Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50595
Title: | ชื่อเสียงองค์กรของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย |
Other Titles: | Corporate reputation of real estate developers in Thailand |
Authors: | ณฤณรรณฏ์ มหาอนันตพัฒน์ |
Advisors: | รุ่งนภา พิตรปรีชา |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Rungnapar.P@Chula.ac.th,rungnapar.p@chula.ac.th |
Subjects: | อสังหาริมทรัพย์ ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ การพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ ชื่อเสียง Real property Real estate business Real estate development Reputation |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การศึกษาเรื่อง “ชื่อเสียงองค์กรของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย” ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการรับรู้ชื่อเสียงองค์กรของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อบริษัทอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย 2. เพื่อศึกษาปัจจัยชื่อเสียงองค์กรของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่มีต่อบริษัทอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย 3. เพื่อเปรียบเทียบการรับรู้ชื่อเสียงองค์กร และเปรียบเทียบปัจจัยชื่อเสียงองค์กรของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ ที่มีต่อบริษัทอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย 4. เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยชื่อเสียงองค์กรและการรับรู้ชื่อเสียงองค์กรของกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียกลุ่มต่างๆ ที่มีต่อบริษัทอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทย โดยเก็บข้อมูลจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย 3 กลุ่มได้แก่ กลุ่มสื่อมวลชน 60 คน ผู้ซื้อ 180 คน และผู้บริโภคทั่วไป 240 คน โดยใช้วิธีวิจัยเชิงปริมาณ (Quantitative Research) โดยใช้แบบสอบถาม (Questionnaire) เป็นเครื่องมือในการวิจัย โดยประยุกต์จากเครื่องมือ Reptrak™ ของสถาบัน Reputation Institution ประเทศสหรัฐอเมริกา โดยสถิติที่ใช้คือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว (One-way ANOVA) และและค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน (Pearson’s correlation) โดยเลือกศึกษา 3 บริษัทพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ 3 บริษัทได้แก่ 1) บริษัท แสนสิริ จำกัด (มหาชน) 2) บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จํากัด (มหาชน) 3) บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเม้นท์ จำกัด (มหาชน) ผลการวิจัยพบว่า ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมีการรับรู้ชื่อเสียงองค์กรของบริษัทอสังหาริมทรัพย์ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายบริษัทพบว่า บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จํากัด (มหาชน) มีการรับรู้ชื่อเสียงสูงสุด และพบว่า บริษัท แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์ จํากัด (มหาชน) มีค่าเฉลี่ยปัจจัยชื่อเสียงองค์กรสูงที่สุด ซึ่งปัจจัยด้านความเป็นผู้นำ (Leadership) มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด เมื่อเปรียบเทียบการรับรู้ชื่อเสียงองค์กรของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียนั้น ไม่แตกต่างกัน ขณะที่เมื่อเปรียบเทียบปัจจัยชื่อเสียงพบว่า ปัจจัยด้านนวัตกรรม (Innovation) มีความแตกต่างระหว่างผู้มีส่วนได้ส่วนเสียมากที่สุด และผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านสินค้าและบริการขององค์กร (Product and Service) มีความสัมพันธ์กับการรับรู้ชื่อเสียงองค์กรมากที่สุด |
Other Abstract: | The purpose of this research is to examine the Corporate Reputation of Real Estate Developers in Thailand, to acknowledge the Factors of Corporate Reputation, to compare the Perception of Corporate Reputation and the Factors of Corporate Reputation in each group of stakeholders and to test the relationship between the Factors of Corporate Reputation and the Perception of Corporate Reputation of Real Estate Developers in Thailand. This research was conducted using the quantitative analysis and survey method with the sample respondents consisting of 60 journalists, 180 buyers and 240 potential consumers. The questionnaire used was for this research applied was adapted from the Reptrak™ system of the Reputation Institution, USA. The Mean and Standard Deviation was used for the Statistics together with the One-way ANOVA and The Pearson’s correlation. The Researcher chose 3 of top 10 Real Estate Developers in Thailand which are Sansiri PCL, Land and House PCL and Golden Land Property Development PLC. It was found that stakeholders have a high level corporate reputation perception and after analyzing each company, it was found that Land and House PCL. had the highest total score with the Leadership factor being the highest in their overall score. After considering each company, it was found that Land and House PCL. also had the highest mean score. Comparing the corporate reputation perception in each group of stakeholders, no significant difference was noticed although the Innovation factor had the highest difference. This research found that the Product and Service factor related most to the corporate reputation perception. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50595 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1014 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.1014 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5784856828.pdf | 7.17 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.