Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50621
Title: การประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ร่วมกับการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้นเพื่อวิเคราะห์พื้นที่ศักยภาพในการสร้างท่าเรือบก (Dry Port) จังหวัดนครราชสีมา
Other Titles: AN APPLICATION OF GEOGRAPHIC INFORMATION SYSTEMAND ANALYTIC HIERARCHY PROCESS TO ANALYZE POTENTIAL SITES FOR DRY PORT IN NAKHON RATCHASIMA
Authors: ชัยวัฒน์ แก้ววิจิตร์
Advisors: พรรณี ชีวินศิริวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัย
Advisor's Email: Pannee.Ch@Chula.ac.th,panneew@hotmail.com,Pannee.Ch@Chula.ac.th
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประยุกต์ระบบสารสนเทศภูมิศาสตร์ร่วมกับกระบวนการวิเคราะห์เชิงลำดับชั้นในการหาพื้นที่ศักยภาพการสร้างท่าเรือบก (Dry Port) จังหวัดนครราชสีมา โดยท่าเรือบกนี้จะมีบทบาทเสมือนท่าเรือชายฝั่ง มีฟังก์ชันของสถานีบรรจุและแยกสินค้ากล่องรวมถึงศูนย์บริการขนส่งร่วมรูปแบบและโลจิสติกส์ โดยเชื่อมโยงระหว่างท่าเรือบกและท่าเรือแหลมฉบังด้วยรถไฟขนส่งสินค้า ผลการวิจัยสามารถสรุปได้เป็น 3 ส่วนดังนี้ ส่วนแรกเกี่ยวกับค่าความสำคัญของปัจจัย โดยปัจจัยหลักด้านคมนาคมขนส่งและปัจจัยรองการเข้าถึงโครงข่ายคมนาคมขนส่งมีค่าความสำคัญสูงสุดในแต่ละกลุ่มเท่ากับ 0.449 และ 0.33 ตามลำดับ ส่วนปัจจัยพื้นที่เสี่ยงอุทกภัย เป็นปัจจัยย่อยที่มีค่าความสำคัญสูงสุดเท่ากับ 0.276 ส่วนที่สองเกี่ยวกับพื้นที่ที่เหมาะสมในการสร้างท่าเรือบก พบว่า พื้นที่เหมาะสมสูงสุดในการสร้างท่าเรือบกในจังหวัดนครราชสีมามีขนาดพื้นที่ 1,253.25 ตารางกิโลเมตร คิดเป็น 6.24% ของพื้นที่ทั้งหมด โดยพื้นที่ที่มีค่าคะแนนรวมความเหมาะสมสูงสุดและนำมาพิจารณาเป็นพื้นที่ศักยภาพคือ อำเภอบัวใหญ่ อำเภอสูงเนิน อำเภอสีคิ้ว และอำเภอปากช่อง ซึ่งมีพื้นที่เหมาะสมสูงสุด 0.541, 0.516, 0.174, และ 0.093 ตารางกิโลเมตร ตามลำดับ สำหรับส่วนที่สามพบว่า พื้นที่ศักยภาพในการสร้างท่าเรือบกคือ พื้นที่อำเภอบัวใหญ่ บริเวณใกล้กับสถานีรถไฟบัวใหญ่ ซึ่งมีขนาดพื้นที่ประมาณ 0.541 ตารางกิโลเมตร
Other Abstract: This research aims to apply geographic information system and analytic hierarchy process in order to analyze potential sites for dry port in Nakhon Ratchasima province. Dry port operations are the same as sea ports. A dry port also consists of necessary operations and services such as inland container depots and multimodal transportation connecting to Laem Chabang port by rail. Results can be discussed into three parts. Firstly, it found that the most important factors are transportation and transportation network with weight of 0.449 and 0.33 respectively. Among the sub-factors, the most important factors are flood risk area with weights of 0.276. Secondly, the most suitable areas for dry port in Nakhon Ratchasima are 1,253.25 square kilometer or 6.24% in total. Among the most suitable areas, four potential areas were located in Bua Yai (0.541 sq.km.), Soong Neun (0.516 sq.km.), Srikue (0.174 sq.km.) and Pakchong (0.093 sq.km.). Finally, Bua Yai district will be the suitable area among the four potential areas for dry port with the total area of 0.541 square kilometer.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: การจัดการด้านโลจิสติกส์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50621
Type: Thesis
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5787138420.pdf4.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.