Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50787
Title: การแสดงเจตนาล่วงหน้าในการจัดตั้งผู้มีอำนาจจัดการทรัพย์สินและดูแลบุคคล: ศึกษาเฉพาะกรณีบุคคลวิกลจริตและจิตฟั่นเฟือน
Other Titles: The lasting power of attorney to manage property and welfare : study on a person of unsound mind and mental infirmity
Authors: กิตธิ นาคะนิธิ
Advisors: อังคณาวดี ปิ่นแก้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Angkanawadee.S@Chula.ac.th,angkanawadee@yahoo.com,angkanawadee@yahoo.com
Subjects: วิกลจริต (กฎหมาย)
ทรัพย์สินส่วนบุคคล -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
Insanity (Law)
Personal property -- Law and legislation
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ประเทศไทยไม่มีกฎหมายที่รับรองสิทธิบุคคลให้แสดงเจตนาล่วงหน้าตั้งคนมาดูแลตนในเวลาที่ผู้แสดงเจตนากลายเป็นบุคคลวิกลจริตหรือจิตฟั่นเฟือนในอนาคต หากทำเป็นหนังสือตั้งผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์เองล่วงหน้าก็ไม่มีผลบังคับตามกฎหมาย เป็นเพียงพยานหลักฐานชิ้นหนึ่งที่ศาลใช้พิจารณาเท่านั้น การกำหนดรายละเอียดไปว่าให้ผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์มีอำนาจหน้าที่แค่ไหนเพียงใด ก็เป็นการกำหนดที่ต่างต่างไปจากกฎหมายเกี่ยวกับความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชนตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 151 ไม่สามารถใช้บังคับได้ จะใช้วิธีตั้งตัวแทนมาดูแลแทนการตั้งผู้อนุบาลหรือผู้พิทักษ์ ก็มีปัญหาเพราะกฎหมายตัวแทนของไทยไม่คุ้มครองตัวการที่ไร้ความสามารถตามข้อยกเว้นในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์มาตรา 826 วรรค 2 ในต่างประเทศมีกฎหมายที่บัญญัติไว้โดยชัดแจ้งให้บุคคลมีสิทธิแสดงเจตนาล่วงหน้าตั้งผู้มาดูแลตนได้ในรูปแบบของการมอบอำนาจต่อเนื่อง ทรัสต์ หรือสัญญาตั้งผู้อนุบาลล่วงหน้า เช่นในประเทศอังกฤษ ญี่ปุ่นและฝรั่งเศส ซึ่งจะมีการคุ้มครองบุคคลวิกลจริตและจิตฟั่นเฟือนเป็นอย่างดี เพราะมีการตรวจสอบการทำงานของผู้รับมอบอำนาจต่อเนื่องหรือผู้อนุบาลตามสัญญาโดยศาลหรือเจ้าพนักงานของรัฐ ด้วยเหตุนี้ ประเทศไทยสมควรแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมาย ให้คุ้มครองบุคคลที่มอบอำนาจล่วงหน้าตั้งตัวแทนมาดูแลตน โดยนำกฎหมายของประเทศฝรั่งเศส อังกฤษ และญี่ปุ่น มาเป็นแนวทางในการปรับแก้กฎหมายไทย
Other Abstract: There is not the law that ensures right to advance decision to appoint person or persons who look after principal when he becomes the person of unsound mind or mental infirmity in the future. Making advance guardianship or curatorship contract is unenforceable. It is only evidence on trial. Specifying what power and obligation of guardian or curator are different from the law related to public order or good morals, so they are unenforceable according to the Civil and Commercial Code section 151. Making agency contract for looking after principal instead guardianship or curatorship has problems because Thai agency law does not protect incapacitated principal according to exception of the Civil and Commercial Code section 826 paragraph 2. Foreign countries laws were enacted expressly that a person has right to make the advance appointment of the person who look after principal in the form of durable power of attorney, trust or advance guardianship contract such as in England Japan and France. These laws in these countries protect a person of unsound mind and mental infirmity well because there are processes to examine working of durable power of attorney or voluntary guardian by court or authorities. Therefore, Thai law should be amended to protect a person who have durable attorney by adapting French Japanese and English law in order to amend Thai law.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50787
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.673
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.673
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5585957534.pdf4.27 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.