Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50655
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorศิราพร ณ ถลางen_US
dc.contributor.authorปรียารัตน์ เชาวลิตประพันธ์en_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-02T02:01:07Z
dc.date.available2016-12-02T02:01:07Z
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50655
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์เล่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการดำรงอยู่ของวัฒนธรรมโนราของชาวสยาม บ้านปลายระไม อำเภอเปิ้นดัง รัฐเคดาห์ (ไทรบุรี) ประเทศมาเลเซียและเพื่อวิเคราะห์ปัจจัยในการสืบทอดและบทบาทของวัฒนธรรมโนราของชาวสยามที่นี่ ผู้วิจัยเก็บข้อมูลภาคสนามเกี่ยวกับพิธีโนราโรงครูในช่วงปี พ.ศ. 2554 – 2557 และได้เก็บข้อมูลภาคสนามการประกอบพิธีโนราโรงครูในจังหวัดพัทลุงเพิ่มเติมเพื่อนำมาวิเคราะห์การดำรงอยู่และการสืบทอดวัฒนธรรมโนราที่ปลายระไมให้ชัดเจนยิ่งขึ้น ผลการศึกษาการดำรงอยู่ของวัฒนธรรมโนราของชาวสยามบ้านปลายระไม พบว่า ดำรงอยู่ในรูปของวรรณกรรมทั้งวรรณกรรมมุขปาฐะ ได้แก่ ตำนานครูหมอโนราท้องถิ่น นิทานเรื่องพระสุธน-มโนห์รา พระรถ-เมรี และวรรณกรรมลายลักษณ์ ได้แก่ บทโนราที่ใช้ในพิธีกรรมโนราโรงครูซึ่งคล้ายคลึงกับที่พบในภาคใต้ ส่วนการดำรงอยู่ในรูปของพิธีกรรม พบว่า พิธีกรรมโนราโรงครูที่นี่มีวัตถุประสงค์ 2 ประการคือเพื่อแก้บนและเพื่อตัดจุกโนราใหม่ ธรรมเนียมปฏิบัติและขั้นตอนการประกอบพิธีกรรมยังคงดำเนินตามแบบแผนที่เคยปฏิบัติมาตั้งแต่อดีต พบว่าที่บ้านปลายระไมมีโนรา 2 คณะ มีทั้งโนราหญิงและโนราชาย นิยมให้โนรารุ่นหลังเป็นผู้ประกอบพิธีตัดเหมฺรฺย ชาวสยามที่ไทรบุรียังคงมีความเชื่อเกี่ยวกับครูหมอโนรา นับถือครูหมอโนราทั้งที่เป็นบรรบุรุษและเป็นครูหมอโนราในท้องถิ่น และเชื่อว่าครูหมอส่วนใหญ่เดินทางมาจากประเทศไทย ส่วนร่างทรงนั้น มาจากการเลือกของครูหมอ ร่างทรงคนหนึ่งอาจมีครูหมอมาลงได้หลายองค์ ปัจจัยในการสืบทอดวัฒนธรรมโนราบ้านปลายระไม มีทั้งหมด 4 ประการ ได้แก่ 1) การยังคงมีผู้สืบทอดการเป็นโนรา โดยเฉพาะในช่วง 5-6 ปีที่ผ่านมามีคนรุ่นใหม่ที่มาฝึกหัดโนราและเข้าพิธีตัดจุกเป็นโนราใหญ่หลายคนด้วยความเต็มใจและความภาคภูมิใจ 2) การที่ชาวบ้านปลายระไมยังคงมีความเชื่อเรื่องครูหมอโนราอย่างเหนียวแน่น โดยเชื่อว่าครูหมอช่วยคุ้มครองให้รอดพ้นจากอันตราย โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ตลอดจนบันดาลให้สมปรารถนา แล้วจึงจัดโนราโรงครูตอบแทน 3) พิธีกรรมโนราโรงครูจึงยังคงมีการจัดสืบเนื่องต่อมาและในปัจจุบันยิ่งมีมากขึ้นเนื่องจากชาวบ้านบนบานครูหมอกันมาก 4) ชุมชนปลายระไมเองมีความพร้อมในด้านต่างๆ ทั้งความพร้อมด้านเศรษฐกิจ การมีเครือข่ายญาติพี่น้องที่เหนียวแน่น ความสามารถในการสื่อสารด้วยภาษาไทย ค่านิยมเรื่องการบูชาครู ความกตัญญูกตเวที การรักษาสัจจะ รวมทั้งความภาคภูมิใจในการเป็นคนสยาม นอกจากนี้วัฒนธรรมโนราที่บ้านปลายระไมยังมีบทบาทในการช่วยสืบทอดอัตลักษณ์ความเป็นชาวสยามและการสร้างความทรงจำร่วมให้กับคนในชุมชน ให้ความบันเทิงแก่คนในชุมชน เป็นที่ยึดเหนี่ยวทางจิตใจให้กับคนในชุมชน รวมทั้งสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชนชาวสยามในบริบทต่างแดนen_US
dc.description.abstractalternativeThe aim of this dissertation is to study the persistence of Nora culture of Siamese at Ban Plairamai, Pendang, Kedah, Malaysia, in order to analyze the factors contributing to the persistence of their Nora culture and its roles. The researcher collected the data regarding Nora Rong Kru ritual between 2011-2014 at Ban Plairamai and additional data regarding Nora Rong Kru ritual in Phatthalung, Thailand, was also collected in order to make the analysis more explicit. The results reveal that literature in Nora culture of Siam at Ban Plairamai exists in both oral form and written form. In terms of rituals, the findings reveal two purposes of Nora Rong Kru ritual: to fulfill vows and to cut Nora trainee’s topknot. The customs and the series of actions in these rituals are the same as those traditionally performed in the past. At Ban Plairamai, there are two groups of Nora. The Siamese in Kedah still hold the beliefs regarding Kru Mo Nora and honor both those who are their ancestors and the local ones. The researcher found that there are four factors contributing to the persistence and transmission of Nora culture at Ban Plairamai: 1) there are new generation of Nora performers, 2) The people here hold firmly to their beliefs that Kru Mo Nora can protect them from harm and bring them what they wish for, 3) The rituals are still performed and it seems more often because people like to make vows, and 4) people in Ban Plairamai are ready in many aspects. In fact, in addition to helping to transmit Siamese identity, create collective memory, and entertain people in the community, Nora culture at Ban Plairamai is also a spiritual anchor that helps to strengthen this exotic Siamese community in transnational context.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.958-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectโนรา
dc.subjectทรัพยากรทางวัฒนธรรม -- การคุ้มครอง
dc.subjectไทรบุรี -- ความเป็นอยู่และประเพณี
dc.subjectNora (Thai dance drama)
dc.subjectCultural property -- Protection
dc.subjectSyburi -- Social life and customs
dc.titleวัฒนธรรมโนรา : การดำรงอยู่และการสืบทอดในบริบทของบ้านปลายระไม อำเภอเปิ้นดัง รัฐเคดาห์ (ไทรบุรี) ประเทศมาเลเซียen_US
dc.title.alternativeNora culture : the persistence and transmission in the context of Ban Plairamai, Pendang, Kedah (Syburi), Malaysiaen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameอักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาเอกen_US
dc.degree.disciplineภาษาไทยen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorSiraporn.N@Chula.ac.th,Siraporn.N@Chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.958-
Appears in Collections:Arts - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5380506022.pdf8.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.