Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50764
Title: นโยบายของไทยต่อการอพยพของชาวจีนระลอกใหม่ : ศึกษากรณีอำเภอแม่สาย เชียงแสน และเชียงของ จังหวัดเชียงราย
Other Titles: THAILAND'S POLICY TOWARDS THE NEW WAVE OF CHINESE MIGRATION: A CASE STUDY OF MAE SAI, CHIANG SAEN AND CHIANG KHONG DISTRICTS IN CHIANG RAI PROVINCE
Authors: อมร ฟ้ามุ่ย
Advisors: วีระ สมบูรณ์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะรัฐศาสตร์
Advisor's Email: Vira.So@Chula.ac.th,Vira.So@Chula.ac.th
Subjects: มนุษย์ -- การย้ายถิ่น
ชาวจีน -- การย้ายถิ่น
ชาวจีน -- ไทย
Human beings -- Migrations
Chinese -- Migrations
Chinese -- Thailand
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วิทยานิพนธ์เรื่องนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อศึกษาถึงปรากฏการณ์การเคลื่อนย้ายของชาวจีนอพยพระลอกใหม่ในประเทศไทย รวมถึงการจัดการของรัฐไทยต่อการเคลื่อนย้ายเข้ามาของชาวจีนอพยพระลอกใหม่ และเหตุปัจจัยที่ส่งผลต่อการดำเนินการของรัฐไทยต่อชาวจีนระลอกใหม่ในพื้นที่ อำเภอแม่สาย เชียงแสน และเชียงของในจังหวัดเชียงราย โดยใช้วิธีวิจัยเชิงคุณภาพ ผ่านการศึกษาวิเคราะห์เอกสาร และรวมรวมข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึกจากเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน จากนั้นจึงวิเคราะห์ผ่านกรอบแนวคิดการพึ่งพาซึ่งกันและกันอย่างซับซ้อน (Complex Interdependence) ของ Robert Keohane และ Joseph Nye ผลการวิจัยพบว่า นับตั้งแต่ปี 2000 ที่ประเทศจีนมีนโยบายก้าวออกไป (Going Global) ส่งผลเป็นปัจจัยเร่งให้คลื่นการอพยพระลอกที่ 4 ของชาวจีน หรือชาวจีนอพยพระลอกใหม่ (New Chinese Migration) ซึ่งเริ่มปรากฏในช่วงที่จีนเริ่มเปิดประเทศได้เพิ่มทวีจำนวนมากขึ้น ชาวจีนอพยพระลอกใหม่ได้ไหลเลื่อนออกไปทั่วโลก รวมถึงในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และประเทศไทยด้วย ชาวจีนอพยพระลอกใหม่ที่ไหลเลื่อนเข้ามาในประเทศไทยโดยมากจะเป็นนักธุรกิจ และผู้ประกอบการทั้งรายใหญ่จนถึงรายย่อย ในพื้นที่อำเภอแม่สาย เชียงแสน และเชียงของในจังหวัดเชียงรายที่เป็นเสมือนประตูหน้าด่านชายแดนที่ใกล้ชิดกับจีน พบว่ามีชาวจีนอพยพระลอกใหม่เคลื่อนย้ายเข้ามาประกอบธุรกิจหลากหลาย เช่น เช่าแผงค้าเพื่อขายสินค้าจากจีน เป็นผู้ประกอบการโลจิสติกส์ นำเข้า-ส่งออกสินค้าระหว่างไทย-จีน ธุรกิจด้านการเกษตรโดยตั้งโรงคัดบรรจุผลไม้ (ล้ง) เพื่อรับซื้อผลไม้ไทยไปขายในจีน รวมถึงทำธุรกิจด้านการท่องเที่ยวโดยเป็นผู้ประกอบการนำเที่ยวและเป็นมัคคุเทศก์เถื่อน ในส่วนของการจัดการของภาครัฐ ไม่ได้มีท่าที่สนับสนุนชาวจีนอย่างชัดเจน แต่ก็ไม่ได้มีท่าทีต่อต้านชาวจีนอพยพระลอกใหม่ โดยภาคส่วนราชการจะให้อิสระแก่การดำเนินธุรกิจของชาวจีน และในส่วนที่เป็นปัญหา เช่น ธุรกิจนำเที่ยวและมัคคุเทศก์เถื่อน หรือโรงคัดบรรจุผลไม้ของชาวจีนที่ส่งผลกระทบกับภาคธุรกิจไทยก็จะดำเนินการสอดส่องดูแลเป็นกรณีไป โดยไม่ได้บังคับใช้กฎหมายอย่างเข้มงวดรุนแรง ซึ่งปัจจัยที่ทำให้รัฐดำเนินการต่อชาวจีนเช่นนี้ เนื่องจากการพึ่งพาซึ่งกันระหว่างไทยกับจีนเป็นไปอย่างใกล้ชิด ทั้งในด้านการค้า การลงทุน และการท่องเที่ยว รวมถึงกรอบความร่วมมือและพัฒนาระหว่างประเทศ เช่น GMS ASEAN-China FTA และ Thai-China FTA ในลักษณะที่ไทยพึ่งพาซึ่งกันและกันต่อจีนมากกว่า รวมถึงการที่ชาวจีนอพยพระลอกใหม่เป็นเสมือนตัวกลาง (Middleman) ที่เชื่อมต่อไทยและจีนทางเศรษฐกิจ ซึ่งเป็นช่องทางหนึ่งที่อำนวยให้การไหลเวียนของทุนและสินค้าระหว่างกันเป็นไปได้สะดวกมากขึ้น ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับชาวจีนโพ้นทะเลในอดีตแล้วพบว่ามีความแตกต่างและเหมือนกันในหลายประเด็น โดยเฉพาะในทางเศรษฐกิจที่ชาวจีนทั้งสองยุคมีความเป็นตัวกลางคล้ายคลึงกัน
Other Abstract: This thesis studies the new wave of Chinese migration in Thailand as a phenomenon and Thai government’s way of coping with it. The research also looked into the factors that influence the government’s policy made towards the new Chinese immigrant in Mae Sai, Chiang Saen and Chiang Khong districts in Chiang Rai. The study was conducted through qualitative research method by study documents and data collected through in-depth interview with government officers. All the data was analyzed with Robert Keohane and Joseph Nye’s Complex Interdependence Theory. The research found that since 2000, the Chinese migrants had begun to flow out to the world including Thailand and ASEAN Countries. The year also marked Chinese’s ‘Going Global’ policy; a factor in ushering the forth wave of Chinese migration, also called New Chinese Migration. Most of the new Chinese migrants were businessmen and entrepreneurs. In Mae Sai, Chiang Saen and Chiang Khong districts in Chiang Rai, a so-called border gate to China, they operates many business. The types of businesses include Chinese products vendors, logistics provider between Thailand and China, Fruit packaging warehouse (called lonk) buying fruits in Thailand and selling them in China, and tourism such as travel agencies and unauthorized guides. The state policy is neutral toward the new wave of Chinese migrants. They gave the Chinese freedom to operate businesses and deal with problematic business practices such as Chinese tourist agencies, unauthorized guides, and fruit packaging warehouse which directly affect Thai business on a case-by-case basis. One of the reasons for such attitude is the strong mutually beneficial relationship between Thailand and China in trading, investment, and tourism. The relationship also extended to the international cooperation and development frameworks such as GMS, ASEAN-China FTA, and Thai-China FTA. Moreover, the Chinese migrants play the role of economic middlemen; who act as another passage facilitating the flow of capital and goods. Compare to the overseas Chinese in the past, there are many differences and similarities particularly in terms of their role in the economy; both old and new Chinese immigrants play the roles of middlemen.
Description: วิทยานิพนธ์ (ร.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: รัฐศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50764
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.806
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.806
Type: Thesis
Appears in Collections:Pol - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5580639024.pdf4.06 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.