Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50428
Title: การออกแบบเรขศิลป์เคลื่อนไหวเพื่อสื่อสารต้นแบบตราสินค้าของไทย
Other Titles: Motion graphic design to communicate Thai brand archetypes
Authors: มนน ธรานุรักษ์
Advisors: อารยะ ศรีกัลยาณบุตร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะศิลปกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Araya.S@chula.ac.th,araya.chula@yahoo.com
Subjects: โลโก (สัญลักษณ์) -- การออกแบบ
ตราสัญลักษณ์ -- การออกแบบ
การออกแบบกราฟิก
Logos (Symbols) -- Design
Graphic design
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การออกแบบอัตลักษณ์ตราสินค้าในปัจจุบันมีรูปแบบที่ไม่หยุดนิ่งตามสื่อที่พัฒนาไป การเคลื่อนไหวได้เข้ามามีบทบาทสำคัญและควรถูกพิจารณาว่าเป็นอีกหนึ่งส่วนประกอบที่สำคัญสำหรับนักออกแบบเรขศิลป์ ในการสร้างอัตลักษณ์ตราสินค้าเคลื่อนไหวเพื่อสื่อสารบุคลิกภาพของตราสินค้า ซึ่งบุคลิกภาพตราสินค้านี้สามารถกำหนดได้โดยทฤษฎีต้นแบบตราสินค้า อย่างไรก็ตามการศึกษาคุณสมบัติทางการเคลื่อนไหวเพื่อสื่อสารบุคลิกภาพและสร้างอารมณ์ความรู้สึกที่ต่างกันตามทฤษฎีต้นแบบตราสินค้ายังไม่เคยมีปรากฎ คำถามหลักของงานวิจัยชิ้นนี้จึงเพื่อค้นหาว่าคุณสมบัติทางการเคลื่อนไหวใด สามารถสื่อสารบุคลิกภาพของต้นแบบตราสินค้าแบบใดได้ การดำเนินการวิจัยตามวัตถุประสงค์แรกคือเพื่อค้นหาตัวแปรต้น (1) เพื่อสื่อสารบุคลิกภาพของตราสินค้า ซึ่งจากการทบทวนวรรณกรรมที่เกี่ยวข้องพบว่า “15 ต้นแบบตราสินค้าของไทย” มีความเหมาะสมที่จะนำมาใช้ วัตถุประสงค์ที่สองคือเพื่อค้นหาตัวแปรตาม (2) “คุณสมบัติทางการเคลื่อนไหว” ที่มีนัยสำคัญในการสื่อสารบุคลิกภาพของตราสินค้า โดยการศึกษาจาก 4 ศาสตร์ที่มีความเกี่ยวข้องคือ ฟิสิกส์ การออกแบบสื่อปฏิสัมพันธ์ นาฏยศาสตร์ และแอนิเมชัน คัดเลือกและตรวจสอบตัวแปรทางการเคลื่อนไหวที่มีความเป็นไปได้โดย 3 ผู้เชี่ยวชาญ ใช้เครื่องมือ Index of Item Objective Congruence (IOC) สามารถจำแนกการเคลื่อนไหวได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ กลุ่มการเคลื่อนที่ของวัตถุ และกลุ่มการเปลี่ยนแปลงของวัตถุ โดยทั้งสองกลุ่มจะมีองค์ประกอบทางการเคลื่อนไหวซึ่งเปลี่ยนแปลงแปรผันกับเวลาที่ดำเนินไป แต่เฉพาะกลุ่มการเคลื่อนที่ของวัตถุที่มีองค์ประกอบทางการเคลื่อนไหวซึ่งเปลี่ยนแปลงแปรผันกับพื้นที่ว่าง กลุ่มการเคลื่อนที่ของวัตถุมีสองรูปแบบคือการเปลี่ยนตำแหน่งและการหมุน ซึ่งประกอบด้วย 3 ตัวแปร เส้นทางการเคลื่อนไหวซึ่งเป็นองค์ประกอบเชิงพื้นที่ และสององค์ประกอบเชิงเวลาคือ ความเร็ว และความเร่ง ขณะที่กลุ่มการเปลี่ยนแปลงของวัตถุมีสองรูปแบบเช่นกันคือ การเปลี่ยนแปลงแบบเทคนิคพิเศษทางภาพ และแบบเปลี่ยนแปลงรูปร่าง แต่มีตัวแปรเดียวคือความเร็วซึ่งเป็นองค์ประกอบเชิงเวลา วัตถุประสงค์ที่สามคือการจับคู่ตัวแปรต้นและตัวแปรตาม (1+2) โดย 9 ผู้เชี่ยวชาญเพื่อตอบคำถามหลักของงานวิจัย โดยผลสรุปมีดังนี้ ความเร็วเป็นตัวแปรที่มีความสำคัญสูงสุดเนื่องจากเป็นองค์ประกอบทางการเคลื่อนไหวที่สามารถมองเห็นและเปรียบเทียบได้ง่าย ความเร่งเป็นตัวแปรที่สำคัญรองลงมา โดยแม้ความเร่งอาจจะมองเห็นได้ยากกว่าความเร็ว แต่สามารถสร้างการรับรู้ได้ในลักษณะของความรู้สึก เส้นทางการเคลื่อนไหว การเปลี่ยนแปลงแบบเทคนิคพิเศษทางภาพ และแบบเปลี่ยนแปลงรูปร่าง ทั้ง 3 ตัวแปรหลังนี้ อาจจะไม่มีนัยยะสำคัญต่อการสื่อสารแต่ละต้นแบบตราสินค้ามากเท่ากับสององค์ประกอบแรกที่กล่าวไป แต่สามารถช่วยสร้างบุคลิกที่แตกต่างเพิ่มเติมได้ในหลายต้นแบบตราสินค้า
Other Abstract: Brand identity design in the digital age is not static anymore, therefore motion should be considered as another important component for a graphic designer, in order to create characteristic moving identities to communicate brand personalities, which can be defined by brand archetypes theory. Nevertheless, motion quality for expressing characteristic aspects of brand archetypes in motion graphic design, has never been studied. Therefore the main research finding focuses on “what expressive motion qualities, can communicate what brand archetypes?”. Methods, (1) firstly, finding independent variables to represent brand personalities by literature reviews. Results are 15 chosen brand archetypes from Thai Brand Archetypes framework. (2) Secondly, finding dependent variables that represent expressive motion qualities, by exploring in 4 domains: physic, interactive media design, dance and animation; then verified findings, possible motion qualities, with 3 experts, using Index of Item Objective Congruence (IOC). Results are 2 kinds of motions Transportation, which has spatial and temporal components, and Transformation, which has only temporal component. Transpositions are position and rotation which have 1 spatial component: Motion path (linear, curve, wave, angle and zigzag) and 2 temporal components including: Speed (slow, medium and fast) and Acceleration (acceleration, even and deceleration). Transformations are Visual Effects and Deformations which has only temporal component which is Time or Speed. (3) Finally, matching variables by 9 experts, through questionnaires developed from (2), to get the results for the main research finding and the conclusions are: Speed is the most significant variable which can be noticed easily by the eyes, and will give the first impression to perception. Acceleration is second important, as can not really be seen, but the audience can feel the differences. Motion Path, Visual Effects and Deformations add more characteristic aspects to some archetypes, but not necessarily important comparing with the first two variables.
Description: วิทยานิพนธ์ (ศป.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ศิลปกรรมศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: ศิลปกรรมศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50428
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.599
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.599
Type: Thesis
Appears in Collections:Fine Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5686813035.pdf16.15 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.