Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50776
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | วรรณี แกมเกตุ | en_US |
dc.contributor.advisor | สังวรณ์ งัดกระโทก | en_US |
dc.contributor.author | สุรศักดิ์ เก้าเอี้ยน | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2016-12-02T02:03:49Z | - |
dc.date.available | 2016-12-02T02:03:49Z | - |
dc.date.issued | 2558 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50776 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการของครูด้านความยึดมั่นผูกพันกับการวิจัย และศึกษาอิทธิพลของปัจจัยด้านความสามารถในการวิจัย ปัจจัยด้านแรงจูงใจ และปัจจัยด้านกระบวนการสนับสนุนจากโรงเรียน ที่มีต่อความยึดมั่นผูกพันกับการวิจัยของครู รวมถึงวิเคราะห์เงื่อนไขที่เหมาะสมของความยึดมั่นผูกพันกับการวิจัยของครู และศึกษาแนวทาง ในการส่งเสริมความยึดมั่นผูกพันกับการวิจัยของครู การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยแบบผสมวิธีโดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ แต่ละระยะเก็บข้อมูลกับครูระดับชั้นมัธยมศึกษาในโรงเรียนสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน การวิจัยระยะที่ 1 ประกอบด้วยตัวอย่างจำนวน 851 คน โดยใช้แบบสอบถามสภาพปัญหาและความต้องการในการวิจัยของครู และการสนทนากลุ่ม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์โมเดลพื้นผิวการตอบสนอง และการวิเคราะห์เนื้อหา ส่วนการวิจัยระยะที่ 2 ประกอบด้วยตัวอย่างจำนวน 326 คน เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามความคิดเห็นต่อแนวทางการส่งเสริมความยึดมั่นผูกพันกับการวิจัยของครู และวิเคราะห์ข้อมูลด้วยการวิเคราะห์คอนจอยท์ ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. สภาพปัญหาด้านการยึดมั่นผูกพันกับการวิจัยของครูที่มีความสำคัญ 3 อันดับแรกคือ ครูไม่มีเวลาในการทำวิจัย ไม่มีที่ปรึกษาในการทำวิจัย และขาดแคลนงบประมาณและวัสดุอุปกรณ์ในการทำวิจัยอย่างเพียงพอ ในขณะที่ความต้องการของครูด้าน ความยึดมั่นผูกพันกับการวิจัยที่มีความสำคัญ 3 อันดับแรก ประกอบด้วยการสนับสนุนด้านงบประมาณการทำวิจัย ด้านคำปรึกษาหรือคำแนะนำ และด้านเวลาในการทำวิจัย 2. ผลการวิเคราะห์อิทธิพลของปัจจัยที่ส่งผลต่อความยึดมั่นผูกพันกับการวิจัยของครูพบว่า ความสามารถใน การวิจัยของครู และแรงจูงใจในการทำวิจัยมีอิทธิพลแบบเชิงเส้นต่อความยึดมั่นผูกพันกับการวิจัยของครู ในขณะที่กระบวนการสนับสนุนจากโรงเรียนมีอิทธิพลแบบโค้งพหุนามดีกรี 2 ต่อความยึดมั่นผูกพันกับการวิจัยของครูอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ลักษณะอิทธิพลดังกล่าวนำไปสู่การวิเคราะห์เงื่อนไขที่เหมาะสมของความยึดมั่นผูกพันกับการวิจัยของครูพบว่า ระดับการสนับสนุนจากโรงเรียนแตกต่างกันไปตามระดับความสามารถในการวิจัยและแรงจูงใจในการทำวิจัยของครู 3. แนวทางการสนับสนุนการทำวิจัยของครูที่ครูพึงประสงค์จากการวิเคราะห์คอนจอยท์คือ การกำหนดให้โรงเรียนมีงบประมาณสนับสนุนในการทำวิจัยของครูรายบุคคล มีเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับครูที่จัดโดยสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และลดภาระงานส่วนกลาง ภาระการประเมินต่างๆ และงานบริหารของครูลง โดยจัดให้มีผู้รับผิดชอบงานเหล่านี้โดยตรง ส่วนการส่งเสริมด้านการจัดฝึกอบรมเพื่อเสริมความสามารถในการทำวิจัยของครู ครูต้องการหลักสูตรการอบรมแบบระยะสั้น เน้นการฝึกปฏิบัติการเขียนงานวิจัยและการวิเคราะห์ข้อมูล มีการนิเทศติดตามแบบรายกลุ่มหรือรายบุคคล โดยจัดการอบรมตามแนวทางการจัดทำรายงานผลการวิจัยแบบ 5 บท ทั้งนี้ภายหลังจากการตรวจสอบยืนยันรายละเอียดของแนวทางดังกล่าวจากผู้ทรงคุณวุฒิโดยการสนทนากลุ่มสามารถสรุปแนวทางการส่งเสริมความยึดมั่นผูกพันกับการวิจัยของครูได้เป็นโมเดล 3PM ประกอบด้วยแนวทางการสนับสนุนแบ่งเป็น 4 ระยะ คือ 1) ระยะประเมินตนเอง 2) ระยะเตรียมพร้อม 3) ระยะลงมือทำ และ 4) ระยะติดตาม และจำแนกครูออกเป็น 4 กลุ่มตามระดับความสามารถและแรงจูงใจในการทำวิจัย โดยแต่ละกลุ่มมีรายละเอียดในการส่งเสริมความยึดมั่นผูกพันกับการวิจัยของครูแตกต่างกันไปตามเงื่อนไขด้านความสามารถและแรงจูงใจในการทำวิจัยของกลุ่ม | en_US |
dc.description.abstractalternative | This study aimed to explore the problems and wants of teachers' research engagement, to study the effect of research competence, research motivation, and school support on teachers' research engagement, to analyze the optimum conditions for enhancing teachers' research engagement, and to study the guideline for enhancing teachers' research engagement. This survey research was mixed-method design which was divided into 2 phases. The secondary public school teachers were samples in each phase. In phase I, 851 questionnaires for exploring the problem states and wants of teacher research engagement were sent back and analyzed by using response surface modeling; in addition, some teachers were recruited into focus group discussion which content analysis was used for qualitative data analysis. While 326 questionnaires of teacher’s opinion of the guideline for enhancing teachers' research engagement were sent back in phase II and were analyzed by using conjoint analysis. The research results were as follows: 1. The most 3 important problems of teachers' research engagement were time lacking for research, insufficient of research coaching, and lacking of research support in budget and tools. Whilst, the most 3 important wants of teachers’ research engagement consisted of research budget support, research coaching support and time to research. 2. The linear effects of research competence and motivation were found on teachers' research engagement in this study; whilst, school support significantly affected on it in only quadratic term at .05 level. These findings led to the optimum condition analysis for enhancing teachers' research engagement. The results revealed that the suitable level of school support was different among groups of teachers who differed in their research competence and motivation level. 3. According to conjoint analysis results, the desirable guideline for supporting the teacher research consisted of research supporting budget for individual teacher in schools, organizing of the sharing opportunity for teacher by the secondary educational service area, and reducing teachers' workload on official workload, school assessments, or management tasks by assigning to the responsible school officers. Moreover, a desirable guideline of research training to enhance the teachers' research competence consisted of a short-term training curriculum, focusing on research analysis and writing practices, coaching and mentoring in either face to face or small group, and enabling teachers' practices on writing research report academically 5 chapters. After confirming these results by focus group interview among experts, a guideline for enhancing teachers' research engagement called ‘3PM model’ was designed. The details consisted of 4 phases of support: 1) self-evaluation of placement phase, 2) readiness preparation phase, 3) action phase, and 4) follow-up phase. Based upon this model, teachers would be classified to 4 groups by their research competence and research motivation. The support details in each phase were different by the conditions of teachers' research competence and motivation in each group. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1156 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การศึกษา -- วิจัย | - |
dc.subject | การวิเคราะห์คอนจอยท์ | - |
dc.subject | Education -- Research | - |
dc.subject | Conjoint analysis (Marketing) | - |
dc.title | การวิเคราะห์เงื่อนไขที่เหมาะสมและแนวทางเพื่อส่งเสริมความยึดมั่นผูกพันกับการวิจัยของครูด้วยโมเดลพื้นผิวการตอบสนอง และการวิเคราะห์คอนจอยท์ | en_US |
dc.title.alternative | Analysis of optimum conditions and guidelines for enhancing teachers' research engagement with response surface modeling and conjoint analysis | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาเอก | en_US |
dc.degree.discipline | วิธีวิทยาการวิจัยการศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Wannee.K@Chula.ac.th,wannee.k@gmail.com | en_US |
dc.email.advisor | Sungworn@hotmail.com | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2015.1156 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5584272027.pdf | 15.81 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.