Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50522
Title: ความเครียด และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ณ แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
Other Titles: Stress and associated factors among caregivers of chronic kidney disease patients at Department of Medicine, King Chulalongkorn Memorial Hospital
Authors: ณัฐพงศ์ เป็นลาภ
Advisors: ธีรยุทธ รุ่งนิรันดร
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Drteerayuth@gmail.com,drteerayuth@gmail.com
Subjects: ความเครียด (จิตวิทยา)
ผู้ดูแล
ไตวายเรื้อรัง -- ผู้ป่วย
Stress (Psychology)
Caregivers
Chronic renal failure -- Patients
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เหตุผลของการทำวิจัย : โรคไตเรื้อรังเป็นปัญหาสาธารณสุขที่พบได้ทั่วโลก ซึ่งการเจ็บป่วยในโรคไตเรื้อรังของผู้ป่วย ไม่เพียงแต่ทำให้ผู้ป่วยต้องเผชิญกับความเจ็บป่วยทั้งทางด้านร่างกายหรือทางจิตใจ แต่ยังมีผลกระทบทางลบไปยังสมาชิกในครอบครัวโดยเฉพาะผู้ดูแลผู้ป่วยด้วย ดังนั้นผู้วิจัยจึงมีความสนใจในการศึกษาหัวข้อนี้เพื่อที่จะนำผลการวิจัย และข้อมูลที่ได้มาเป็นแนวทางให้บุคลากรทางการแพทย์ และทีมสหวิชาชีพได้ตระหนักถึงความสำคัญของผู้ดูแล และวางแผนช่วยเหลือผู้ดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในเรื่องของความเครียดต่อไป วัตถุประสงค์ของการวิจัย : เพื่อศึกษาความเครียด และปัจจัยที่เกี่ยวข้องของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ณ แผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ตัวอย่างและวิธีการศึกษา : การศึกษานี้เป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง (cross-sectional descriptive study) โดยศึกษาจากผู้ดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังที่มารับบริการตรวจรักษาแผนกผู้ป่วยนอก ณ คลินิกโรคไต แผนกอายุรกรรม และมารับบริการตรวจรักษา ณ หน่วยโรคไต แผนกอายุรศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ รวมถึงผู้ป่วยในของแผนกอายุรกรรม โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ รวมทั้งสิ้น 107 ราย เครื่องมือที่ใช้เก็บรวบรวมข้อมูลประกอบด้วย 1. แบบบันทึกข้อมูลทั่วไป ประกอบด้วยแบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้ป่วย และแบบบันทึกข้อมูลทั่วไปของผู้ดูแลผู้ป่วย 2. แบบวัดความเครียดของผู้ดูแล 3. แบบประเมินการสนับสนุนทางสังคม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ Chi-square, Fisher’s exact test, t-test, One-way ANOVA สัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียรสัน และการวิเคราะห์การถดถอยโลจิสติก ผลการศึกษา : ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังโดยส่วนใหญ่ไม่มีความเครียดคิดเป็นร้อยละ 55.1 และมีความเครียดร้อยละ 44.9 ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังในกลุ่มที่มีความเครียด ส่วนใหญ่มีความเครียดในระดับต่ำ คิดเป็นร้อยละ 38.4 ปัจจัยที่มีความเกี่ยวข้องกับความเครียด ได้แก่การมีโรคประจำตัวอื่น ๆ นอกจากโรคไตเรื้อรังของผู้ป่วย การรักษาที่ได้รับของผู้ป่วย ความเพียงพอของรายได้ โรคประจำตัวของผู้ดูแล สถานภาพสมรส จำนวนยาที่รับประทาน จำนวนชั่วโมงที่ใช้ในการดูแลผู้ป่วย อายุของผู้ดูแล และการสนับสนุนทางสังคม โดยมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ p < 0.05 และปัจจัยที่สามารถทำนายความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ได้แก่การมีโรคประจำตัวอื่น ๆ นอกจากโรคไตเรื้อรังของผู้ป่วย (OR = 5.80, 95% CI = 1.69 – 19.90, P-value < 0.01) การรักษาที่ได้รับโดยการล้างไตหรือผ่าตัดเปลี่ยนไตร่วมกับการทานยา (OR = 4.91, 95% CI = 1.86 – 12.92, P-value < 0.01) และความไม่เพียงพอของรายได้ (OR = 5.49, 95% CI = 1.55 – 19.48, P-value < 0.01) สรุปผลการศึกษา : ผู้ดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรังส่วนใหญ่ไม่มีความเครียด ในส่วนที่มีความเครียดส่วนใหญ่ก็เป็นเพียงความเครียดในระดับต่ำ และปัจจัยที่สามารถทำนายความเครียดของผู้ดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง ได้แก่โรคประจำตัวอื่น ๆ นอกจากโรคไตเรื้อรังของผู้ป่วย การรักษาที่ได้รับโดยการล้างไตหรือผ่าตัดเปลี่ยนไตร่วมกับการทานยา และความไม่เพียงพอของรายได้ ซึ่งผลการศึกษาวิจัยนี้จะเป็นประโยชน์ในการเป็นแนวทางให้ทุกภาคส่วนได้เห็นความสำคัญของผู้ดูแล และวางแผนช่วยเหลือผู้ดูแลผู้ป่วยโรคไตเรื้อรัง เพื่อให้ผู้ดูแลผู้ป่วยสามารถลดความเครียดที่เกิดขึ้น สามารถปรับตัวและปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทในสังคมได้ต่อไป
Other Abstract: Background : Chronic kidney disease is globally medical burden in several domains. It causes distress not only in biological and psychological ways of the patients but also has negative impacts on the family members, particularly the caregivers. This study aims to investigate the level of stress and its associated factors in order to use the results as guidelines to make essential plans and to increase the awareness of medical professionals and multi-disciplinary team for helping the caregivers. Objectives : The objective of this study is to examine stress and its correlated factors of caregivers of chronic kidney disease patients at the Department of Medicine, King Chulalongkorn Memorial Hospital. Materials and Methods : This study is a cross-sectional descriptive study consisting a total of 107 individuals including patients at the Nephrology Clinic, Outpatient Clinic and Inpatient Wards. The tools and methods used to collect data compose of: 1. Recording form that includes general information of the patients and caregivers; 2. Caregiver Stress Interview; 3. Social support Assessment. Statistics used to analyse data are: percentage, mean, and standard deviation according to Chi-square, Fisher’s exact test, t-test, One-way ANOVA, Pearson’s correlation coefficients and logistic regression analysis. Results : The results demonstrated that the percentage of caregivers of chronic kidney disease patients without stress was 55.1, and with stress was 44.9. Individuals with stress represented just a mild level of stress accounted for 38.4 percent. The factors contributing to stress were: patient’s other diseases, type of current treatment, adequacy of income, marital status, underlying disease of caregiver, number of hour of caregiving service, age and social support of the caregivers; all these with statistical significance (p < 0.05). The factors predicting stress were patient’s other diseases (OR = 5.80, 95% CI = 1.69 – 19.90, P-value < 0.01), receiving hemodialysis or renal transplantation with medicine (OR = 4.91, 95% CI = 1.86 – 12.92, P-value < 0.01) and inadequacy of income (OR = 5.49, 95% CI = 1.55 – 19.48, P-value < 0.01). Conclusion : Most of the caregivers were nonstressful, while individuals who had stress met only mild severity. The factors predicting stress were: patient’s other diseases, receiving hemodialysis or renal transplantation with medicine and inadequacy of income. The result of this research might be beneficial as guidelines for healthcare providers and multidisciplinary teams to note the importance of caregivers and to create a structural plan for chronic kidney disease patients to decrease stress and promote a healthy lifestyle.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50522
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.720
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.720
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5774022030.pdf2.49 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.