Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50443
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเฉลิมชนม์ สถิระพจน์en_US
dc.contributor.authorทัตวรรณ หลั่งทิมen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์en_US
dc.coverage.spatialพม่า
dc.date.accessioned2016-12-01T08:07:37Z-
dc.date.available2016-12-01T08:07:37Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50443-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractรอยเลื่อนสะกายเป็นรอยเลื่อนขนาดใหญ่ ซึ่งจัดเป็นรอยเลื่อนที่มีพลังและสำคัญที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ โดยรอยเลื่อนสะกายนั้นมีพฤติกรรมที่มักจะสะสมพลังงานเป็นเวลานานและสร้างเป็นแผ่นดินไหวขนาดใหญ่ที่เคยส่งผลกระทบด้านแรงสั่นสะเทือนถึงประเทศไทยบริเวณกรุงเทพ ฯ ด้วยเหตุนี้จึงทำการศึกษาพฤติกรรมของรอยเลื่อนสะกาย งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อตรวจสอบรอยเลื่อนสะกาย และการหาตัวแปรอัตราการเคลื่อนตัว (movement rate) ความลึกล็อค (locking depth) รวมถึงการศึกษาพฤติกรรมของเปลือกโลกรอยเลื่อนสะกายที่เป็นรอยเลื่อนสำคัญในพม่า ซึ่งพม่าได้มีการติดตั้งเครื่องรับสัญญาณดาวเทียมจีพีเอสตามขวางของรอยเลื่อนไว้ 8 สถานีอ้างอิง โดยติดตั้งทางตอนใต้และทางตอนเหนือของรอยเลื่อน ได้แก่ สถานี GYBU IGLE WAAW และสถานี SATG ที่ติดตั้งไว้ทางตอนใต้ ส่วนสถานีที่ติดตั้งไว้ทางตอนเหนือ ได้แก่ สถานี HAKA KANI SWBO และสถานี SDWN การศึกษาครั้งนี้ได้ใช้ข้อมูลการรับสัญญาณดาวเทียมจีพีเอสตั้งแต่ปี 2011 – 2014 เป็นเวลาสามปีอย่างต่อเนื่อง โดยประมวลผลด้วยโปรแกรม Bernese ในการวิเคราะห์หาตำแหน่งที่มีความถูกต้องสูงของสถานีทั้ง 8 สถานี เพื่อนำมาใช้ในการหาตัวแปรร่วมกับ Arctangent profile ด้วยสคลิป iat ซึ่งผลการศึกษาการหาอัตราการเคลื่อนตัวของรอยเลื่อนสะกายพบว่าทางตอนเหนือของรอยเลื่อนสะกายมีอัตราการเคลื่อนตัวสูงสุดอยู่ที่ 1 เซนติเมตร ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ และทางตอนใต้ของรอยเลื่อนนั้นมีอัตราการเคลื่อนตัวสูงสุดที่ 2 เซนติเมตร ไปทางด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้เช่นกัน สำหรับสถานีที่อยู่ทางตะวันตกของรอยเลื่อนมีการเคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือส่วนสถานีทางด้านตะวันออกมีการเคลื่อนที่ไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งจะพบว่าเป็นรอยเลื่อนที่มีการเคลื่อนตัวตามแนวราบแบบเลียบขวา และสำหรับผลของความลึกล็อคและค่า Far-field velocity ของรอยเลื่อนสะกายจะพบว่า บริเวณทางตอนเหนือมีค่าความลึกล็อคอยู่ที่ประมาณ 2 กิโลเมตรและมีค่า Far-field velocity ประมาณ 6 เซนติเมตรต่อปี ส่วนทางตอนใต้นั้นมีค่าความลึกล็อคอยู่ที่ประมาณ 7 กิโลเมตรและมีค่า Far-field velocity ประมาณ 3 เซนติเมตรต่อปี ซึ่งอัตราการเคลื่อนตัวและความลึกล็อคนั้นสามารถใช้สันนิษฐานเกี่ยวกับแรงสั่นสะเทือนที่จะเกิดจากแผ่นดินไหวได้en_US
dc.description.abstractalternativeThe Sagaing fault is strike-slip fault the large, which is a fault with the power and most important in the Southeast Asian region by the Sagaing fault has behavior that usually accumulates power for a long time and created a massive earthquake that ever impact the vibration to area Bangkok of Thailand, this reason studied the behavior of the Sagaing fault. This thesis aims to examine Sagaing fault, which is a major active fault in Myanmar, determine its movement rate and locking depth, and study its behavior. Myanmar has set up 8 GPS stations in northern and southern of the Sagaing fault. The GYBU IGLE WAAW and SATG stations, which are in the south, while the HAKA KANI SWBO and SDWN stations, which are in the north. Using GPS continuous observation from 2011 to 2014, this study processed data with the Bernese software to analyze the accurate positions of all 8 stations in an attempt to find out the behavior of the fault movement and used the data for movement rate calculation using Arctangent profile with iat clips. The results for movement rate of Sagaing fault is found to northern of fault has moving maximum 1 cm. to the southeast and southern of fault that has moving maximum 2 cm. to the southeast. The station is located west of the fault is moving toward the northeast and the station is located east of the fault is moving to the southeast. For result the locking depth and far-field velocity of area fault in the northern has locking depth values 2 km. and far-field velocity about 6 cm/yr. The southern has locking depth values 7 km. and far-field velocity about 3 cm/yr. Determination of movement rate and locking depth can be applied in the prediction of future Earthquake magnitude.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.575-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก -- พม่า
dc.subjectเขตรอยเลื่อน -- พม่า
dc.subjectรอยเลื่อน (ธรณีวิทยา)
dc.subjectระบบกำหนดตำแหน่งบนโลก
dc.subjectPlate tectonics -- Burma
dc.subjectFault zones -- Burma
dc.subjectFaults (Geology)
dc.subjectGlobal Positioning System
dc.titleการหาการเคลื่อนตัวและความลึกล็อคของรอยเลื่อนสะกายในพม่าโดยใช้ข้อมูลจีพีเอสen_US
dc.title.alternativeDetermination of movement and locking depth of the Sagaing fault in Myanmar using GPS observationsen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมสำรวจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorChalermchon.S@Chula.ac.th,csatirapod@gmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.575-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5770185021.pdf4.08 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.