Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/506
Title: | การนำเสนอรูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรีที่มีรูปแบบการเรียนต่างกัน |
Other Titles: | A proposed collaborative learning model on computer network-based learning for undergraduate students with different learning styles |
Authors: | พิชัย ทองดีเลิศ, 2511- |
Advisors: | วิชุดา รัตนเพียร สุกรี รอดโพธิ์ทอง |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ |
Advisor's Email: | Vichuda.R@Chula.ac.th Sugree.R@Chula.ac.th |
Subjects: | การเรียนรู้ร่วมกัน การเรียนการสอนผ่านเว็บ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน |
Issue Date: | 2547 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษารูปแบบการจัดการเรียนรู้ร่วมกันบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 2) พัฒนารูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 3) นำเสนอรูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ 4) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ในการวิจัยครั้งนี้ผู้วิจัยใช้การวิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูลจากเอกสาร งานวิจัย เว็บไซต์และสัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์บนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ 1. อาจารย์ผู้สอน จำนวน 8 คนและผู้บริหารเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จำนวน 8 คน 2) นิสิตระดับปริญญาตรีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ที่ลงทะเบียนเรียนวิชา 999033 ศิลปะการดำเนินชีวิต ภาคการศึกษาปลาย ปีการศึกษา 2547 จำนวน 60 คน ผลการวิจัยพบว่า 1. จากการวิเคราะห์และสังเคราะห์เอกสาร งานวิจัย เว็บไซต์และการสัมภาษณ์ข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญ ทำให้ได้องค์ประกอบที่สำคัญในการพัฒนารูปแบบ 2 ส่วนคือ 1) องค์ประกอบการจัดการเรียนบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ได้แก่ เนื้อหา ระบบบริหารและจัดการ รูปแบบการสื่อสาร การประเมินผล ผู้อำนวยความสะดวกในการเรียน ตัวผู้เรียนโครงสร้างพื้นฐาน 2) ด้านกิจกรรมการเรียนได้แก่ ยุทธวิธีการจัดการเรียนรู้ร่วมกัน และกิจกรรมการเรียนที่สนับสนุนรูปแบบการเรียนของคอล์บ 2. รูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรีที่มีรูปแบบการเรียนต่างกัน ที่พัฒนาขึ้นประกอบขึ้นตอนที่สำคัญ 2 ขั้นตอนคือ 1) ขั้นการเตรียมความพร้อม มี 2 ขั้นตอนย่อยคือ การเตรียมความพร้อมให้ผู้สอน การเตรียมความพร้อมให้ผู้เรียน 2) ขั้นดำเนินกิจกรรมการเรียน มี 7 ขั้นตอนย่อยคือ การปฐมนิเทศรายวิชา การจัดกลุ่มผู้เรียน การทดสอบก่อนเรียน การรับทราบผลการทดสอบก่อนเรียน การศึกษาเนื้อหาในบทเรียน การทดสอบหลังเรียน การรับทราบผลการทดสอบหลังเรียน ผลการวิเคราะห์คะแนนแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่ากลุ่มตัวอย่างในทุกรูปแบบการเรียนมีคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อย่างไรก็ตามผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนของผู้เรียนทุกรูปแบบการเรียนไม่มีความแตกต่างกัน นอกจากนี้ผลการประเมินรับรองรูปแบบการเรียนรู้ร่วมกันบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์สำหรับนิสิตปริญญาตรีที่มีแบบการเรียนต่างกัน พบว่าผู้ทรงคุณวุฒิทั้ง 6 ท่าน ให้การรับรองว่าสามารถนำไปใช้ในการเรียนการสอนกับผู้เรียนในระดับอุดมศึกษาได้ |
Other Abstract: | The purposes of this research were: 1) to study collaborative learning model on computer network-based learning; 2) to develop collaborative learning model on computer network-based learning; 3) to present collaborative learning model on computer network-based learning; and 4) to compare learning achievement of students who study from computer network-based collaborative learning program. In this study, data was analyzed and synthesized from related documents, researches, websites and expert interviews. The samples were: 1) eight instructors and eight computer network administrators; 2) sixty undergraduate students who registered in the Arts of living course at Kasetsart University in the second semester, academic year of 2004. The results of this research were as follows: 1. From the analysis and synthesis of related documents, researches, websites and expert interviews, 2 main components for the model development included: 1) instructional management on computer network-based which comprised of instructional content, management system, communication format, assessment, facilitators, learners, and infrastructure; 2) learning activity which comprised of collaborative learning strategies and learning activities for supporting Kolb’s learning styles. 2. The collaborative learning model on computer network-based learning for undergraduate students with different learning styles consisted of 2 main phases as follows: I) preparation phase which was divided into 2 sub-phases (1) facilitators preparation (2) learners preparation; II) learning activity operation with 7 sub-phases (1) orientation (2) learner grouping (3) pre-test (4) feed back of pre-test (5) content studying (6) post-test (7) feed back of post-test. The analysis of pre-test and post-test scores of the samples showed a significant improvement of students from all learning styles at .05 level. However, it was found that the post-test comparative of students with different learning styles were not significantly different. Additionally, the comment from six experts has confirmed that the model was effective and suitable for undergraduate students. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2547 |
Degree Name: | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาเอก |
Degree Discipline: | เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/506 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2004.1010 |
ISBN: | 9741765339 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2004.1010 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Pichai.pdf | 3.14 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.