Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50548
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorธีรยุทธ รุ่งนิรันดรen_US
dc.contributor.authorนภัสกร ขันธควรen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-01T08:09:36Z
dc.date.available2016-12-01T08:09:36Z
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50548
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractเหตุผลของการทำวิจัย : การศึกษาในระดับอุดมศึกษาจะมีการเรียนและการใช้ชีวิตที่แตกต่างจากระดับมัธยมศึกษาอย่างมาก เนื่องจากผู้เรียนจะต้องทำงานโดยส่วนใหญ่ด้วยตนเอง ทั้งนี้หากนิสิตนักศึกษาเกิดความเครียดอย่างผิดปกติ ย่อมจะส่งผลกระทบต่อการดำเนินชีวิตในหลายๆด้าน จากการทบทวนวรรณกรรมผู้วิจัยยังไม่พบการศึกษาที่เกี่ยวกับระดับความเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดในนิสิตชั้นปีที่ 1 ระดับปริญญาตรีโดยรวม ของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้วิจัยเห็นว่าหัวข้อการวิจัยนี้เป็นเรื่องที่มีประโยชน์สามารถนำผลการศึกษาไปใช้ต่อได้โดยหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปวางแผนหาแนวทาง วิธีป้องกัน และวิธีแก้ไขปัจจัยต่างๆ ของความเครียดที่อาจเกิดกับนิสิตชั้นปีที่ 1 เพื่อประโยชน์ในภายภาคหน้าต่อไป วัตถุประสงค์ของการวิจัย: เพื่อศึกษาระดับความเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดของนิสิตชั้นปีที่ 1 ระดับปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ตัวอย่างและวิธีการศึกษา: รูปแบบการวิจัยเป็นการวิจัยเชิงพรรณนา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นิสิตชั้นปีที่ 1 ระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2558 โดยทำการสุ่มอย่างง่ายในทุกคณะ รวมจำนวนทั้งสิ้น 418 คน โดยใช้เครื่องมือแบบสอบถามเกี่ยวกับข้อมูลส่วนบุคคล แบบสอบถามแหล่งความเครียด และแบบประเมินความเครียดสวนปรุง (ฉบับปรับปรุง) โดยเสนอค่าความเครียดเป็นค่าเฉลี่ย, ค่าสัดส่วน และร้อยละ จากนั้น ได้ทำการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างระดับความเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องโดยใช้การทดสอบไคสแควร์ แล้วทำการวิเคราะห์ความถดถอยแบบลอจิสติกเพื่อหาปัจจัยทำนายความเครียดในระดับสูงถึงรุนแรง ผลการศึกษา: ผลการศึกษาพบว่ากลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง (ร้อยละ 70.8) มีอายุ 18 ปีในสัดส่วน ที่มากที่สุด (ร้อยละ 53.3) และศึกษาอยู่ในสาขาวิทยาศาสตร์ชีวภาพมากที่สุด (ร้อยละ 36.8) โดยแหล่งความเครียดของนิสิตส่วนใหญ่ ได้แก่ การที่ไม่มีเวลาพักผ่อนเพียงพอ (ร้อยละ 50.0), การที่ไม่สามารถเข้าใจเนื้อหาที่เรียนได้อย่างชัดเจน (ร้อยละ 30.6) และการใช้เวลาในการเดินทางมาเรียนค่อนข้างนาน (ร้อยละ 36.8) ในส่วนของคะแนนความเครียด พบว่าค่าเฉลี่ยคะแนนความเครียดโดยรวมของนิสิตทั้งหมด เท่ากับ 48.2 (SD=27.2, Min=0, Max=132) โดยนิสิตส่วนใหญ่มีความเครียดอยู่ในระดับรุนแรง (ร้อยละ 32.1) ทั้งนี้ปัจจัยที่ทำนายความเครียดในระดับสูงถึงรุนแรงของกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ การที่ไม่สามารถเข้าใจเนื้อหา ที่เรียนได้อย่างชัดเจน (OR=2.00, 95% C.I.= 1.26 – 3.18, p=0.003), การที่มีเวลาพักผ่อนไม่เพียงพอ (OR=1.47, 95% C.I.= 1.48 - 3.39, p=<0.001), และการมีความขัดแย้งกับคนในครอบครัว (OR=12.74, 95% C.I.= 1.65 – 98.53, p=0.015) สรุปผลการศึกษา: นิสิตส่วนใหญ่มีความเครียดระดับสูงถึงรุนแรง โดยปัจจัยที่ทำนายความเครียดในระดับสูงถึงรุนแรง ได้แก่ การไม่สามารถเข้าใจเนื้อหาที่เรียนได้อย่างชัดเจน การพักผ่อนไม่เพียงพอ และการมีความขัดแย้งกับ คนในครอบครัว ผลการศึกษาในครั้งนี้อาจเป็นประโยชน์ให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปวางแผนหาแนวทาง วิธีป้องกันและวิธีแก้ไขปัจจัยต่างๆของความเครียดที่อาจเกิดกับนิสิตชั้นปีที่1 ต่อไปen_US
dc.description.abstractalternativeBackground: Studying in a university differs from studying in high-school due to the fact that students have to do most of the duty by themselves compared to high-school study. If students get abnormal stress, it will affect the way of their study and lifestyle. From reviewing literature, there is no study indicating the levels of stress and associated factors among first-year undergraduate students in Chulalongkorn University. This study will be beneficial for the related departments in planning, solving and prevention of stress in the first-year undergraduate students. Objective: This study aims to determine the levels of stress and associated factors among first-year undergraduate students in Chulalongkorn University. Materials and Methods: This study is a cross-sectional, descriptive study. The data were randomly obtained from four hundred and eighteen first-year undergraduate students of every department in Chulalongkorn University in academic year of 2015. Self-report questionnaires were used to collect the data including personal and source of stress and Suanprung Stress Test (modified). The stress level was presented in mean, standard deviation, proportion and percentage. The relationships between stress level and associated factors among students were analyzed by using chi-square test and, then using logistic regression to identify the predictors of high- severe stress. Results: The results showed that most students were female (70.8%), mainly 18 years old (53.3%) and were studying in bioscientific departments (36.8%). The main sources of stress among students were lack of leisure time (50%), not being able to understand the lessons (30.6%) and spending too much time in transportation (36.8%). The average mean of stress score was 48.2 (SD=27.2, Min=0, Max=132), and most of the samples were in severe stress level (32.1%). Multiple logistic regression analysis presented that factors predicting high-severe level of stress were not being able to understand the lessons (OR=2.00, 95% C.I.= 1.263 – 3.180, p=0.003), lack of leisure time (OR=1.47, 95% C.I.= 1.479 - 3.394, p=<0.001), and having a conflict with family member (OR=12.74, 95% C.I.= 1.649 – 98.532, p=0.015). Conclusion: Most of the student had high to severe level of stress and the factors predicting high-severe level of stress were not being able to understand the lessons, lack of leisure time and having a conflict with family member. This results might be beneficial for the related departments and centers for providing a strategic planning in order to solve and prevent the stress among first-year students in the future.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.724-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectความเครียด (จิตวิทยา)
dc.subjectความเครียดในวัยรุ่น
dc.subjectจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย -- นักศึกษา
dc.subjectStress (Psychology)
dc.subjectStress in adolescence
dc.subjectChulalongkorn University -- Students
dc.titleความเครียดและปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับความเครียดของนิสิตชั้นปีที่ 1ระดับปริญญาตรี จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.title.alternativeStress and related-factors of the first year undergraduate students of Chulalongkorn Universityen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineสุขภาพจิตen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorDrteerayuth@gmail.com,Drteerayuth@gmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.724-
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5774125030.pdf3.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.