Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50736
Title: ผลของโปรแกรมการสอนแนะผู้ดูแลต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวัน ของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองวัยผู้ใหญ่
Other Titles: The effect of caregivers coaching program on activities of daily living in adult stroke patients
Authors: พัชราภรณ์ สิรินธรานนท์
Advisors: ชนกพร จิตปัญญา
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์
Advisor's Email: Chanokporn.J@Chula.ac.th,jchanokp@hotmail.com
Subjects: โรคหลอดเลือดสมอง -- ผู้ป่วย
การสอนแนะส่วนบุคคล
Personal coaching
Cerebrovascular disease -- Patients
Personal coaching
Caregivers
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของโปรแกรมการสอนแนะผู้ดูแลต่อความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองวัยผู้ใหญ่ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองทั้งเพศชายและเพศหญิงที่มีอายุ 18-59 ปี จำนวน 40 คน ที่เข้ารับการรักษาในหอผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรงพยาบาลรามาธิบดี คัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง แบ่งเป็นกลุ่มควบคุมและกลุ่มทดลอง กลุ่มละ 20 คน กลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ กลุ่มทดลองได้รับโปรแกรมการสอนแนะ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลคือ โปรแกรมการสอนแนะ แบบประเมินความสามารถของผู้ดูแลในการดูแลการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง แบบประเมินความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง แบบสอบถาม 2 ฉบับมีค่าความตรงตามเนื้อหาเท่ากับ 1.00 และได้ค่าความเที่ยงด้วยวิธีหาค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค (Cronbach’s alpha coefficient) เท่ากับ .81, .76 ตามลำดับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติทดสอบค่าที ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองวัยผู้ใหญ่ภายหลังผู้ดูแลได้รับโปรแกรมการสอนแนะมากกว่าก่อนได้รับโปรแกรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ความสามารถในการปฏิบัติกิจวัตรประจำวันของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมองวัยผู้ใหญ่ภายหลังผู้ดูแลได้รับโปรแกรมการสอนแนะมากกว่ากลุ่มผู้ดูแลที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: This quasi-experimental research aimed to investigate the effect of caregivers coaching program on activities of daily living in adult stroke patients. Males and females aged 18-59 years admitted to the acute stroke unit at Ramathibodi Hospital were recruited in this study. Participants were selected by a purposive sampling. They were divided into the control (n=20) and the intervention groups (n=20). The control group received usual nursing care while the intervention group received coaching program. The instruments composed of demographic information form (Caregivers and Patients), Coaching Program, an Evaluation of Caregivers Ability and a Barthel Index. The content validity index (CVI) of these questionares were 1.00 and reliabilities of Cronbach’s alpha coefficient of these questionares were .81, .76. Descriptive statistics and t-test were used to analyze data. The results revealed that 1. The mean scores of ADL of stroke patients post caregivers receiving coaching program was higher than that of before the coaching program. 2. The mean scores of ADL of stroke patients in the intervention group was higher than that of the control group.
Description: วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: พยาบาลศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50736
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.762
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.762
Type: Thesis
Appears in Collections:Nurse - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5577221036.pdf16.17 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.