Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50754
Title: | มโนทัศน์การกีดกันในวาทกรรมความบ้าของมิเชล ฟูโกต์ |
Other Titles: | NOTION OF EXCLUSION IN MICHEL FOUCAULT’S DISCOURSE ON MADNESS |
Authors: | คีตา บุณยพานิช |
Advisors: | เกษม เพ็ญภินันท์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะอักษรศาสตร์ |
Advisor's Email: | Kasem.P@Chula.ac.th,monsieurkasem@yahoo.com,Kasem.P@chula.ac.th |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | งานวิจัยนี้ต้องการศึกษาประเด็นเรื่องความบ้า ในมโนทัศน์การกีดกันในวาทกรรมความบ้าของมิเชล ฟูโกต์ อันเป็นประเด็นสำคัญของหนังสือ Folie et Déraison : Histoire de la folie à l’âge classique ที่ฟูโกต์ ได้ศึกษาปัญหาของความบ้าหรือความไร้เหตุผลในประวัติศาสตร์แต่ละยุคสมัย ที่มีการกีดกันความบ้าออกไปจากระบบเหตุผล ด้วยเครื่องมือที่เรียกว่าวาทกรรม ซึ่งแบ่งแยกและทำให้ความบ้าหายไปจากระบบความคิดของมนุษย์และสังคม จนกลายเป็นความเงียบ จากการศึกษา ผู้วิจัยพบว่าความบ้ามีสถานะที่แตกต่างกันในแต่ละยุคสมัย นำไปสู่การให้คำนิยามถึงความบ้าในแต่ละช่วงเวลาด้วยวาทกรรมที่แตกต่างกัน จนส่งผลให้ความบ้ามีสถานะเป็นสิ่งที่ถูกกีดกัน แบ่งแยกให้กลายเป็นขั้วตรงข้ามของระบบเหตุผล และถูกลบเลือนออกไปจากพื้นที่ทางประวัติศาสตร์และกรอบความคิดของมนุษย์ในที่สุด ผู้วิจัยชี้ให้เห็นว่าการศึกษาความบ้าในฐานะความแตกต่างมีความสำคัญที่ทำให้เรามองเห็นความแตกต่างของสถานะของความบ้าในแต่ละช่วงเวลาของประวัติศาสตร์ และนำไปสู่การขีดเส้นแบ่งระหว่างความปรกติและความไม่ปรกติ ซึ่งฟูโกต์เสนอให้ตั้งคำถามเพื่อวิพากษ์ระบบเหตุผลและแนวคิดของเรอเน เดส์การ์ตส์ เนื่องจากแนวคิดในระบบเหตุผลนิยมมีอิทธิพลในการสร้างรูปแบบของการกีดกันความบ้าด้วยการครอบงำความคิดของมนุษย์ ซึ่งการวิพากษ์นี้เป็นการยืนยันข้อเสนอของฟูโกต์ในประเด็นเรื่องประวัติศาสตร์ของความแตกต่าง และข้อเสนอนั้นเองแสดงให้เห็นถึงการขีดเส้นแบ่งระหว่างความปรกติและความไม่ปรกติที่นำไปสู่การกีดกันแบ่งแยกความบ้าจากระบบเหตุผลได้ชัดเจนมากยิ่งขึ้น |
Other Abstract: | This thesis attempts to examine the notion of exclusion Michel Foucault’s Folie et Déraison : Histoire de la folie à l’âge classiqueault. It explores this notion through discourses on madness. It also emphasizes Foucault’s critique of Cartesian subject. The latter sets forth the order of reason to determine the distinction between reason and madness, and yet, between normalcy and the pathology. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (อ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | อักษรศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | ปรัชญา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50754 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Arts - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5580122922.pdf | 1.33 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.