Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50775
Title: กระบวนการเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนของนักศึกษาปฏิบัติการวิชาชีพครูตามแนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ: การวิจัยกรณีศึกษา
Other Titles: PROCESS FOR ENHANCING PRE-SERVICE TEACHERS’ ABILITY IN DESIGNING INSTRUCTION BASED ON PROFESSIONAL LEARNING COMMUNITY APPROACH:A CASE STUDY RESEARCH
Authors: เรวณี ชัยเชาวรัตน์
Advisors: ชาริณี ตรีวรัญญู
อัมพร ม้าคนอง
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Charinee.T@Chula.ac.th,charinee.t@hotmail.com
Aumporn.M@Chula.ac.th
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ มีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอกระบวนการเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนของนักศึกษาปฏิบัติการวิชาชีพครูตามแนวคิดชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ และศึกษาความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนของนักศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไปเมื่อเข้าร่วมกระบวนการ การดำเนินการวิจัยมี 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ศึกษาก่อนลงสนาม เพื่อกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย และพัฒนากระบวนการฉบับร่าง ระยะที่ 2 ศึกษาภาคสนาม โดยดำเนินงานตามกระบวนการฉบับร่างในการฝึกปฏิบัติการวิชาชีพครูของนักศึกษา 11 คน ภายในโรงเรียนประถมศึกษา 4 แห่ง รวมถึงเก็บรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูลเพื่อปรับปรุงแก้ไขกระบวนการฉบับร่าง ซึ่งมีระยะเวลาประมาณ 1 ปีการศึกษา และระยะที่ 3 สรุปผลการศึกษาภาคสนาม และปรับปรุงแก้ไขกระบวนการตามข้อเสนอแนะของผู้ทรงคุณวุฒิ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. กระบวนการที่นำเสนอนี้เป็นกระบวนการที่ช่วยเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนบนพื้นฐานของการแก้ไขปัญหาในการออกแบบการเรียนการสอนของนักศึกษา ผ่านการรวมตัวเป็นสมาชิกชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพของนักศึกษา ครูพี่เลี้ยงและอาจารย์นิเทศก์ โดยการดำเนินการมี 3 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การเตรียมความพร้อมและสนับสนุนให้เกิดโครงสร้างการดำเนินการเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนของนักศึกษาปฏิบัติการวิชาชีพครู ขั้นตอนที่ 2 การดำเนินการเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนของนักศึกษาปฏิบัติการวิชาชีพครูผ่านวงจรแก้ปัญหา ซึ่งประกอบด้วย 2 ระยะ มี 5 ขั้นตอนย่อย ได้แก่ ระยะที่ 1 ระยะระบุปัญหา ประกอบด้วย 2 ขั้นตอนย่อย คือ (1) สร้างกลุ่มชุมชน และ (2) ค้นพบปัญหา และระยะที่ 2 ระยะวงจรแก้ปัญหา ประกอบด้วย 3 ขั้นตอนย่อย คือ (1) ริเริ่มพัฒนาตน (2) ฝึกฝนออกแบบการเรียนการสอน และ (3) ดำเนินการจัดการเรียนการสอน และขั้นตอนที่ 3 การสร้างกลไกขับเคลื่อนการเสริมสร้างความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนของนักศึกษาปฏิบัติการวิชาชีพครู เพื่อให้สามารถดำเนินการได้อย่างต่อเนื่องในระยะยาว 2. การเข้าร่วมกระบวนการทำให้นักศึกษาปฏิบัติการวิชาชีพครูมีความสามารถในการออกแบบการเรียนการสอนเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม โดยนักศึกษาที่เป็นกรณีศึกษาทุกคนสามารถแก้ไขปัญหาในการออกแบบการเรียนการสอนของตนเองได้ทุกปัญหา ภายในวงจรแก้ปัญหารอบที่ 3
Other Abstract: This study relied on qualitative methodology. The purposes were to propose the process for enhancing pre-service teachers’ ability in designing instruction based on Professional Learning Community (PLC) approach and to study the pre-service teachers’ ability in designing instruction when they were participating in the process. The research was divided into 3 phases: Phase I was the previous field study, in which the process was developed conceptual framework for research and the draft of the process for enhancing pre-service teachers’ ability in designing instruction. Phase II was the field study, in which the process for one academic year, and collected data from 11 case studies of pre-service teachers in 4 profession schools for developing the draft of the process, and Phase III was the field study's conclusion, in which improve the completed process upon the recommendation of experts. The research results were as follows: 1. The process was proposed is a process which enhances the ability in designing instruction of pre-service teachers based on the solution of the instructional design problems for each case through a collaboration of PLC members; pre-service teachers, mentors and supervisors. The process consisted of 3 major steps: the 1st step is the preparation and supporting the structure of process, the 2nd step is the enhancing pre-service teachers’ ability in designing instruction through cycle of problems solving; which include 5 steps; divided into two stages: the first is identifying a pre-service teachers’ instructional design problems, which was conducted in Step I: Community Building and Step II: Problem Identification, and the second is a cycle of problems solving, which was conducted in Step III: Planning for self-improving in Designing, Step IV: Practicing in designing instruction, and Step V: Applying Instruction, and the 3rd step of the process is the setting of Self-Actuation for performing consistently over the long term. 2. Pre-service teachers who participated in the process has the ability in designing instruction differs from their former ability, all of their problems in designing instruction have been resolved within the 3rd cycle of problems solving.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: หลักสูตรและการสอน
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50775
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5584255427.pdf8.2 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.