Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50800
Title: พัฒนาการของพิธีสารเพื่อการแก้ไขอนุสัญญาว่าด้วยความผิดและการกระทำอื่นๆ บางประการที่กระทำในอากาศยาน และผลต่อประเทศไทย: ศึกษากรณีผู้โดยสารประพฤติตนไม่เหมาะสม
Other Titles: DEVELOPMENT OF THE PROTOCOL TO AMEND THE CONVENTION ON OFFENCES AND CERTAIN OTHER ACTS COMMITTED ON BOARD AIRCRAFT AND IMPLICATIONS FOR THAILAND: A CASE STUDY OF UNRULY PASSENGERS
Authors: วรรณิภรณ์ โล่ห์นิมิตร
Advisors: สุผานิต เกิดสมเกียรติ
สมชาย พิพุธวัฒน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์
Advisor's Email: Suphanit.K@Chula.ac.th,Ajsuphanit.k@gmail.com,ajsuphanit.k@gmail.com
piputvat@hotmail.com
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: โดยที่ปัญหาการกระทำการอันเป็นผู้โดยสารประพฤติตนไม่เหมาะสม/ก่อกวน (unruly/disruptive passengers) ในอากาศยานเกิดขึ้นบ่อยครั้งและมีรูปแบบหลากหลายมากยิ่งขึ้น ตามพัฒนาการทางด้านการบินพลเรือน ตราสารทางกฎหมายระหว่างประเทศที่นำมาปรับใช้เพื่อจัดการกับปัญหาดังกล่าว คือ อนุสัญญาว่าด้วยความผิดและการกระทำอื่น ๆ บางประการที่กระทำในอากาศยาน ทำขึ้น ณ กรุงโตเกียว เมื่อวันที่ 14 กันยายน ค.ศ. 1963 หรืออนุสัญญาโตเกียว ค.ศ. 1963 จึงมีข้อท้าทายหลายประการที่อาจมีผลทำให้การแก้ไขและป้องกันปัญหาเช่นว่านั้นไม่ประสบความสำเร็จและไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร ประชาคมการบินระหว่างประเทศซึ่งตระหนักในความสำคัญของปัญหา จึงได้จัดทำพิธีสารเพื่อการแก้ไขอนุสัญญาว่าด้วยความผิดและการกระทำอื่น ๆ บางประการที่กระทำในอากาศยาน หรือพิธีสารมอนตริออล ค.ศ. 2014 วิทยานิพนธ์ฉบับนี้มุ่งศึกษาถึงสาเหตุและความสำคัญของปัญหาการกระทำการอันเป็นผู้โดยสารประพฤติตนไม่เหมาะสม/ก่อกวนในอากาศยาน ข้อท้าทายที่อนุสัญญาโตเกียว ค.ศ. 1963 ต้องประสบจนนำไปสู่การจัดทำพิธีสารมอนตริออล ค.ศ. 2014 ศึกษาสาระสำคัญของพิธีสารฯ ในการขยายเขตอำนาจรัฐทางอาญาให้แก่รัฐภาคีในการดำเนินคดีและลงโทษผู้กระทำความผิดตามอนุสัญญาฯ การเพิ่มข้อบทสนับสนุนให้รัฐภาคีใช้มาตรการที่จะเริ่มกระบวนการทางอาญาหรือทางปกครองที่เหมาะสมต่อบุคคลที่กระทำการอันเป็นผู้โดยสารประพฤติตนไม่เหมาะสม การเพิ่มข้อบทส่งเสริมความร่วมมือระหว่างประเทศทางอาญา ข้อบทเกี่ยวกับการเคารพกฎหมายระหว่างประเทศ หลักศุภนิติกระบวนการและหลักการประติบัติอย่างเป็นธรรม ตลอดจนข้อบทที่ไม่เป็นการตัดสิทธิของผู้ดำเนินการเดินอากาศในการเรียกร้องค่าชดเชยจากผู้โดยสารประพฤติตนไม่เหมาะสม รวมทั้งวิเคราะห์ถึงความเหมาะสม ข้อดี ข้อควรพิจารณา และข้อท้าทายของการที่ประเทศไทยจะเข้าเป็นภาคีของพิธีสารนี้ จากผลการศึกษาพบว่า หากประเทศไทยเข้าเป็นภาคีของพิธีสารมอนตริออล ค.ศ. 2014 จะส่งผลกระทบต่อประเทศไทย ทั้งในด้านกฎหมายสารบัญญัติและวิธีสบัญญัติ ซึ่งประเทศไทยควรต้องศึกษาทำความเข้าใจในพิธีสารฯ อย่างถ่องแท้และเตรียมความพร้อมในทุกด้านเพื่อรองรับพันธกรณีตามพิธีสาร
Other Abstract: Since the problems relating to acts committed on board aircraft of unruly/disruptive passengers often occur in various forms, following developments in civil aviation, international law instruments applied to handle these problems, namely Convention on Offences and Certain Other Acts Committed on Board Aircraft, done at Tokyo on 14 September 1963 or Tokyo Convention 1963 has therefore been faced with several challenges. As a result, above-mentioned problems have not been successfully and effectively addressed. International aviation community, in recognizing the problems’ significance, decided to amend the Tokyo Convention 1963 by drafting the Protocol to Amend the Convention on Offences and Certain Other Acts Committed on Board Aircraft or Montreal Protocol 2014. This thesis aims to study the problems and their implications or significances of unruly passengers on aviation safety and security aspects. Also, challenges faced by the Tokyo Convention 1963 have been analyzed. Principles and substantial details of the Protocol relating to unruly passengers on board aircraft are scrutinized, including expansion of State’s jurisdiction over the offences so that the alleged offender will be prosecuted. Moreover, several provisions have been added to enhance its effectiveness, such as the provision to encourage State to take measures to initiate criminal, administrative or other forms of legal proceedings against the person committing acts regarded as an unruly passenger on board aircraft; the provision to enhance or strengthen international cooperation in criminal matters; the provision to respect obligations and responsibilities of State under international law, the principles of due process and fair treatment; and the provision on the right of recourse of the operator to seek recovery from the unruly passenger. Furthermore, the thesis makes an analysis on benefits, considerations as well as challenges for Thailand to become a State Party to the Protocol. The study shows that if Thailand decided to be a State Party to the Montreal Protocol 2014, there would be several implications for Thailand in terms of the substantive law and the adjective law. For the time being, Thailand should conduct a research in depth on the Montreal Protocol 2014 to enhance the country’s understanding to make a preparation in every aspect to fulfill the State Party’s obligations.
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: นิติศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: นิติศาสตร์
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50800
Type: Thesis
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5586024134.pdf6.71 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.