Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50680
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | ณัฐพร พานโพธิ์ทอง | en_US |
dc.contributor.author | สิทธิธรรม อ่องวุฒิวัฒน์ | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2016-12-02T02:01:39Z | - |
dc.date.available | 2016-12-02T02:01:39Z | - |
dc.date.issued | 2558 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50680 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (อ.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 | en_US |
dc.description.abstract | งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษากลวิธีทางภาษาที่ผู้พูดภาษาไทยใช้แสดงความเห็นแย้งในปริจเฉทการสนทนาภาษาไทย และเปรียบเทียบกลวิธีทางภาษาที่ผู้พูดภาษาไทยใช้แสดงความเห็นแย้งในปริจเฉทการสนทนา 2 ชนิด คือ บทสนทนาแบบเน้นภารกิจ (task-based conversation) และบทสนทนาแบบแสดงความคิดเห็น (argumentative conversation) รวมทั้งศึกษาข้อคำนึงที่เป็นเหตุจูงใจที่ผู้พูดภาษาไทยคำนึงถึงในการแสดงความเห็นแย้ง ข้อมูลในการศึกษากลวิธีทางภาษาที่ผู้พูดภาษาไทยใช้ในการแสดงความเห็นแย้งมาจากปริจเฉทการสนทนาที่เกิดขึ้นจริง 2 ชนิด คือ บทสนทนาแบบเน้นภารกิจ และบทสนทนาแบบแสดงความคิดเห็น ส่วนข้อมูลในการศึกษาข้อคำนึงที่เป็นเหตุจูงใจที่ผู้พูดภาษาไทยคำนึงถึงในการแสดงความเห็นแย้งมาจากการใช้แบบสอบถามและการสัมภาษณ์เชิงลึกกลุ่มตัวอย่างผู้พูดภาษาไทย รวมถึงการศึกษาจากปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรมตามมุมมองที่นักสังคมวิทยาและนักมานุษยวิทยาเสนอไว้ ผลการวิจัยพบว่า ผู้พูดภาษาไทยเลือกใช้กลวิธีทางภาษาในการแสดงความเห็นแย้งจำนวน 21 วิธี จัดเป็นกลวิธีหลักทั้งสิ้น 4 กลวิธี เรียงลำดับความถี่การปรากฏจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ 1.กลวิธีทางภาษาแบบลดน้ำหนักความรุนแรง (คิดเป็นร้อยละ 56.47) 2.กลวิธีทางภาษาแบบโน้มน้าวให้เชื่อหรือคล้อยตาม (คิดเป็นร้อยละ 31.81) 3.กลวิธีทางภาษาแบบตรงไปตรงมา (คิดเป็นร้อยละ 8.40) และ 4.กลวิธีทางภาษาแบบประชดประชัน (คิดเป็นร้อยละ 3.28) เมื่อพิจารณาเปรียบเทียบกลวิธีทางภาษาที่ผู้พูดภาษาไทยใช้แสดงความเห็นแย้งในปริจเฉทการสนทนา 2 ชนิด พบว่า กลวิธีทางภาษาที่ผู้พูดภาษาไทยใช้แสดงความเห็นแย้งในบทสนทนาแบบแสดงความคิดเห็นมีความหลากหลายกว่าในบทสนทนาแบบเน้นภารกิจ ทำให้เห็นว่าชนิดของปริจเฉทการสนทนามีผลต่อการเลือกใช้กลวิธีทางภาษาในการแสดงความเห็นแย้ง ผลการศึกษาข้อคำนึงที่เป็นเหตุจูงใจที่ผู้พูดภาษาไทยคำนึงถึงในการแสดงความเห็นแย้งพบว่า ข้อคำนึงที่เป็นเหตุจูงใจที่ผู้พูดภาษาไทยคำนึงถึงในการแสดงความเห็นแย้งมี 2 ส่วน คือ 1.ข้อคำนึงที่เป็นเหตุจูงใจในส่วนที่เป็นวัตถุประสงค์ของการสนทนา และ 2.ข้อคำนึงที่เป็นเหตุจูงใจในส่วนที่เป็นปริบทของการสนทนา การรักษาความสัมพันธ์ของคู่สนทนาเป็นข้อคำนึงที่ผู้พูดภาษาไทยส่วนใหญ่คำนึงถึงมากที่สุดในการแสดงความเห็นแย้ง การที่ผู้พูดภาษาไทยส่วนใหญ่เลือกใช้กลวิธีทางภาษาแบบลดน้ำหนักความรุนแรงในการแสดงความเห็นแย้งเพื่อรักษาความสัมพันธ์ของคู่สนทนามากกว่าการเลือกใช้กลวิธีทางภาษาที่ทำให้คู่สนทนาเข้าใจการแสดงความเห็นแย้งอย่างตรงไปตรงมาสะท้อนให้เห็นว่าคนไทยมีลักษณะถ้อยทีถ้อยอาศัยและประนีประนอม อีกทั้งไม่ชอบความขัดแย้งและการเผชิญหน้า รวมไปถึงยังให้ความสำคัญกับความเกรงใจและความถ่อมตนต่อคู่สนทนา พฤติกรรมทางภาษาดังกล่าวมีความสัมพันธ์กับปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรมเรื่องการมีมุมมองตัวตนแบบพึ่งพา(an interdependent view of self) ความเป็นสังคมแบบอิงกลุ่ม(collectivism) ความเป็นสังคมแบบไมตรีสัมพันธ์ (affiliative society) ความเป็นสังคมแบบให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ระหว่างบุคคล (interpersonal orientation) และความเป็นวัฒนธรรมปริบทสูง (High context culture ) ซึ่งปัจจัยทางสังคมวัฒนธรรมส่วนใหญ่เหล่านี้มักได้รับอิทธิพลมาจากแนวคิดในพระพุทธศาสนา | en_US |
dc.description.abstractalternative | This research aims to study linguistic devices that Thai speakers adopted to express disagreement in conversational discourse, to compare linguistic devices adopted to express disagreement in two types of conversations including task-based conversation and argumentative conversation, as well as to study native speakers’ motivational concerns while performing the act. The data were elicited from two types of naturally occurring conversation including task-based conversation and argumentative conversation. The data used in the study of native speaker’s motivational concern were taken from questionnaires and in-depth interviews with thirty Thai speakers. The viewpoints from native speaker were also discussed in relation to socio-cultural factors proposed by anthropologists and sociologists. The results indicate that Thai speakers adopted totally twenty-one linguistic devices to express disagreement which can be divided into four main categories – 1) using mitigating devices (56.47%) 2) using persuasive devices (31.81%) 3) using bold-on-record devices (8.40%) and 4) using sarcastic remarks (3.28%) When comparing the linguistic devices used in the two types of discourse, it is found that the linguistic devices adopted in argumentative conversation are more various than those found in task-based conversation. This indicates that the genre of discourse has some influence upon the strategy selection. An analysis of native speaker’s motivational concerns reveals that there are two types of motivational concerns – 1) motivational concerns relating to the purposes of conversation 2) motivational concerns relating to the contexts of conversation. It is found that Thai speakers place a priority on keeping relationship with the interlocutor. This concern appears to be a significant feature in Thai conversation. Using mitigating devices more frequently than bold-on-record devices reflects that Thai people place high value upon the concept of interdependency, compromise, conflict avoidance, the Thai concept of Kreng-jai ‘awareness of social standing, consideration for others’ benefits and self-denial’ and modesty. This linguistic behavior might be motivated by some concepts that deeply rooted in Thai culture. That is, an interdependent view of self, collectivism, affiliative society, interpersonal orientation, and being high context culture. Some of these concepts might be influenced by the concept of Buddhism. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.957 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | ภาษาไทย -- บทสนทนาและวลี | - |
dc.subject | ภาษาไทย -- วจนะวิเคราะห์ | - |
dc.subject | ความเห็นแย้ง | - |
dc.subject | Thai language -- Conversation and phrase books | - |
dc.subject | Thai language -- Discourse analysis | - |
dc.subject | Dissenting opinions | - |
dc.title | การแสดงความเห็นแย้งในปริจเฉทการสนทนาในภาษาไทยและข้อคำนึงที่เป็นเหตุจูงใจ | en_US |
dc.title.alternative | Disagreement in Thai conversational discourse and native speakers' motivational concerns | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.degree.discipline | ภาษาไทย | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Natthaporn.P@Chula.ac.th,ntp1142@hotmail.com | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2015.957 | - |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5480525022.pdf | 5.7 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.