Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50565
Title: พฤติกรรมและความพึงพอใจของผู้เลือกใช้แหล่งนันทนาการประเภทตลาดนัดในสถานศึกษา
Other Titles: Consumers' behaviours and satisfactions towards flea market in academic institutions
Authors: เจตพล แจ้งใจเย็น
Advisors: กุลพิชญ์ โภไคยอุดม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: gulapish.p@chula.ac.th,gpookaiyaudom@gmail.com
Subjects: ตลาดนัด
ตลาด -- ความพอใจของผู้ใช้บริการ
นักศึกษา -- นันทนาการ
Markets -- User satisfaction
Students -- Recreation
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพฤติกรรมและความพึงพอใจของผู้เลือกใช้บริการที่มีต่อตลาดนัดในสถานศึกษา และเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้เลือกใช้บริการในตลาดนัดในสถานศึกษา จำแนกตามเพศ อายุ อาชีพ รายได้ และที่อยู่อาศัย กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้เลือกใช้บริการตลาดนัดในสถานศึกษา จำนวน 400 คน ด้วยวิธีการเลือกตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูล แบบสอบถามมีค่าความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.87 และมีค่าสัมประสิทธิ์ครอนบาคอัลฟ่าเท่ากับ 0.94 และนำผลมาวิเคราะห์หาค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที วิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว หากพบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 จะทำการเปรียบเทียบรายคู่ด้วยวิธีของ LSD ต่อไป ผลการวิจัยพบว่า ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง มีอายุ 18 – 25 ปี เป็นนิสิต/นักศึกษา รายได้ต่ำกว่า 10,000 บาท และมีที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานครแต่ไกลกับตลาดนัดมากกว่า 5 กิโลเมตร มีพฤติกรรมใช้บริการตลาดนัดเป็นประจำ มีวัตถุประสงค์หลักคือ เพื่อซื้อสินค้าและบริการ โดยสินค้าที่เลือกซื้อสินค้าประเภท อาหารและเครื่องดื่ม มากที่สุด มีเพื่อนเป็นผู้ร่วมทางในการมาใช้บริการ ใช้บริการในช่วงพักกลางวัน บ่าย (12.00 – 16.00 น.) ใช้บริการแต่ละครั้ง ไม่เกิน 30 นาที และมีค่าใช้จ่ายอยู่ระหว่าง 101 – 500 บาท สรุปผลการวิจัย ผู้ตอบแบบสอบถามมีความคิดเห็นในทิศทางเดียวกันว่า ความพึงพอใจในด้านส่วนประสมทางการตลาดบริการโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านบุคคล ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านสถานที่ มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านราคา ด้านสภาพแวดล้อมการให้บริการ ด้านกระบวนการให้บริการ และด้านการส่งเสริมการตลาดอยู่ในระดับปานกลาง ตามลำดับ และผลการเปรียบเทียบความพึงพอใจของผู้เลือกใช้บริการจำแนกตามเพศ อายุ อาชีพ รายได้ และที่อยู่อาศัยพบว่า ผู้เลือกใช้บริการที่มีเพศ และรายได้ ที่แตกต่างกัน มีความพึงพอใจในการเลือกใช้บริการตลาดนัด ไม่แตกต่างกัน ส่วนผู้เลือกใช้บริการที่มีอายุ อาชีพ และที่อยู่อาศัยที่แตกต่างกัน มีความพึงพอใจในการเลือกใช้บริการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
Other Abstract: This research aimed to study consumers’ behaviours and satisfactions towards flea market in academic institution consumption along with comparing those satisfactions classified by sex, age, occupation, income and address. The samples were 400 Thais who have ever consumed products and services in a flea market in academic institutions. Questionnaires were used to collect data with IOC of 0.87 as well as the Cronbach coefficient alpha equal of 0.94. Data then were analyzed for processing the Percentage, Mean, Standard deviation , One-way ANOVA and LSD methods were applied to multiple comparisons involving simple pair means difference at the level of 0.05. According to the result, most of the samples are females who are approximately 18-25 year olds who are undergraduates having income less than 10,000 Baht per month. They live in Bangkok but the locations are 5 Kilometres away from the flea market in academic institutions. Their purposes of products and services consumption frequently are relevant to products purchasing; food and beverage consumption. The consumers mostly spend the less than 30 minutes at 12-4 PM with friend and 101- 500 Baht. The representative sample responded the similar direction in questionnaires. Overall, respondents have moderate satisfaction towards the flea market in academic institutions. By considering each factor, the satisfaction of the People Product and Place factors are scored high. Nevertheless, the Price, Physical Evidence, Process and Promotion are scored moderate respectively. Comparing the customers’ satisfactions towards the flea market in academic institutions, it reveals that samples that are in the different groups of sex and income have similar customer satisfactions. However, the different groups of age, occupation and address have different satisfactions at the statistical significance level 0.05
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50565
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.888
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.888
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5778305439.pdf5.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.