Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50602
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorคณพล จันทน์หอมen_US
dc.contributor.authorวโรตม์ งามสุวรรณวานิชen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-01T08:10:29Z
dc.date.available2016-12-01T08:10:29Z
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50602
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการและรายละเอียดของบทบัญญัติเหตุฉกรรจ์ในความผิดฐานชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญาไทย และแนวคิดในการกำหนดเหตุฉกรรจ์ รวมถึงบทบัญญัติเหตุฉกรรจ์ในความผิดฐานชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์ตามกฎหมายอาญาของต่างประเทศ เพื่อนำมาศึกษาวิเคราะห์และเปรียบเทียบเป็นแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติเหตุฉกรรจ์ในความผิดฐานชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์ตามประมวลกฎหมายอาญาไทย จากการศึกษาพบว่าบทบัญญัติเหตุฉกรรจ์ในความผิดฐานชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์ตามกฎหมายอาญาไทยนั้นมีพัฒนาการมาเป็นลำดับ โดยมักจะบัญญัติให้สอดคล้องกับสภาพสังคมเศรษฐกิจในขณะนั้น หากแต่ในปัจจุบันการกระทำความผิดมีพฤติการณ์ รวมถึงวิธีการที่หลากหลายมากขึ้นตามการเปลี่ยนแปลงไปของสังคมและเศรษฐกิจ ซึ่งส่งผลเสียหายร้ายแรงมิได้ยิ่งหย่อนกว่ากรณีที่ได้มีการบัญญัติเป็นเหตุฉกรรจ์ในประมวลกฎหมายอาญา อันอาจทำให้โทษไม่ได้สัดส่วนกับความผิดที่ได้กระทำลง ซึ่งเมื่อผู้ศึกษาได้ศึกษาบทบัญญัติเหตุฉกรรจ์ตามกฎหมายต่างประเทศ ได้แก่ ประเทศสหรัฐอเมริกา (มลรัฐอิลลินอยส์) ประเทศสหราชอาณาจักร และประเทศสาธารณรัฐประชาชนจีน ก็พบว่ามีการกำหนดเหตุฉกรรจ์ในความผิดฐานชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์ที่น่าสนใจเอาไว้หลายประการ ได้แก่ การชิงทรัพย์หรือปล้นทรัพย์โดย (1) ใช้ยาทางการแพทย์ (2) กระทำต่อบุคคลที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป หรือบกพร่องทางกายภาพ (3) กระทำลงในโรงเรียน หรือสถานรับเลี้ยงรับดูแลเด็ก (4) กระทำลงในธุรกิจขนาดเล็ก หรือแหล่งพาณิชย์ และ (5) กระทำต่อทรัพย์มูลค่ามาก เป็นเหตุฉกรรจ์ อันจะทำให้โทษนั้นมีความได้สัดส่วนกับความผิดที่ผู้กระทำได้กระทำลง ดังนั้น จึงมีข้อเสนอแนะว่าควรมีการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติในประมวลกฎหมายอาญา โดยกำหนดให้การชิงทรัพย์โดย (1) มีการใช้วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิตและประสาท (2) ได้กระทำต่อบุคคลผู้มีความอ่อนแออันเนื่องมาจากอายุ กายพิการ หรือจิตพิการ โดยประการที่น่าจะเป็นเหตุให้เกิดอันตรายแก่กาย หรือได้รับอันตรายสาหัส หรือถึงแก่ความตาย (3) ได้กระทำลงในสถานศึกษา หรือสถานรับเลี้ยงเด็ก และ (4) ได้กระทำลงในร้านค้าปลีก หรือธุรกิจสถาบันการเงิน เป็นเหตุฉกรรจ์ในความผิดฐานชิงทรัพย์ และสมควรแก้ไขเพิ่มเติมให้การกระทำต่อทรัพย์ซึ่งเป็นสมบัติของแผ่นดินเป็นเหตุฉกรรจ์ในความผิดฐานลักทรัพย์ซึ่งเป็นฐานของความผิดฐานชิงทรัพย์ด้วยอีกประการหนึ่งen_US
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this thesis are to thoroughly examine the provisions regarding robbery in circumstance of aggravation and their development in Thai Criminal Code compared with those of other countries and to recognize the legal concepts upon which they are originated, in pursuance of further amendment of the mentioned provisions in Thai Criminal Code. The study shows that (1) the provisions regarding aggravated robbery in Thai Criminal Code were developed respectively in accordance with social and economic context. However, circumstances and means of crime has considerably changed causing graver injury. Hence the gravity in Thai robbery law is obsolete and no longer serves its purpose in nowadays economic and society. (2) In other countries, specifically the United States (Illinois), United Kingdom and People's Republic of China, aggravating circumstances include: usage of drugs, robbery that the sufferer is 60 years old and older or a physical/mental disabled, robbery committed in a school or nursery, robbery committed in small business or commercial robbery and robbery of high priced property. The offenders charged with robbery under aggravating circumstance thus face more severe punishment so that it is proportionate to the gravity of the crime. The findings result in the recommendation to recognize more aggravating circumstances of robbery in Thai Criminal Code which should comprise robbery with usage of drugs acting on the nervous system, robbery committed against a person vulnerable from ages or physical/mental disability which causes death or great physical or mental harm, robbery committed in a school or nursery, robbery committed in small business or financial institution and robbery of national treasure which also should be realized as gravity of theft as well.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.641-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectความผิดต่อทรัพย์
dc.subjectการปล้นทรัพย์
dc.subjectการขโมย
dc.subjectOffenses against property
dc.subjectRobbery
dc.subjectTheft
dc.titleเหตุฉกรรจ์ในความผิดฐานชิงทรัพย์และปล้นทรัพย์en_US
dc.title.alternativeRobbery in circumstances of aggravationen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorKanaphon.C@Chula.ac.th,Kanaphon.C@Chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.641-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5786019234.pdf3.34 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.