Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50520
Title: ความสัมพันธ์ระหว่างรูปแบบการสื่อสารภายในครอบครัวกับความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กสมาธิสั้นที่มารับการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก หน่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Other Titles: THE RELATION BETWEEN EMOTIONAL QUOTIENT AND FAMILY COMMUNICATION PATTERNS WITH ATTENTION DEFICIT/HYPERACTIVITY DISORDER ATTENDING CHILD PSYCHIATRIC OUTPATIENT UNIT OF KING CHULALONGKORN MEMORIAL HOSPITAL
Authors: จิดาภา คงเจริญ
Advisors: อลิสา วัชรสินธุ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Alisa.W@Chula.ac.th,alisa_wacharasindhu@hotmail.com
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษาครั้งนี้เปนการศึกษาเชิงพรรณนาโดยมีวัตถุประสงคเพื่อประเมินความฉลาดทางอารมณ ของเด็กสมาธิสั้นที่มารับการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก หน่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กลุ่มตัวอย่างผู้ปกครองของเด็กสมาธิสั้นที่อายุ 6-11 ปี ที่มารับการตรวจรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอก หน่วยจิตเวชเด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ จำนวน 106 คน เก็บข้อมูลตั้งแต่ตั้งแต่เดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2558 ถึงเดือนมกราคม พ.ศ. 2559 โดยใช้แบบสอบถาม 3 ส่วน ประกอบด้วยแบบสอบถามข้อมูลทั่วไป รูปแบบการสื่อสารภายในครอบครัว ของปาริชาติ ธาราพัตราพร ตามแนวคิดของ Kanter and Lehr และแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ ของเด็กอายุ 6–11 ป (ฉบับพ่อแม่/ผู้ปกครอง) ของกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ที่มีคาความเชื่อมั่นเทากับ .94 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบจำแนกทางเดียว สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สัน และสถิติถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน เด็กสมาธิสั้นมีความฉลาดทางอารมณ์ด้านดีอยู่ในระดับปกติ ร้อยละ57.5 ด้านเก่งอยู่ในระดับปกติ ร้อยละ66.0 ด้านสุขอยู่ในระดับปกติ ร้อยละ49.1 และมีรูปแบบการสื่อสารในครอบครัวปิดในระดับสูง ร้อยละ 70.8 ด้านการสื่อสารในครอบครัวแบบเปิดในระดับสูง ร้อยละ 55.7 ด้านการสื่อสารในครอบครัวแบบปล่อยในระดับปานกลาง ร้อยละ 74.5 ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความฉลาดทางอารมณ์ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้แก่ ผู้ปกครองที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไปมีความฉลาดทางอารมณ์ด้านดี สูงกว่ากกลุ่มตัวอย่างที่ผู้ปกครองมี อายุ 31-40ปี และอายุ 41-50 ปี, ผู้ปกครองที่มีอาชีพ รับราชการ/รัฐวิสาหกิจ และธุรกิจส่วนตัว/ค้าขาย/เกษตรกรรม มีความฉลาดทางอารมณ์ด้านดี สูงกว่ากลุ่มตัวอย่างที่ผู้ปกครองไม่ได้ประกอบอาชีพ และเด็กสมาธิสั้นที่มีผลการเรียน 3.51 – 4.00 มีความฉลาดทางอารมณ์ด้านเก่ง สูงกว่าเด็กสมาธิสั้นที่มีผลการเรียน 3.01 – 3.50 และผลการเรียนต่ำกว่าเท่ากับ 2.50 รูปแบบการสื่อสารในครอบครัวแบบเปิด มีความสัมพันธ์เชิงบวกกับคะแนนความฉลาดทางอารมณ์ภาพรวมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ <0.01 และปัจจัยที่สามารถทำนายความฉลาดทางอารมณ์ของเด็กสมาธิสั้นให้ดีขึ้นได้ คือ อายุ อาชีพของผู้ปกครอง ผลการเรียนของเด็กสมาธิสั้น และรูปแบบการสื่อสารในครอบครัวแบบเปิด จากการศึกษาครั้งนี้ชี้ให้เห็นถึงความสำคัญของรูปแบบการสื่อสารในครอบครัว อายุ การประกอบอาชีพของผู้ปกครองและผลการเรียนของเด็ก ซึ่งสามารถนำไปใช้ประโยชน์ในทางปฏิบัติและงานวิจัยต่อไป
Other Abstract: This descriptive study aimed to study on Emotional Quotient (EQ), and the relationship between EQ and family communication patterns of ADHD children in attending child psychiatric unit of King Chulalongkorn Memorial Hospital. The data were collected during November 2015 to January 2016 from 106 parents of ADHD children in attending child psychiatric unit of King Chulalongkorn Memorial Hospital Parent completed three questionnaires concerning data, family communication patterns by Parichart Tarapattaporn concept of Kanter and Lehr and emotional quotient by Thai Emotional quotient for ages 6-11 from Department of Mental Health, Ministry of Public Health. The reliability of questionnaire was 0.94. The data were analyzed using descriptive statistics, t-test, One-way ANOVA, Pearson product-moment correlation coefficient and Stepwise Multiple Linear Regression Analysis. 57.5% of ADHD children have normal level of Virtue. 66.0% of ADHD children have normal level of Competence. 49.1% of ADHD children have normal level of Happiness. 70.8% of ADHD children have closed family communication patterns. 55.7% of ADHD children have open family communication patterns. 74.5% of ADHD children have random family communication patterns. Related factors with statistically significant to emotional quotient included parental age and occupation as well as school-record of ADHD child. There is a positive correlation between open family communication patterns. Emotional Quotient with statistically significant at the <0.01 level. This study found that parental age, occupation, school-record and family communication patterns is open family communication could predict better emotional quotient. This study showed importance of family communication patterns, parental age and occupation as well as school-record of ADHD children, The data apply benefit for practice and research to next time.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50520
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5774014030.pdf3.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.