Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50828
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เกษม ชูจารุกุล | en_US |
dc.contributor.author | พิณทิพย์ ศิระอำพร | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2016-12-02T02:04:30Z | - |
dc.date.available | 2016-12-02T02:04:30Z | - |
dc.date.issued | 2558 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50828 | - |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 | en_US |
dc.description.abstract | การคัดเลือกจุดอันตรายนับเป็นขั้นตอนแรกของการวิเคราะห์หาจุดอันตรายบนถนน ซึ่งความคลาดเคลื่อนของการระบุจุดอันตรายเบื้องต้นอาจทำให้การวิเคราะห์หาจุดอันตรายผิดพลาดไป ส่งผลกระทบต่อการใช้ทรัพยากรในการปรับปรุงความปลอดภัยทางถนนที่ไม่มีประสิทธิภาพ งานวิจัยนี้ได้ศึกษาการคัดเลือกจุดอันตรายด้วยวิธีการเลื่อนระยะ (Sliding-window) 2 แบบด้วยกัน คือ แบบ Regular Intervals Placement และแบบ All-Point Placement โดยอาศัยข้อมูลอุบัติเหตุบนโครงข่ายทางหลวงทั้งประเทศ ระหว่างปี พ.ศ. 2556-2558 ผลการศึกษา พบว่าจุดอันตรายที่ได้จากการเลื่อนระยะแบบ All-Point Placement มีระยะทางรวมมากกว่าการเลื่อนระยะแบบ Regular Interval Placement สอดคล้องกับจำนวนอุบัติเหตุรวมที่ได้มากกว่า แต่กลับได้จำนวนจุดอันตรายน้อยกว่า จากการทดสอบความคงที่ของพื้นที่ (Site Consistency Test) พบว่าการเลื่อนระยะแบบ All-Point Placement สามารถคัดเลือกจุดอันตรายที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุได้ดีกว่า จากผลการศึกษาดังกล่าว นำไปสู่การวิเคราะห์หาระยะเลื่อนของการเลื่อนระยะแบบ All-Point Placement ที่เหมาะสมตามกลุ่มถนนทั้ง 12 กลุ่มที่ได้แบ่งกลุ่มตามจำนวนช่องจราจรและปริมาณการจราจร (AADT) โดยได้ศึกษาระยะเลื่อน 4 ระยะ ได้แก่ 100 200 500 และ 1,000 เมตร พบว่าเมื่อจำนวนช่องจราจรและ AADT เพิ่มขึ้น ระยะเลื่อนควรสั้นลง ผลการคัดเลือกได้จำนวนจุดอันตรายเบื้องต้น 2,257 แห่ง เมื่อนำจุดอันตรายที่ได้ไปจัดลำดับความสำคัญตามระดับความเสี่ยงอันตราย ด้วยวิธีการควบคุมอัตราคุณภาพ (Rate Quality Control) พบว่ามีจุดอันตรายที่อยู่ในระดับเสี่ยงอันตรายสูงที่สุด สูง และปานกลาง จำนวน 19 555 และ 648 แห่งตามลำดับ งานวิจัยนี้สามารถช่วยให้เข้าใจถึงปัจจัยที่มีผลกระทบต่อกระบวนการคัดเลือกจุดอันตราย โดยสามารถนำไปปรับเกณฑ์ในการคัดเลือกจุดอันตรายให้ดียิ่งขึ้นได้ ส่งผลต่อการใช้งบประมาณในการปรับปรุงและแก้ไขจุดอันตรายที่มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น | en_US |
dc.description.abstractalternative | Black spot screening on highways is regarded as the first step for identification of hazardous road locations. Errors in initial black spot screening would lead to incorrect hazardous road locations and could result in inefficient use of available resources for road safety improvements. In this research, we present the sliding-window method for black spot screening. Two different placements are considered, i.e. regular interval placement and all-point placement. The analysis is based on highway accident data during year 2013-2015. The result showed that black spots identified from all-point placement method have a total length and a total number of accidents higher than regular interval placement method; however, the total black spots were found to be smaller. From the site consistency test, all-point placement method can better identify a high-risk site. The appropriate size of window of the all-point placement method was then investigated based on 12 groups of roads classifying by different number of lanes and AADT. Four sizes of window are considered, i.e. 100, 200, 500 and 1,000 meters. Results showed that when the number of lanes and AADT increase, appropriate size of window should be shortened. A total of 2,257 black spots was further prioritized by the rate quality control method. A total of 19, 555 and 648 spots were identified as highest, high, and medium risk, respectively. Findings from the present study could help understanding underlying factors that affect black spot identification process, and could be used to improve screening criteria in order to enhance budget allocation. | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.title | การประยุกต์ใช้วิธีการเลื่อนระยะเพื่อคัดเลือกจุดอันตรายบนทางหลวง | en_US |
dc.title.alternative | APPLICATION OF SLIDING-WINDOW METHOD FOR SCREENING BLACK SPOTS ON HIGHWAYS | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | วิศวกรรมโยธา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | ckasem2@chula.ac.th,kasem.choo@chula.ac.th | en_US |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5670309421.pdf | 7.67 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.