Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50744
Title: | อิทธิพลของการเหยียดเพศแบบแยกขั้วต่อการกระทำเพื่อกลุ่มโดยมีการรับรู้ความยุติธรรมระหว่างเพศและการรับรู้ข้อได้เปรียบของการเป็นผู้หญิงเป็นตัวแปรส่งผ่าน |
Other Titles: | Effects of ambivalent sexism on collective action : mediating roles of gender specific system justification and perceived advantages of being a woman |
Authors: | ธารวิมล ดิษฐรักษ์ |
Advisors: | คัคนางค์ มณีศรี |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะจิตวิทยา |
Advisor's Email: | Kakanang.M@Chula.ac.th,Kakanang.M@chula.ac.th |
Subjects: | การเลือกปฏิบัติทางเพศ ลัทธิกีดกันทางเพศ จิตวิทยาทางเพศ Sex discrimination Sexism Sex (Psychology) |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอิทธิพลของการเหยียดเพศแบบแยกขั้วต่อการกระทำเพื่อกลุ่ม โดยมีการรับรู้ความยุติธรรมระหว่างเพศและการรับรู้ข้อได้เปรียบของการเป็นผู้หญิงเป็นตัวแปรส่งผ่าน ผู้ร่วมการวิจัยเป็นนิสิตหญิง ระดับปริญญาตรี อายุ 18-22 ปี จำนวน 188 คน โดยผู้ร่วมการวิจัยได้รับการสุ่มเข้าสู่หนึ่งในเงื่อนไขการทดลองทั้งสามเงื่อนไข ได้แก่ เงื่อนไขการเหยียดเพศแบบเป็นปฏิปักษ์ เงื่อนไขการเหยียดเพศแบบให้คุณ และเงื่อนไขควบคุม ผู้ร่วมการวิจัยอ่านข้อความที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการเหยียดเพศแบบเป็นปฏิปักษ์ การเหยียดเพศแบบให้คุณ หรือเจตคติเกี่ยวกับเรื่องทั่วไปตามเงื่อนไขการทดลองของตน จากนั้นตอบแบบสอบถามการรับรู้ความยุติธรรมระหว่างเพศและแบบสอบถามการรับรู้ข้อได้เปรียบของการเป็นผู้หญิง ในตอนท้ายผู้วิจัยขอให้ผู้ร่วมการวิจัยลงชื่อขอรับใบปลิวที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับการรณรงค์ให้เกิดความเท่าเทียมกันระหว่างชายหญิงไปแจกจ่ายให้ผู้อื่นต่อตามความสมัครใจเพื่อเป็นการวัดพฤติกรรมการกระทำเพื่อกลุ่ม ผลการวิเคราะห์อิทธิพล พบว่า ทั้งการรับรู้ความยุติธรรมระหว่างเพศและการรับรู้ข้อได้เปรียบของการเป็นผู้หญิงไม่ใช่ตัวแปรส่งผ่านความสัมพันธ์ระหว่างการเผชิญกับการเหยียดเพศแบบแยกขั้วและการกระทำเพื่อกลุ่ม มีเพียงการรับรู้ความยุติธรรมระหว่างเพศเท่านั้นที่มีอิทธิพลทางตรงต่อการกระทำเพื่อกลุ่มในเงื่อนไขการเผชิญกับการเหยียดเพศแบบเป็นปฏิปักษ์ |
Other Abstract: | The purpose of this study was to examine the mediating roles of gender-specific system justification and perceived advantages of being a woman in the association between ambivalent sexism and collective action. Participants were 188 female undergraduate students with the age ranged from 18-22 years old who were randomly assigned to one of the three conditions: hostile sexism, benevolent sexism, or control. Participants read the message containing either 1) hostile sexism, 2) benevolent sexism, or 3) gender-unrelated contents and then completed gender-specific system justification questionnaire and perceived advantages of being a woman questionnaire. Finally, they were asked to indicate the amount of flyers about gender equality campaign they volunteered to distribute as a measure of collective action. Path analysis showed that neither gender-specific system justification nor perceived advantage of being a woman mediated the relationship between ambivalent sexism and collective action. Only gender-specific system justification had the direct effect on collective action in the hostile sexism condition. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | จิตวิทยา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50744 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.813 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.813 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Psy - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5577611038.pdf | 2.4 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.