Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50604
Title: การห้ามรับฟังพฤติกรรมเชิงสมานฉันท์เป็นพยานหลักฐานในคดีอาญา
Other Titles: The exclusion of the reconciliation behaviors as evidence in criminal cases
Authors: อัญชลี วานิจจะกูล
Advisors: คณพล จันทน์หอม
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Kanaphon.C@Chula.ac.th,Kanaphon.C@chula.ac.th
Subjects: พยานหลักฐานคดีอาญา
Evidence, Criminal
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงแนวคิดของการห้ามรับฟังพยานหลักฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงสมานฉันท์ในคดีอาญา รวมถึงนำเสนอแนวทางการแก้ไขเพิ่มเติมบทบัญญัติกฎหมายที่เกี่ยวข้อง จากการศึกษาพบว่า โดยทั่วไปประเทศไทยยังไม่มีหลักเกณฑ์การห้ามรับฟังพฤติกรรมเชิงสมานฉันท์เป็นพยานหลักฐานในคดีอาญา เว้นแต่คดีอาญาที่อยู่ในเขตอำนาจพิจารณาพิพากษาตามพระราชบัญญัติศาลเยาวชนและครอบครัวและวิธีพิจารณาคดีเยาวชนและครอบครัว พ.ศ. 2553 ซึ่งทำให้จำเลยไม่นิยมและเกรงกลัวที่จะกล่าวคำขอโทษหรือชดใช้ค่าเสียหายแก่ผู้เสียหาย ตลอดจนส่งผลให้บุคคลที่เกี่ยวข้องไม่กล้าเข้าร่วมหรือเปิดเผยข้อมูลใด ๆ ในกระบวนการเจรจาหรือไกล่เกลี่ยข้อพิพาท แม้ในปัจจุบันประเทศไทยมีการกำหนดหลักเกณฑ์การห้ามรับฟังพยานหลักฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทในชั้นศาลขึ้น แต่ข้อกำหนดดังกล่าวยังมีปัญหาในด้านสภาพบังคับและรายละเอียดที่ไม่ชัดเจนและแตกต่างกันในแต่ละศาล เมื่อศึกษาแนวคิดของการห้ามรับฟังพยานหลักฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมเชิงสมานฉันท์ในคดีอาญาในต่างประเทศพบว่า ในประเทศสหรัฐอเมริกามีหลักเกณฑ์การห้ามรับฟังพยานหลักฐานเกี่ยวกับพฤติกรรมการกล่าวคำขอโทษ การชดใช้ค่าเสียหาย และการเข้าร่วมกระบวนการเจรจาหรือไกล่เกลี่ยข้อพิพาทมิให้นำมาใช้พิสูจน์ความผิดของจำเลยในคดีแพ่งและคดีอาญา ประเทศแคนาดามีคำพิพากษาที่วางหลักเกณฑ์ห้ามรับฟังพฤติกรรมการชดใช้ค่าเสียหายเพื่อพิสูจน์ความผิดของจำเลย นอกจากนี้ ทั้งประเทศสหรัฐอเมริกา ประเทศแคนาดา และประเทศเบลเยียมต่างมีการกำหนดให้คำกล่าวใด ๆ ที่เกิดขึ้นในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเป็นพยานหลักฐานที่รับฟังไม่ได้เว้นแต่เข้าข้อยกเว้นของการห้ามรับฟังพยานหลักฐานอีกด้วย ด้วยเหตุดังที่กล่าวมาข้างต้น จึงขอเสนอแนะให้ประเทศไทยมีการกำหนดหลักเกณฑ์การห้ามรับฟังพฤติกรรมเชิงสมานฉันท์ ได้แก่ พฤติกรรมการกล่าวคำขอโทษ พฤติกรรมการชดใช้ค่าเสียหาย พฤติกรรมการเข้าร่วมการไกล่เกลี่ยข้อพิพาท ตลอดจนคำกล่าวใด ๆ ที่เกิดขึ้นในการไกล่เกลี่ยข้อพิพาทเป็นพยานหลักฐานในคดีอาญา
Other Abstract: The main purpose of this thesis is to study the exclusion of evidence in criminal cases by focusing on the reconciliation behaviors. It provides the analysis and suggestion for improving the related laws. The thesis finds that the reconciliation behaviors are generally admissible in Thailand. The absence of the exclusionary rules discourages the accused from offering apologies or reparations to victims, or initiating any compromises. Furthermore, it affects a genuine exchange of information in compromise. Although the exclusionary rules of the mediation in court have recently been enacted, such rules still have enforcement problems. Moreover, details are ambiguous and implementation varies among different courts. In U.S.A, apologizing, paying reparations and offering certain compromises to victims are inadmissible to prove liability of the accused. In Canada, it was ruled that payment of reparations by the accused was inadmissible to prove liability as well. Also, in U.S.A, Canada, and Belgium, mediation communications are inadmissible except as required by national laws. The thesis finally proposes that apologizing, paying reparations, participating and communications in mediation should not be used as evidence in subsequent criminal proceedings in Thailand.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50604
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.666
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.666
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5786038134.pdf4.78 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.