Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50518
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเบญจพร ตันตสูติen_US
dc.contributor.authorขวัญข้าว พลเพชรen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-01T08:09:01Z-
dc.date.available2016-12-01T08:09:01Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50518-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractปัญหาการติดเฟซบุ๊ก ถือเป็นปัญหาร่วมสมัยที่สำคัญ เนื่องจากเฟซบุ๊กมีอิทธิพลต่อการใช้ชีวิตของคนยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก แต่ในประเทศไทยยังไม่มีผู้ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการติดเฟซบุ๊กกับความภาคภูมิใจในตนเอง และส่วนใหญ่ยังไม่ได้ศึกษาการติดเฟซบุ๊กโดยใช้แบบวัดที่ได้มาตรฐาน ผู้วิจัยจึงสนใจศึกษาในประเด็นดังกล่าว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการติดเฟซบุ๊ก และความสัมพันธ์ระหว่างความภาคภูมิใจในตนเองกับการติดเฟซบุ๊กของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานคร การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง (cross-sectional descriptive) โดยเก็บข้อมูลในนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายทั้งชายและหญิงจำนวน 326 คน จากการสุ่มตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน (multi-stage sampling) ในโรงเรียน 6 แห่งกระจายตามสังกัดและพื้นที่การศึกษาครอบคลุมทั่วทั้งเขตกรุงเทพมหานคร เก็บข้อมูลตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล, แบบสอบถามการใช้เฟซบุ๊ก, แบบสอบถามการติดเฟซบุ๊กของ Bergen ฉบับภาษาไทย (Thai-BFAS) และแบบวัดความภาคภูมิใจในตนเองของ Rosenberg ฉบับปรับปรุง (Revised Thai RSES) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ และค่าเฉลี่ย และใช้สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ สถิติไคสแควร์ และสถิติถดถอยพหุคูณโลจิสติก ผลการศึกษาพบว่า กลุ่มตัวอย่างติดเฟซบุ๊ก ร้อยละ 10.4 มีความภาคภูมิใจในตนเองระดับต่ำ ร้อยละ 21.5 ความภาคภูมิใจในตนเองระดับปานกลาง ร้อยละ 65.6 และมีความภาคภูมิใจในตนเองระดับสูง ร้อยละ 12.9 ซึ่งพบว่าการติดเฟซบุ๊กสัมพันธ์กับความภาคภูมิใจในตนเองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) โดยกลุ่มตัวอย่างที่มีความภาคภูมิใจในตนเองต่ำ ติดเฟซบุ๊กมากกว่ากลุ่มที่มีความภาคภูมิใจในตนเองระดับปานกลาง และระดับสูง ตามลำดับ นอกจากนี้ยังพบปัจจัยที่สัมพันธ์กับการติดเฟซบุ๊กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ได้แก่ เพศ, แผนการเรียน, ความสัมพันธ์กับมารดา, ระยะเวลาที่สมัครเป็นสมาชิก, จำนวนเพื่อนในเฟซบุ๊ก, การเพิ่มคนรัก, การเพิ่มเพื่อนของเพื่อนที่รู้จัก, การเพิ่มเพื่อนที่ไม่รู้จัก, การเช็คอินสถานที่ที่ตัวเองอยู่, การตั้งกลุ่มหรือสนทนาในกลุ่ม, การติดตามความเคลื่อนไหวของเพื่อน, การโพสต์รูปหรือแท็กรูป, การแสดงความคิดเห็น และการโพสต์วีดิโอหรือแท็กวิดีโอ โดยพบว่าปัจจัยด้านความถี่ในการใช้งานเฟซบุ๊ก, ความถี่ในการถ่ายรูปตัวเองแล้วโพสต์ลงเฟซบุ๊กหรือเซลฟี่, ความถี่ในการอัปเดตสถานะบนเฟซบุ๊ก และเกรดเฉลี่ยในปีการศึกษาที่ผ่านมา เป็นปัจจัยเสี่ยงที่เพิ่มอัตราการติดเฟซบุ๊กอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p<0.05) ด้วยเหตุนี้ การติดเฟซบุ๊กจึงถือเป็นปัญหาทางสุขภาพจิตที่ควรได้รับการส่งเสริมและเฝ้าระวังในกลุ่มเสี่ยงที่มีความภาคภูมิใจในตนเองต่ำหรือมีปัจจัยที่สัมพันธ์กับการติดเฟซบุ๊ก เพื่อป้องกันและลดอัตราภาวะการติดเฟซบุ๊กในวัยรุ่นen_US
dc.description.abstractalternativeFacebook addiction is considered as a contemporary problem in our society, because it possibly causes negative impact to current lifestyles. However, in Thailand, there is no study which focuses on relationship between Facebook addiction and self-esteem. We found that there are a few studies which use standard Facebook addiction assessment. Therefore, the purposes of this research were to determine Facebook addiction behaviors and its relationship with self-esteem among high school students in Bangkok. This cross-sectional descriptive study was conducted in three hundred and twenty-six, male and female, high school students from six schools based on educational service area in Bangkok, which were randomly sampled using multi-stage sampling method. The data was collected during November 2015 to January 2016. The research instruments comprised of the questionnaires regarding demographic characteristics and the patterns of Facebook usage, the Thai version of Bergen Facebook Addiction Scale (Thai-BFAS) and the revised version of Thai Rosenberg Self-Esteem Scale (RSES). The data was analyzed by using descriptive statistics; percentage, mean, chi-square and multiple logistic regression analysis. The results indicated that 10.4% of participants were addicted to Facebook. Most of them had middle level of self-esteem (65.6%). Others had low level of self-esteem (21.5%) and high level of self-esteem (12.9%), respectively. There was statistically significant associated between Facebook addiction and self-esteem. The participants who had the low level of self-esteem were addicted to Facebook more than others, who had high or middle level of self-esteem. There were statistically significant associated factors with Facebook addiction, which were gender, education program, relationship with mother, Facebook usage experience, number of friends, adding partner, adding mutual friends or stranger as a friend, checking in, chatting, following friends, posting or tagging photo, posting or tagging video and commenting. Moreover, the frequency of Facebook usage, the frequency of posting self-portrait photograph on Facebook (selfie), the frequency of Facebook status updates and the average of GPA were risk factors of Facebook addiction. Consequently, raising self-esteem and screening the risk groups who have associated factors with Facebook addiction should be considered for the mental health promotion, in order to reduce the Facebook addiction in adolescents.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.695-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectเครือข่ายสังคมออนไลน์ -- แง่จิตวิทยา-
dc.subjectสื่อสังคมออนไลน์ -- แง่จิตวิทยา-
dc.subjectการติดสื่อสังคมออนไลน์-
dc.subjectความนับถือตนเอง-
dc.subjectความนับถือตนเองในวัยรุ่น-
dc.subjectOnline social networks -- Psychological aspects-
dc.subjectSocial media -- Psychological aspects-
dc.subjectSocial media addiction-
dc.subjectSelf-esteem-
dc.subjectSelf-esteem in adolescence-
dc.titleความภาคภูมิใจในตนเองและพฤติกรรมการติดเฟซบุ๊กของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลายในเขตกรุงเทพมหานครen_US
dc.title.alternativeSelf-esteem and Facebook addicted of high school students in Bangkok Metropolitan Areaen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineสุขภาพจิตen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorbjp23480@yahoo.co.th,bjp23480@yahoo.co.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.695-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5774008330.pdf5.73 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.