Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50659
Title: การพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของชุมชนเพื่อป้องกันความเสี่ยงในการเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวของวัยรุ่น
Other Titles: DEVELOPMENT OF COMMUNITY LEARNING PROCESSES TO REDUCE THE RISKS OF BECOMING SINGLE MOTHERS OF TEENAGERS
Authors: จุฑารัตน์ เนียมหลาง
Advisors: ชนิตา รักษ์พลเมือง
บุญเสริม หุตะแพทย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Chanita.R@Chula.ac.th,chanita.r@chula.ac.th
boonserm.hut@stou.ac.th
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพชุมชนในพื้นที่เสี่ยงที่มีผลต่อการตั้งครรภ์ไม่พร้อมของวัยรุ่น 2) วิเคราะห์ปัจจัยเงื่อนไข ปัญหาและอุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการเรียนรู้ของชุมชนในการป้องกันความเสี่ยงการเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวของวัยรุ่น และ 3) พัฒนากระบวนการเรียนรู้ของชุมชนในการป้องกันความเสี่ยงการเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวของวัยรุ่น ผู้วิจัยทำการวิจัยเชิงสำรวจโดยใช้แบบสอบถามในชุมชน 6 แห่ง ที่ตั้งอยู่ใน 3 จังหวัด ซึ่งได้รับการจัดอันดับสูงสุดในด้านจำนวนและอัตราการคลอดบุตรของวัยรุ่นไทย พ.ศ. 2556 ของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ทำการวิจัยเชิงคุณภาพเพื่อศึกษากระบวนการเรียนรู้ของชุมชนโดยการลงพื้นที่ภาคสนามในชุมชนที่ประสบความสำเร็จ จำนวน 2 แห่ง และใช้วิธีการสนทนากลุ่มเพื่อพัฒนากระบวนการเรียนรู้ของชุมชนในการป้องกันความเสี่ยงการเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวของวัยรุ่น ผลการวิจัย พบว่าผู้นำแบบทางการในพื้นที่เสี่ยงจัดกิจกรรมเกี่ยวกับการป้องกันความเสี่ยงในการเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวของวัยรุ่นตามนโยบายของรัฐ ความต่อเนื่องและความสำเร็จของการจัดกิจกรรมในชุมชนเขตเมืองส่วนใหญ่ได้รับผลกระทบจากการที่ผู้นำทางการเมืองมีการเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้งและให้ความสำคัญต่อประเด็นปัญหานี้น้อยกว่าเรื่องที่เป็นประเด็นสนใจทางสังคม ในชุมชนชนบท พบว่าประชาชนส่วนใหญ่ให้ความสำคัญกับการประกอบอาชีพมากกว่าการเข้าร่วมกิจกรรมป้องกันความเสี่ยงในการเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวของวัยรุ่น ผลการวิจัยพื้นที่ที่ประสบความสำเร็จ พบว่าผู้นำชุมชนแบบไม่ทางการเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญ มีการจัดกิจกรรมครบถ้วนให้กับกลุ่มเป้าหมายทั้งการป้องกัน การเยียวยา และการฟื้นฟู ปัจจัยสำคัญสำหรับการจัดกระบวนการเรียนรู้ของชุมชน ได้แก่ 1) ความตระหนักรู้ในปัญหาของสมาชิกชุมชน 2) ความร่วมมือของผู้นำชุมชนแบบเป็นทางการและไม่เป็นทางการ 3) การมีส่วนร่วมของสมาชิกชุมชน 4) ความรู้ของผู้นำในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ 5) สื่อประชาสัมพันธ์ 6) งบประมาณ 7) การจัดกิจกรรมครบทั้งสามกลุ่มเป้าหมาย และ 8) สิ่งจูงใจในการเข้าร่วมกิจกรรม ปัญหาการดำเนินงานที่สำคัญ คือ ความสอดคล้องของเวลาในการจัดกิจกรรมของผู้จัดและกลุ่มเป้าหมายที่เข้าร่วมกิจกรรม ผลการสนทนากลุ่มได้ข้อสรุปว่ารูปแบบการเรียนรู้ที่ควรนำมาใช้ในกิจกรรม คือ การเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมซึ่งเน้นการเรียนรู้เชิงประสบการณ์และการเรียนรู้โดยกระบวนการกลุ่ม ขั้นตอนการจัดกระบวนการเรียนรู้ ประกอบด้วย 1) การสร้างความตระหนักรู้ปัญหาความเสี่ยงในการเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวของวัยรุ่นจากการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ประสบการณ์ของตนเองหรือผู้อื่น 2) การร่วมกันค้นหาสาเหตุของความเสี่ยงในการเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยวของวัยรุ่นในชุมชน โดยอาศัยความร่วมมือจากผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งภายในและภายนอกชุมชน 3) การร่วมวางแผนดำเนินการและการเตรียมความพร้อมด้านต่าง ๆ โดยเฉพาะการจัดตั้งกลุ่มตัวแทนในชุมชนเพื่อประสานงานการจัดและการเข้าร่วมกิจกรรม 4) การปฏิบัติตามแผนดำเนินการ 5) การประเมินผลการจัดกิจกรรมในด้านความรู้ ทัศนคติ และพฤติกรรม
Other Abstract: The objectives of this research were 1) to study community situations in vulnerable areas that affected teenage pregnancy, 2) to analyze factors and obstacles related to the learning process of the community in reducing single teenage mothers, and 3) to develop the community learning processes to prevent the risks of becoming single teenage mothers. A survey study using questionnaire was administered in 6 communities selected from the 3 provinces ranked highest in number and rate of teenage pregnancy and childbirth in the 2013 survey of the Ministry of Social Development and Human Security. The researcher also employed qualitative research in another 2 communities, selected as success cases, in order to analyze their learning processes. A model of community-based learning process to prevent the risks of becoming single teenage mothers was proposed through focus group discussion. The results showed that official local community leaders in vulnerable areas followed government policies in organizing activities relating to the prevention of becoming single teenage mothers. The continuation and success of activities in urban communities were mostly affected by the frequent changes of political leaders and that the issue received less attention from them than other social issues. As for rural areas, the community members were more concerned about their living than participating in activities to prevent single teenage mothers. It was found that unofficial leaders play important roles in successfull communities. Full-cycle preventive activities comprising the curation, rehabilitation, and prevention of repeated single teenage mothers were organized to the target groups. Key factors in organizing learning activities were 1) community awareness, 2) participation of formal and informal community leaders, 3) involvement of community members, 4) knowledge of leaders in organizing activities, 5) public relation media, 6) budget, 7) full-cycle preventive activities, and 8) incentives for participation. The most significant problem was timing of the activities which were organized at an inconvenient time of the participants. It was proposed from focus group discussion that participatory Learning (pl), especially experiential learning, and group process should be used. The learning process consisted of 1) awareness raising of the risks of becoming single teenage mothers through experience sharing, 2) participative investigation of the causes of the problem with the assistance from all involved stakeholders both in and outside the communities, 3) action planning and readiness building especially identifying local representatives for coordination, 4) implementation of plans, and 5) evaluation of learning activities in terms of knowledge, attitudes, and behaviors.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: พัฒนศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50659
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5384211627.pdf6.8 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.