Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50790
Title: | การแสวงหาพยานหลักฐานในคดีอาญาโดยมิชอบโดยเอกชน |
Other Titles: | ILLEGALLY OBTAINED EVIDENCE BY PRIVATE |
Authors: | ช่อม่วง ม่วงทอง |
Advisors: | ปารีณา ศรีวนิชย์ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์ |
Advisor's Email: | Pareena.S@Chula.ac.th,pareena.lawchula@gmail.com |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | หลักการไม่รับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบถูกกำหนดขึ้นเพื่อคุ้มครองสิทธิเสรีภาพขั้นพื้นฐานของประชาชนจากการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบ ในประเทศต่างๆนำหลักการดังกล่าวมาปรับใช้เพื่อป้องกันการแสวงหาพยานหลักฐานโดยมิชอบของเจ้าหน้าที่รัฐเท่านั้น เมื่อพิจารณาประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา มาตรา ๒๒๖ จึงมีประเด็นพิจารณาว่ามาตรา ๒๒๖ ถูกนำมาปรับใช้กับพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบโดยเอกชนซึ่งมีบทบาทในการแสวงหาพยานหลักฐานในคดีอาญาด้วยเช่นกันหรือไม่ เนื่องจากประเด็นดังกล่าวไม่ถูกนำมาวินิจฉัยในคำพิพากษาของศาลฎีกาโดยตรงแต่อย่างใด อีกทั้งความเห็นทางวิชาการทำให้เกิดความสับสนแก่ผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมทางอาญาเป็นอย่างยิ่ง ย่อมส่งผลต่อการกำหนดมาตรการทางกฎหมายที่เหมาะสมและรองรับการปรับใช้กับกรณีของเอกชนซึ่งไม่มีกฎหมายกำหนดหลักเกณฑ์การแสวงหาพยานหลักฐานไว้เช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่รัฐอันอาจจะสร้างความเสียหายต่อกระบวนการยุติธรรมทางอาญาที่เอกชนมีอำนาจในการฟ้องคดีอาญาอย่างกว้างขวางได้ จากการศึกษาพบว่ากฎหมายไทยมีแนวคิดการไม่รับฟังพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบมาแต่ดั้งเดิม และสอดคล้องกับระบบการดำเนินกระบวนพิจารณาคดีไทยที่เอกชนมีบทบาทในการดำเนินคดีอาญาเช่นเดียวกับเจ้าหน้าที่รัฐ และคู่ความต่างมีสิทธิในการใช้พยานหลักฐานต่อสู้คดีอย่างกว้างขวาง ดังนี้ มาตรา ๒๒๖ จึงต้องถูกนำมาปรับใช้กับกรณีการแสวงหาพยานหลักฐานของเอกชนเช่นกัน และจากการศึกษาเปรียบเทียบลักษณะพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบโดยเอกชนตามกฎหมายต่างประเทศ สามารถกำหนดขอบเขตการแสวงหาพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบของเอกชนจากการพิจารณากฎหมายที่มีสาระสำคัญในการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนซึ่งเป็นประโยชน์ในการตรวจสอบพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบของเอกชนเป็นอย่างยิ่ง ด้วยเหตุดังที่กล่าวมาข้างต้น จึงเสนอแนะให้สร้างความชัดเจนในการปรับใช้มาตรา ๒๒๖ กับกรณีพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบของเอกชน เพื่อให้ผู้ที่เกี่ยวข้องในกระบวนการยุติธรรมทางอาญานำมาตรา ๒๒๖ มาปรับใช้กับพยานหลักฐานที่ได้มาโดยมิชอบของเอกชนในกระบวนพิจารณาคดีได้อย่างเหมาะสม รวมถึงการกำหนดแนวทางหรือมาตรการทางกฎหมายที่สอดคล้องและรองรับกับขอบเขตการปรับใช้ในกรณีของเอกชนต่อไป |
Other Abstract: | The Rule Against Illegally Obtained Evidence was formulated for protecting Right of Privacy from illegally conducts.It had been adopted in many countries for deterrnce official.The integral point to consider is whether Section 226 of the Criminal Procedure Code of Thailand is able to be implemented in a case of illegally evidence obtained by a private person who has important roles in criminal procedures as same as officials. In the past, there was no court decision on that point, there is also a variation of academically critical conflicts on the subject-matters of evidence and of the uncertainty of law prescribing provisions on finding of evidence, this leads to confusion and difficulty of those involving in the criminal justice in order to examine and clarify which evidence is of illegally obtained by a private person. According to a study of backgrounds of Section 226, it provides that Section 226 was originally written in order to serve as a provision to be suited with traditional Criminal proceedings of Thailand in which private persons also had greater parts. Therefore, it comes to a conclusion that the implementation of Section 226 is able to be implemented with the illegally obtained evidence by a private person. According to the previous-mentioned reasons, this thesis suggests that it is needed to clarify Section 226 in case of illegally obtained evidence by private. Thus, those relating to the Criminal Justice Procedures can promulgate additional regulations or rules in order to serve as a guideline of illegally obtained evidence by private persons will therefore be more accurate and efficient. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | นิติศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิติศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50790 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Law - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5585969034.pdf | 2.87 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.