Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50555
Title: ความชุกและคุณภาพชีวิตหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับควันบุหรี่มือสองในระหว่างตั้งครรภ์
Other Titles: Prevalence and quality of life of pregnant women received secondhand smoke during pregnancy
Authors: พิชชนันท์ อุยยานุกูล
Advisors: รัศมน กัลยาศิริ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะแพทยศาสตร์
Advisor's Email: Rasmon.K@Chula.ac.th,Rasmon.K@chula.ac.th
Subjects: สตรีมีครรภ์
การได้รับควันบุหรี่ทางอ้อม
คุณภาพชีวิต
Pregnant women
Passive smoking
Quality of life
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: เหตุผลของการทำวิจัย : การสูบบุหรี่ถือเป็นปัญหาในทุกสังคม ที่ส่งผลเสียต่อตนเองและคนรอบข้าง ซึ่งคนรอบข้างยังจะได้รับสารพิษที่มาจากควันบุหรี่ โดยที่ตนเองไม่ได้เป็นผู้สูบและไม่สามารถเลือกที่จะปฏิเสธได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับควันบุหรี่ จะส่งผลกระทบในหลายๆด้าน ดังนั้นการให้คุณค่า ความสำคัญด้านคุณภาพชีวิตกับหญิงตั้งครรภ์นั้นจึงเป็นสิ่งที่ควรคำนึงถึง วัตถุประสงค์ : เพื่อทราบค่าความชุกของหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับควันบุหรี่มือสองในระหว่างตั้งครรภ์ ศึกษาปัจจัยที่สัมพันธ์กับการได้รับควันบุหรี่มือสองในระหว่างตั้งครรภ์ และศึกษาคุณภาพชีวิตหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับควันบุหรี่มือสองในระหว่างตั้งครรภ์ ศึกษาปัจจัยสัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตของหญิงตั้งครรภ์ รูปแบบการวิจัย : การวิจัยเชิงพรรณา ณ จุดเวลาใดเวลาหนึ่ง สถานที่ทำการศึกษา : โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ตัวอย่างและวิธีการศึกษา : เก็บข้อมูลจากหญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุครรภ์ระหว่าง 13-24 สัปดาห์ ที่มารับบริการฝากครรภ์แผนกสูตินรีเวชกรรม ที่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย โดยใช้แบบสอบถามข้อมูลส่วนตัว แบบสอบถามคุณภาพชีวิตขององค์การอนามัยโลกชุดย่อ ฉบับไทย แบบประเมินความสัมพันธ์และหน้าที่ของครอบครัว และตรวจปัสสาวะโดยชุดตรวจ Direct barbituric acid (DBA) method สถิติที่ใช้ได้แก่ Descriptive Statistic, Chi – Square และ Logistic Regression Analysis ผลการศึกษา : หญิงตั้งครรภ์ที่ศึกษาทั้งหมด 296 คน พบความชุกของหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับควันบุหรี่มือสองในระหว่างตั้งครรภ์ (ร้อยละ 39.19) ซึ่งมีคุณภาพชีวิตโดยภาพรวมในระดับปานกลาง (ร้อยละ60.5) แบ่งเป็นรายด้าน ด้านร่างกายคุณภาพชีวิตระดับปานกลาง (ร้อยละ64.5) ด้านจิตใจคุณภาพชีวิตระดับดี (ร้อยละ55.1) ด้านความสัมพันธ์ทางสังคมคุณภาพชีวิตระดับปานกลาง (ร้อยละ62.5) ด้านสิ่งแวดล้อมคุณภาพชีวิตระดับปานกลาง (ร้อยละ74.7) เมื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตโดยรวมพบว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับควันบุหรี่มือสองมีคุณภาพชีวิตในระดับไม่ดี-ปานกลาง (ร้อยละ69.0) และหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่ได้รับควันบุหรี่มือสองมีคุณภาพชีวิตที่ดี (ร้อยละ58.8) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่มีช่วงอายุระหว่าง 24 – 35 ปี ปัจจัยที่สัมพันธ์กับคุณภาพชีวิตโดยรวมของหญิงตั้งครรภ์ ได้แก่ รายได้ตนเอง รายได้ครอบครัว ความเพียงพอของรายได้ ปัญหาแทรกซ้อนในระหว่างตั้งครรภ์ สภาพที่อยู่อาศัย ผู้สูบบุหรี่ในบ้านเป็นน้องชาย ได้รับควันบุหรี่ในระหว่างตั้งครรภ์ ได้รับควันบุหรี่ในสวนสาธารณะ และปัจจัยที่สัมพันธ์กับการได้รับควันบุหรี่มือสองในระหว่างตั้งครรภ์ ได้แก่ รายได้ตนเอง รายได้ครอบครัว ลักษณะที่อยู่อาศัย สมาชิกในบ้านสูบบุหรี่ในบ้าน ผู้สูบบุหรี่เป็นสามี ได้รับควันบุหรี่จากห้างสรรพสินค้าหรือตลาด และความถี่ในการได้รับควันบุหรี่และเมื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับควันบุหรี่กับหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่ได้รับควันบุหรี่พบว่าคุณภาพชีวิตหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับควันบุหรี่มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ <0.05 สรุป : จากการศึกษาพบว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับควันบุหรี่มือสองมีค่าความชุก (ร้อยละ 39.19) โดยมีคุณภาพชีวิตโดยรวมในระดับปานกลาง และเมื่อเปรียบเทียบคุณภาพชีวิตโดยรวมของหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับควันบุหรี่มือสองกับหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่ได้รับควันบุหรี่มือสอง พบว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ไม่ได้รับควันบุหรี่มือสองมีคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าหญิงตั้งครรภ์ที่ได้รับควันบุหรี่มือสอง
Other Abstract: background : Smoking is considered a social issue that affects both the smoker and the people around them. Chemicals that are bypass of the inhaling cigarettes affect the health of the surrounding community unwillingly known as second-hand smokers. Despite the fact that these individuals did not intend to take-in these substances, chemicals in the air are taken-in from the original source, the smoker, making the surrounding people intake a fair amount of chemicals like the original smoker themselves, hence, they are named second-hand smokers. Therefore, promoting the importance of the quality of life of pregnant women. Objective : To examine the prevalence of pregnant women who are exposed to smoking and to study associated factors with second-hand smoker. and to study quality of life of pregnant women who are exposed to smoking to study associated factors with quality of life of pregnant women. Design : A cross-sectional descriptive study. Setting : King Chulalongkorn Memorial Hospital. Materials and Methods : Data were collected from pregnant women between 13-24 weeks gestation. Data from pregnant women at the Antenatal Care, the Department of Obstetrics & Gynecology, Chulalongkorn Hospital were collected by using demographic data questionnaire. Quality of Life questionnaire (WHOQOL-BREF-THAI), family relationship and functioning questionnaire, urinalysis assays were done by using direct barbituric acid (DBA) method. The data were analyzed using descriptive statistics, Chi - Square and Logistic Regression Analysis. Results : The prevalence of pregnant women who is exposed to second-hand smoking during pregnancy is 39.19 percent, the overall quality of life is moderate (60.5 percent) categorized as physical wellbeing, moderate (64.5 percent), psychological wellbeing level, (55.1 percent) and social wellbeing moderate (62.5 percent), the environment and quality of life is, moderate (74.7 percent) when compared to the quality of life of pregnant women who smoke reveals a moderate quality of life (31.0 percent) and pregnant women who do not smoke shows better quality of life factors (percent 58.8). The sample are aged between 24-35 years and smokes pregnant. The Relative factors that contribute with the overall well being of pregnant women are the condition of their living area. Smoking individuals are mostly the sibling (younger brother in particular) being exposed to fumes in public parks. Second-hand smoking contributed factors include personal income and household income, living conditions and family members who are smoking; a spouse who smokes and exposure to public areas such as department stores and marketplaces. In addition, with the frequency of exposure to smoke substances. Conclusion : The study found that the prevalence of pregnant women who received second-hand smoke is 39.19 percent with a moderate overall quality of life. Compared with the overall wellbeing of pregnant women who are a second-hand smokers to pregnant women who are not second-hand smokers, pregnant women who are not second-hand smokers have a better quality of life.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: สุขภาพจิต
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50555
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.689
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.689
Type: Thesis
Appears in Collections:Med - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5774260030.pdf4.13 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.