยา อย่างไรก็ตาม สิทธิของปัจเจกชนในการอ้างสิทธิที่จะได้รับการเยียวยาต่อรัฐต่างประเทศในเขตอำนาจทางแพ่งของศาลภายในถูกจำกัดโดยการใช้หลักความคุ้มกันของรัฐ ยิ่งไปกว่านั้น ในคดี "Jurisdictional Immunities of the State" ศาลยุติธรรมระหว่างประเทศได้วินิจฉัยยืนยันว่าหลักความคุ้มกันของรัฐได้รับสถานะเป็นกฎหมายจารีตประเพณีระหว่างประเทศและรัฐต่างประเทศยังคงอุปโภคความคุ้มกันของรัฐได้แม้ว่าการละเมิดที่เกิดขึ้นจะเป็นการละเมิดกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศอย่างร้ายแรงก็ตาม จากการศึกษาพบว่า ในปัจจุบันยังไม่ปรากฏถึงตราสารระหว่างประเทศ แนวปฏิบัติของรัฐ หรือแนวคิดใดๆของพัฒนาการที่ชัดเจนภายใต้กฎหมายประเทศที่เกี่ยวข้องกับข้อยกเว้นในการใช้ความคุ้มกันของรัฐจากเขตอำนาจทางแพ่งของศาลภายใน อย่างไรก็ตาม จากการศึกษายังคงพบด้วยว่ายังมีทางเลือกอื่นภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศ เช่น รัฐที่เกี่ยวข้องตกลงทำความตกลงเพื่อจัดตั้งกลไกพิเศษและมีประสิทธิภาพเพื่อให้การเยียวยา หรือรัฐสามารถปฏิบัติตาม “UN Basic Principle and Guidelines” เพื่อให้เป็นแนวทางในการเข้าถึงอย่างเท่าเทียมกันของปัจเจกชนในการเยียวยาที่มีประสิทธิภาพดังที่ได้ให้ไว้ภายใต้กฎหมายระหว่างประเทศen_US
dc.description.abstractalternativeThis thesis aims to study the challenges in the application of state immunity from jurisdiction and execution in the case of serious violation of international humanitarian law (IHL). Generally, IHL provides protection to individuals in the context of armed conflict. Thus, when the individual’s rights are infringed, they have the right to remedy. Such right of individual asserting for remedy to a foreign state in the domestic civil jurisdiction, however, is barred by the application of state immunity. Moreover, in the case of “Jurisdictional Immunities of the State”, the International Court of Justice delivered its positivism decision in confirmation that state immunity possesses the status of customary international law and foreign states still enjoy state immunity although the violation occurred is a serious violation of IHL. Based on the study, it has found, disappointingly, that there is neither existing positive law nor prospect of concrete development under international law concerning exception of the application of state immunity in the domestic civil jurisdiction. However, the study has also found available alternative forums under international law, such as, states concerned conclude an agreement setting up a special and effective mechanism to provide remedy, or states can comply with “UN Basic Principle and Guidelines” as direction of equal access for individuals to an effective remedy as provided under international law.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.631-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectกฎหมายมนุษยธรรม
dc.subjectการบังคับคดี
dc.subjectเขตอำนาจศาล
dc.subjectศาลยุติธรรมระหว่างประเทศ
dc.subjectHumanitarian law
dc.subjectExecutions (Law)
dc.subjectJurisdiction
dc.subjectInternational Court of Justice
dc.titleความท้าทายในการใช้ความคุ้มกันของรัฐจากเขตอำนาจศาลและการบังคับคดีในกรณีการละเมิดกฎหมายมนุษยธรรมระหว่างประเทศอย่างร้ายแรง: ศึกษาคำพิพากษาศาลยุติธรรมระหว่างประเทศในคดี Jurisdictional Immunities of the State (Germany v. Italy: Greece intervening)en_US
dc.title.alternativeChallenges in the application of the state immunities from jurisdiction and execution in the case of serious violation of international humanitarian law : a case study of jurisdiction immunities of the State (Germany v. Italy: Greece intervening)en_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSaratoon.S@Chula.ac.th,santivasa@hotmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.631-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5686045434.pdf4.32 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.