Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50634
Title: ปัจจัยที่ส่งผลให้ผู้ใช้รถยนต์เปลี่ยนมาใช้ระบบจอดแล้วจรอย่างต่อเนื่อง: กรณีศึกษาจุดจอดแล้วจรกรุงธนบุรี
Other Titles: Factors influencing car driver's mode shift to park and ride and retention : a case of Krungthonburi Park and Ride Lot
Authors: ณิชาบูล มณีน้อย
Advisors: ศักดิ์สิทธิ์ เฉลิมพงศ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Saksith.C@chula.ac.th,Saksith.C@chula.ac.th
Subjects: การขนส่งมวลชน
รถยนต์
การวิเคราะห์ตัวประกอบ
Local transit
Automobiles
Factor analysis
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การศึกษานี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินผลการจัดทำจุดจอดแล้วจรกรุงธนบุรีที่เป็นจุดจอดแล้วจรแห่งใหม่ พบว่า แนวโน้มของปริมาณผู้เข้าร่วมโครงการจุดจอดแล้วจรกรุงธนบุรีในแต่ละเดือนมีเพิ่มมากขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยผู้เข้าร่วมระบบจอดแล้วจรเป็นกลุ่มวัยเริ่มทำงานที่มีสถานที่ทำงานบริเวณสาทรและแนวเส้นทางรถไฟฟ้าบีทีเอสสายสุขุมวิท จุดเริ่มต้นการเดินทางกระจายตัวอยู่บริเวณฝั่งธนบุรีทางด้านทิศตะวันตกซึ่งสอดคล้องกับขอบเขตของพื้นที่ให้บริการของจุดจอดแล้วจรกรุงธนบุรีคือ 23 กิโลเมตร ที่ค่าเปอร์เซ็นต์ไทล์ที่ 85 โดยผู้ที่เปลี่ยนมาจากการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลสามารถลดปริมาณการเดินทางโดยรถยนต์เฉลี่ยวันละ 7.4 กิโลเมตร และประหยัดเวลาในการเดินทางเฉลี่ย 7 นาที และผู้ที่เปลี่ยนมาจากระบบจอดแล้วจรแห่งอื่นสามารถลดปริมาณการเดินทางโดยรถยนต์ได้เฉลี่ยวันละ 9.7 กิโลเมตร และเวลาในการเดินทางลดลงเฉลี่ย 2 นาที ทั้งนี้ปริมาณการเดินทางโดยรถยนต์ของผู้เข้าร่วมโครงการจอดแล้วจรกรุงธนบุรีลดลงประมาณ 1,394 กิโลเมตรต่อวัน หรือประมาณ 508,810 กิโลเมตรต่อปี และจากการวิเคราะห์ปัจจัยที่ทีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการจุดจอดแล้วจรกรุงธนบุรีอย่างต่อเนื่องภายหลังการยกเลิกการให้สิ่งจูงใจโดยใช้การวิเคราะห์ความถดถอยโลจิสติก พบว่าปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการตัดสินใจเข้าร่วมโครงการอย่างต่อเนื่อง ได้แก่ เพศชาย ระดับรายได้ต่อเดือน การเปลี่ยนที่พักอาศัยหรือที่ทำงานภายใน 1 ปี ก่อนเข้าร่วมโครงการ การได้รับส่วนลดค่าจอดรถหรือไม่ต้องเสียค่าจอดรถใกล้ที่ทำงาน ความถี่ในการใช้บริการรถไฟฟ้า และสถานีปลายทางรถไฟฟ้าใต้ดิน
Other Abstract: The objective of this study is to evaluate the performance of a newly built park and ride lot at Krungthonburi. The findings show that the number of new users continued to increase every month since the opening. These users are working-age commuter who work in Sathorn area and along Sukhumvit BTS corridor. Most access trips originate from Thonburi area to the west of the parking lot, with the 85th percentile of access distance of 23 km. Park and ride users can reduce driving distance by 7.4 km and time by 7 minutes per day on average. Some users who switch from other park and ride lots can reduce driving by 9.7 km and time by 2 minutes per day on average.The total driving reduction by providing this park and ride lot is 1,394 km per day or 508,810 km per year. Regarding the analysis of factors influencing decision to switch from driving to using park and ride and retention, the logistic regression analysis shows that male gender, income, home or work location change, frequency of transit use, and destination all affect the decision to continue using park and ride after trial periods.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50634
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.583
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.583
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5870292521.pdf4.44 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.