Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50810
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorพัฒนาพร โกวพัฒนกิจen_US
dc.contributor.advisorพล ธีรคุปต์en_US
dc.contributor.authorหทัยรัตน์ ทองมากen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-02T02:04:12Z-
dc.date.available2016-12-02T02:04:12Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50810-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractหลักเจ้าของผลประโยชน์เป็นหนึ่งในมาตรการต่อต้านการเลือกใช้อนุสัญญาภาษีซ้อนโดยมิชอบที่ถูกสร้างขึ้นมาเพื่อจำกัดการให้สิทธิประโยชน์ภายใต้อนุสัญญาภาษีซ้อนไว้แต่เพียงเจ้าของผลประโยชน์ของเงินได้ที่แท้จริงเท่านั้น ทั้งนี้ นับตั้งแต่หลักดังกล่าวถูกนำมาบรรจุไว้ในอนุสัญญาต้นแบบขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา (Organisation for Economic Co-operation and Development - OECD) ในปี ค.ศ.1977 อนุสัญญาต้นแบบไม่ว่าจะเป็นขององค์การเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาหรือองค์การสหประชาชาติต่างก็ล้วนแต่จำกัดการบังคับใช้หลักเจ้าของผลประโยชน์กับเงินได้เพียงสามประเภทอันได้แก่ เงินปันผล ดอกเบี้ย และค่าสิทธิ เท่านั้นโดยที่ไม่ขยายหลักดังกล่าวไปยังเงินได้ภายใต้อนุสัญญาภาษีซ้อนประเภทอื่นๆ อนุสัญญาภาษีซ้อนของประเทศไทยส่วนใหญ่ก็เป็นไปตามแนวทางดังกล่าว จะมีเพียงอนุสัญญาภาษีซ้อนเพียงไม่กี่ฉบับเท่านั้นที่นำหลักเจ้าของผลประโยชน์ไปบังคับใช้กับเงินได้ประเภทอื่นๆ นอกเหนือจากเงินได้ทั้งสามประเภทข้างต้นแต่ก็เป็นการขยายไปเพียงเงินได้ไม่กี่ประเภทเท่านั้น และก็ยังไม่มีอนุสัญญาภาษีซ้อนของประเทศไทยฉบับใดที่บังคับใช้หลักดังกล่าวในเงินได้ทุกประเภท ทั้งที่อันที่จริงแล้วการเลือกใช้อนุสัญญาภาษีซ้อนโดยมิชอบนั้นเกิดขึ้นได้กับทุกๆ เงินได้เพียงแต่อาจเป็นในรูปแบบที่แตกต่างกันเท่านั้น ดังนั้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาว่าการที่ประเทศไทยบังคับใช้หลักเจ้าของผลประโยชน์กับเงินได้เพียงไม่กี่ประเภทจะเป็นสาเหตุให้การบังคับใช้อนุสัญญาภาษีซ้อนของประเทศไทยขาดประสิทธิภาพเนื่องจากทำให้ขาดเครื่องมือหนึ่งอย่างเรื่องหลักเจ้าของผลประโยชน์ในการตอบโต้การที่บุคคลประเทศที่สามเข้ามาแอบอ้างสิทธิประโยชน์จากโครงข่ายอนุสัญญาภาษีซ้อนของไทยหรือไม่ พร้อมทั้งศึกษาว่าประเทศไทยควรจะพิจารณาขยายการบังคับใช้หลักเจ้าของผลประโยชน์ไปยังเงินได้ประเภทอื่นๆ เพื่อให้การบังคับใช้อนุสัญญาภาษีซ้อนของประเทศไทยมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นหรือไม่และแนวทางควรเป็นอย่างไรen_US
dc.description.abstractalternativeBeneficial ownership concept is one of the anti-treaty shopping measures, which was introduced to limit treaty benefits only to true beneficial owners of income. Since its first inclusion in OECD Model Tax Convention 1977, both OECD and UN Model Tax Conventions have limited the application of the beneficial ownership concept only to three types of income - dividends, interest and royalties – without extending its application to the others. Most of the double taxation agreements (DTAs) Thailand have entered into have followed such models; only a few double taxation agreements apply the beneficial ownership concept to a few other types of income than such three. None of the double taxation agreements of Thailand apply such a concept to every type of income despite the fact that treaty shopping can occur in any incomes – just in different forms. This thesis is, therefore, aimed to analyze whether the fact that Thailand’s practice of applying such a concept to a few types of income results in inefficiency of the application of its double taxation agreements in the way that it lacks one of the available tools – the beneficial ownership concept - to counter situations where third country residents abusively take advantage of Thailand’s DTA network. The thesis is also aimed to study as to whether Thailand should consider extending the beneficial ownership concept to the other types of income to increase the efficiency of the application of its double taxation agreements and how the same should be implemented.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.675-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectอนุสัญญาภาษีซ้อน-
dc.subjectภาษีซ้อน-
dc.subjectDouble taxation -- Treaties-
dc.subjectDouble Taxation-
dc.titleการบังคับใช้หลักเจ้าของผลประโยชน์ในอนุสัญญาเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนในประเทศไทยen_US
dc.title.alternativeThe application of the beneficial ownership concept under the double taxation agreements in Thailanden_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineกฎหมายการเงินและภาษีอากรen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPatanaporn.K@Chula.ac.th,k.patanaporn@gmail.comen_US
dc.email.advisorpaul.th@rd.go.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.675-
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5586211134.pdf6.29 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.