Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50542
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธันวา ตันสถิตย์en_US
dc.contributor.authorสุกัญญา อุรุวรรณen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-01T08:09:32Z-
dc.date.available2016-12-01T08:09:32Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50542-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractการศึกษาลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์ของ retaining ligaments เป็นสิ่งที่มีความสำคัญในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนในขณะที่มีการทำหัตถการผ่าตัดยกกระชับใบหน้า ซึ่งงานวิจัยนี้จึงมีความสนใจศึกษาเกี่ยวกับลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์ของ retaining ligament และความสัมพันธ์ของ retaining ligaments นี้กับเนื้อเยื่อต่างๆบริเวณใบหน้า การวิจัยในครั้งนี้ผู้วิจัยได้ใช้ร่างของผู้บริจาคเพื่อการศึกษา ณ ภาควิชาภายวิภาคศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นร่างของผู้บริจาคร่างกายที่ผ่านการดองด้วยน้ำยารักษาสภาพโดยสมบูรณ์แบบนุ่มจำนวน 28 ครึ่งใบหน้า ก่อนการวัดในแต่ละใบหน้าจะมีการอ้างอิงแกน Frankfort หลังจากนั้นจะทำการวัดความกว้าง, ความยาว, ความหนาของ retaining ligaments และระยะห่างจากขอบหลังของ retaining ligament ไปยังจุดอ้างอิงต่างๆ ผลการศึกษาพบว่า major zygomatic retaining ligament (MaZRL) เอ็นที่มีลักษณะเป็นเส้นเดี่ยวๆ มีจุดเกาะต้นอยู่บริเวณตัวของกระดูกโหนกแก้มเหนือต่อจุดเกาะต้นของกล้ามเนื้อ zygomaticus major และเกาะไปยังกล้ามเนื้อ orbicularis oculi บริเวณขอบด้านนอก และมีความสัมพันธ์กับแขนงของเส้นประสาท facial มีระยะห่าง 7.31 ± 7.26 มิลลิเมตร ในขณะที่ minor zygomatic retaining ligament (MiZRL) เป็นเอ็นที่มีลักษณะเป็นแผ่นกั้นมีจุดเกาะต้นอยู่บริเวณขอบล่างของส่วนโค้งของกระดูกโหนกแก้มใต้ต่อกล้ามเนื้อ zygomaticus major และในส่วนของ masseteric retaining ligament (MRL) ที่พบนั้นได้มีการแบ่งกลุ่มตามจุดเกาะต้นได้ 3 กลุ่ม คือ จุดเกาะต้นมาจากกล้ามเนื้อร้อยละ 49.4, จุดเกาะต้นมาจากเอ็นของกล้ามเนื้อร้อยละ 45.5 และจุดเกาะต้นมาจากทั้งกล้ามเนื้อกับเอ็นของกล้ามเนื้อร้อยละ 5.2 นอกจากนี้ยังมีการแบ่งกล้ามเนื้อ masseter ออกเป็น 9 บริเวณ และพบ masseteric retaining ligament ในแต่ละบริเวณ ดังนี้ 1) บริเวณด้านหน้าส่วนบนของกล้ามเนื้อ masseter ร้อยละ 0.4 , 2) บริเวณตรงกลางส่วนบนของกล้ามเนื้อ masseter ร้อยละ 3.4, 3) บริเวณด้านหลังส่วนบนของกล้ามเนื้อ masseter ร้อยละ 13.3, 4) บริเวณด้านหน้าส่วนกลางของกล้ามเนื้อ masseter ร้อยละ 8.2, 5) บริเวณส่วนกลางของกล้ามเนื้อ masseter ร้อยละ 16.3, 6) บริเวณด้านหลังส่วนกลางของกล้ามเนื้อ masseter ร้อยละ 24.0, 7) บริเวณด้านหน้าส่วนล่างของกล้ามเนื้อ masseter ร้อยละ 15.9, 8) บริเวณตรงกลางส่วนล่างของกล้ามเนื้อ masseter ร้อยละ 15.0 และ 9) บริเวณด้านหลังส่วนล่างของกล้ามเนื้อ masseter ร้อยละ3.4 และยังพบว่า upper masseteric retaining ligament นั้น จะอยู่บริเวณส่วนบนทางด้านหลังของกล้ามเนื้อ masseter (บริเวณที่ 3 ) และเส้นประสาทที่อยู่ใกล้กับเอ็นนี้มีระยะ 0.98 ± 2.04 มิลลิเมตร การที่จะตัดเอ็นนี้ออกต้องระวังการเกิดการบาดเจ็บต่อเส้นประสาทประมาณ 2 มิลลิเมตร และในส่วนสำคัญของ retaining ligaments ที่อยู่บริเวณกึ่งกลางกล้ามเนื้อ (บริเวณที่ 5 และ 6) สามารถพบได้บ่อยในแต่ละตัวอย่างและมีความหนาแน่น การตัดส่วนของเอ็นทั้งสองบริเวณนี้ออกจึงเป็นสิ่งสำคัญที่ทำให้สามารถดึงผิวหนังได้อย่างเพียงพอขณะทำหัตถการผ่าตัดยกกระชับใบหน้าได้en_US
dc.description.abstractalternativeThe anatomical knowledge of retaining ligaments is pivotal to prevent the complications during face lift procedure. The purpose of this study was to investigate detailed anatomic morphology of retaining ligaments and the relationship relate to the facial soft tissue landmarks. The dissection was performed on the midfaces in 28 hemi-faces of Thai soft embalmed cadavers. Each hemi-faces were marked with the Frankfort horizontal line. After that, the retaining ligaments were measured following : the width, length, thickness of the retaining ligaments and the distance from the posterior border of retaining ligaments to the facial soft tissue landmarks. In the result, the origin of the major zygomatic retaining ligament (MaZRL) firmly attaches to the body of zygomatic bone and located adjacent to the upper portion of the origin of zygomaticus major muscle. In addition, the major zygomatic retaining ligament closely related to the facial nerve branch in the distance of 7.31 ± 7.26 mm. While, the minor zygomatic retaining ligament (MiZRL) was formed by the fibrous sheet which attach along the inferior border of zygomatic arch and below the zygomaticus major muscle. Moreover, the origin of the masseteric retaining ligament (MRL) were classified into three types including origin from the masseter muscle (49.4%, Type I), tendon of masseter muscle (45.5%, Type II) and both (5.2%, Type III) and the masseter muscle was divided into 9 regions to show the percentage of the number of MRL in each region: 1) anterior superior region in 0.4%, 2) middle superior region in 3.4%, 3) posterior superior region in 13.3%, 4) anterior middle region in 8.2%, 5) middle region in 16.3%, 6) posterior middle region in 24.0%, 7) anterior inferior region in 15.9%, 8) middle inferior region in 15.0% and 9) posterior inferior region in 3.4%. Additionally, the upper masseteric retaining ligament located posterosuperior region (3rd region) of the masseter muscle. The nerve branch was beyond from the ligament 0.98 ± 2.04 mm, releasing ligament should perform more than 2 mm from the ligament to prevent the injury. The most important masseteric retaining ligaments located on middle region (5th region) and posteromiddle region (6th region) of the muscle. There consist of the numerous and firmly ligaments, releasing both ligaments might simplify moving of the skin and soft tissue to achieve face lift technique.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.719-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectใบหน้า -- ศัลยกรรม-
dc.subjectFace -- Surgery-
dc.titleลักษณะทางกายวิภาคศาสตร์ของ retaining ligaments ที่มีความสัมพันธ์กับ facial soft tissue บริเวณใบหน้าส่วนกลางen_US
dc.title.alternativeAnatomical study of the retaining ligaments and its relationship to the facial soft tissue of the midfaceen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิทยาศาสตร์การแพทย์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorTanvaa.T@Chula.ac.th,tansatit@yahoo.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.719-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5774101030.pdf7.51 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.