Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50528
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorสมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์en_US
dc.contributor.advisorสราวุฒิ ศิวโมกษธรรมen_US
dc.contributor.authorพชระ ฐานะสถิรกุลen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-01T08:09:16Z
dc.date.available2016-12-01T08:09:16Z
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50528
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินผลของการดื่มน้ำชาดอกกระเจี๊ยบในการลดความดันโลหิตที่บ้านของผู้ป่วยความดันโลหิตสูงระดับอ่อนเปรียบเทียบกับกลุ่มควบคุมซึ่งดื่มน้ำชาดอกกระเจี๊ยบหลอก วิธีการวิจัย การวิจัยเชิงทดลองแบบสุ่มและมีกลุ่มควบคุมแบบปกปิดสองทางในผู้ป่วยความดันโลหิตสูงระดับอ่อนและผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงสูงต่อความดันโลหิตสูงที่เข้ามารับการรักษาที่แผนกผู้ป่วยนอกโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยถูกสุ่มแบ่งเป็น 2 กลุ่ม กลุ่มที่หนึ่งได้ดื่มน้ำชาดอกกระเจี๊ยบขนาด 5 กรัม/วัน และกลุ่มที่สองได้ดื่มน้ำชาดอกกระเจี๊ยบหลอก(แก่นฝางและใบชะมวง) 5 กรัม/วัน เช้า-เย็นหลังมื้ออาหารเป็นเวลา 28 วัน โดยผู้ป่วยทั้งสองกลุ่มได้รับการตรวจวัดความดันโลหิตอัตโนมัติที่บ้าน วันละ 4 ครั้ง เป็นเวลา 1 สัปดาห์ และตรวจวัดระดับไขมันในเลือด ระดับน้ำตาลในเลือดหลังอดอาหาร ค่าการทำงานของไต ค่าเอนไซม์ตับ ก่อนและหลังเข้าร่วมการศึกษา ผลการศึกษา ตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ.2558 ถึงธันวาคม พ.ศ.2558 มีผู้ป่วยความดันโลหิตสูงระดับอ่อนและผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงสูงต่อความดันโลหิตสูงที่เข้าเกณฑ์คัดเข้าและไม่มีเกณฑ์คัดออก จำนวนทั้งหมด 30 ราย อายุ 32-77 ปี ในกลุ่มดื่มน้ำชาดอกกระเจี๊ยบมีความดันโลหิตซิสโตลิกเฉลี่ยก่อนและหลังเข้าร่วมการวิจัยเท่ากับ 137.5±5.6 มิลลิเมตรปรอทและ 128.8±8.4 มิลลิเมตรปรอท (ความแตกต่างเฉลี่ย -8.7±6.4 มิลลิเมตรปรอท, 95% CI 5.18 to 12.29, P < 0.001) ส่วนกลุ่มดื่มน้ำชาดอกกระเจี๊ยบหลอกมีความดันโลหิตซิสโตลิกเฉลี่ยก่อนและหลังเข้าร่วมการวิจัยเท่ากับ 140.0 ± 8.6 มิลลิเมตรปรอท และ 136.7 ± 8.4 มิลลิเมตรปรอท (ความแตกต่างเฉลี่ย -3.3±5.5 มิลลิเมตรปรอท, 95% CI 0.26 to 6.38, P= 0.036) ตามลำดับ กลุ่มดื่มน้ำชาดอกกระเจี๊ยบมีความดันโลหิตซิสโตลิกลดลงมากกว่ากลุ่มดื่มน้ำชาดอกกระเจี๊ยบหลอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (ความแตกต่างเฉลี่ย ± SE of mean difference = -5.41±2.18 มิลลิเมตรปรอท, 95% CI 0.93 to 9.89, P= 0.014) ไม่พบความแตกต่างระหว่างระดับความดันไดแอสโตลิก ระดับน้ำตาล และระดับไขมันในเลือดระหว่างกลุ่มศึกษาและกลุ่มควบคุม สรุปการศึกษานี้แสดงให้เห็นว่าการดื่มน้ำชากระเจี๊ยบมีผลต่อการลดลงของระดับความดันซิสโตลิกในผู้ป่วยที่มีภาวะเสี่ยงสูงต่อความดันโลหิตสูงและผู้ป่วยความดันโลหิตสูงระดับอ่อนได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ไม่มีผลต่อระดับความดันไดแอสโตลิก, ระดับน้ำตาล, โคเลสเตอรอล, ไตรกรีเซอไรด์, เอชดีแอล และแอลดีแอลในเลือดen_US
dc.description.abstractalternativeBackground Various dietary supplements including roselle (Hibiscus sabdariffa) – wild flower rich in polyphenols and anthocyanins – have been shown to reduce blood pressure (BP) but there were little evidences in placebo-controlled, randomized fashion. Objective To evaluate the antihypertensive effect of roselle in hypertensive patients. Method A prospective, randomized, double blinded, placebo-controlled study in patients with mild and pre-hypertension was conducted between June and December 2015 at King Chulalongkorn Memorial Hospital. The patients were randomly allocated to drink roselle flower tea (2.5 grams twice daily) or placebo tea for 28 days. The home BP were measured by semi-automated, self-measurement device. The mean BP at baseline and the end of the study were compared. Fasting blood sugar (FBS), lipid profile, creatinine, liver enzymes were also recorded. Chi-square, paired and independent t-test, ANCOVA were used. Results Thirty patients (mean age 57 years, 60% female, mean systolic BP 138.8 mmHg, mean diastolic BP 78.2 mmHg) were recruited. The home systolic BP in the roselle group was decreased from 137.5±5.6 mmHg at baseline to 128.8±8.4 mmHg (-8.7±6.4 mmHg, 95% CI 5.18 to 12.29, P<0.001). The home systolic BP in the placebo group was decreased from 140.0±8.6 mmHg to 136.7±8.4 mmHg (-3.3± 5.5 mmHg, 95% CI 0.26 to 6.38, P=0.036). There was a statistically significant antihypertensive effect of roselle compared to placebo in lowering home systolic BP (-5.41±2.18 mmHg, 95% CI 0.93 to 9.89, P=0.014). There is no statistically significant effect on home diastolic BP, FBS and lipid profile in both groups. No significant adverse effects were seen in this study. Conclusion We have demonstrated that roselle flower tea can significantly decrease home systolic BP in patients with mild and pre-hypertension.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.725-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectกระเจี๊ยบ
dc.subjectความดันเลือด -- การวัด
dc.subjectความดันเลือดสูง
dc.subjectRoselle
dc.subjectBlood pressure -- Measurement
dc.subjectHypertension
dc.titleผลของการดื่มน้ำชาดอกกระเจี๊ยบต่อการลดความดันโลหิตที่บ้านในผู้ป่วยที่มีความดันโลหิตสูงระดับอ่อน: การศึกษาแบบสุ่มและปกปิดสองทางเทียบกับชาดอกกระเจี๊ยบหลอกen_US
dc.title.alternativeThe effects of roselle flower tea (hibiscus sabdariffa extract) on home blood pressure in patients with mild hypertension : a randomized double blinded placebo controlled trialen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineอายุรศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSomkiat.S@chula.ac.th,Somkiat.S@chula.ac.then_US
dc.email.advisordrwut1@yahoo.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.725-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5774052930.pdf3.55 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.