Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50631
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิทยา ยงเจริญen_US
dc.contributor.authorณัฐกฤตา เตจาคำen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. บัณฑิตวิทยาลัยen_US
dc.date.accessioned2016-12-01T08:11:10Z
dc.date.available2016-12-01T08:11:10Z
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50631
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractงานวิจัยนี้เป็นการศึกษาเทคโนโลยีการปรับลดอุณหภูมิอากาศขาเข้าเครื่องอัดอากาศ เพื่อเพิ่มกำลังการผลิตของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ที่เหมาะสม ซึ่งทำการศึกษาระหว่างระบบทำความเย็น และระบบฉีดพ่นละออง โดยเปรียบเทียบถึงผลกำลังผลิตที่เพิ่มขึ้นจากการใช้เทคโนโลยี และวิเคราะห์ความคุ้มค่าทางการเงินในการลงทุนที่มีต่อโรงไฟฟ้า โดยใช้วิธีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) อัตราผลตอบแทนภายใน (IRR) และคำนวณระยะเวลาคืนทุนแบบคิดลด (DPB) ทำการวิเคราะห์จากข้อมูลสภาพอากาศที่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ในช่วงฤดูร้อนเป็นเวลาย้อนหลัง 2 ปี พบว่าเทคโนโลยีการปรับลดอุณหภูมิอากาศโดยระบบทำความเย็นแบบใช้ไฟฟ้าสามารถลดอุณหภูมิได้เฉลี่ย 14.2 องศาเซลเซียส และเพิ่มกำลังการผลิตสุทธิได้ประมาณ 56.2 MW คิดเป็น 7.4% ของกำลังการผลิตก่อนใช้เทคโนโลยี และเทคโนโลยีการปรับลดอุณหภูมิอากาศโดยระบบฉีดพ่นละอองน้ำสามารถลดอุณหภูมิได้เฉลี่ย 7.3 องศาเซลเซียส สามารถเพิ่มกำลังการผลิตได้ประมาณ 35.7 MW คิดเป็น 4.7% ของกำลังการผลิตก่อนใช้เทคโนโลยี ในการวิเคราะห์ทางความคุ้มค่าทางการเงินทั้งสองเทคโนโลยีมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิเป็นบวก และอัตราผลตอบแทนภายในของโครงการมากกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ในระยะยาว ซึ่งพบว่า ระบบทำความเย็นแบบใช้ไฟฟ้ามีมูลค่าปัจจุบันสุทธิเท่ากับ 129.9 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนภายใน 10.62% และระยะเวลาคืนทุนแบบคิดลด 13.3 ปี ขณะที่ระบบฉีดพ่นละอองน้ำมีปัจจุบันสุทธิเท่ากับ 125.2 ล้านบาท อัตราผลตอบแทนภายใน 69.36% และระยะเวลาคืนทุนแบบคิดลด 1.65 ปี เมื่อทำการวิเคราะห์ผลตอบแทนส่วนเพิ่มระหว่างระบบทำความเย็นแบบใช้ไฟฟ้าและระบบฉีดพ่นละอองน้ำ พบว่าโครงการส่วนเพิ่มมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิเท่ากับ 4.7 ล้านบาทและอัตราผลตอบแทนส่วนเพิ่ม 7.1% ดังนั้นงานวิจัยจึงพิจารณาเลือกระบบทำความเย็นแบบใช้ไฟฟ้าให้มีความคุ้มค่าในการลงทุนติดตั้งเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมวังน้อย แต่ถ้าอัตราค่าปรับหรืออัตราการเสื่อมสมรรถณะของโรงไฟฟ้าลดลงจากสมมติฐานจะพิจารณาเลือกลงทุนในระบบฉีดพ่นละอองน้ำแทนen_US
dc.description.abstractalternativeThis research paper presents the technologies to increase power generation from the existing combined cycle power plant at Wang Noi, Phra Nakhon Si Ayutthaya by the intake air cooling technology. Two cooling technologies between chiller system and fogging system were compared in this study. To analyze the increased power output and the financial analysis based on Net Present Value (NPV), Internal Rate of Return (IRR) and Discounted Payback Period (DPB) by using the weather data in the summer period of Phra Nakhon Si Ayutthaya Province recorded in the past 2 years. From this study, the chiller system can decrease 14.2°C of ambient air temperature and increase 56.2 MW of power output, approximately 7.4% of capacity with no cooling technology. While the fogging system can decrease 7.3°C of ambient air temperature and increase 35.7 MW of power output, approximately 4.7% of capacity with no cooling technology. For the financial analysis, Both of technologies have a positive NPV and IRR more than minimum loan rate (MLR). That the chiller had NPV, IRR and DPB are 129.9 million bath, 10.62% and 13.3 years respectively. While the fogging system had NPV, IRR and DPB are 125.2 million bath, 69.36% and 1.65 years respectively. Then the chiller system gives an incremental NPV at 4.7 million bath and an incremental IRR 7.1%. Thus, the chiller system was appropriate to investment to enhance capacity for Wang Noi combined cycle power plant. If penalty rate or Performance degradation rate was decreased then the fogging system would be selected.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1356-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectโรงไฟฟ้า
dc.subjectไฮโดรนิกส์
dc.subjectElectric power-plants
dc.subjectHydronics
dc.titleการศึกษาเชิงเปรียบเทียบทางเลือกสำหรับเทคโนโลยีการปรับลดอุณหภูมิอากาศเพื่อเพิ่มกำลังการผลิตของโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วม ระหว่างระบบทำความเย็นและระบบฉีดพ่นละอองน้ำ : กรณีศึกษาโรงไฟฟ้าพลังความร้อนร่วมวังน้อยen_US
dc.title.alternativeA comparative study of intake air cooling technology between air chiller system and fogging system to enhance capacity of combined cycle power plant : a case study of Wang Noi Combined Cycle Power Planten_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิทยาศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineเทคโนโลยีและการจัดการพลังงานen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorWithaya.Yo@chula.ac.th,yongchareon@gmail.comen_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.1356-
Appears in Collections:Grad - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5787560520.pdf5.37 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.