Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50831
Title: การประยุกต์ใช้อัลตราซาวด์ในการช่วยสกัดไขมันจากสาหร่ายและแนวทางการนำสาหร่ายหลังการสกัดมาใช้ประโยชน์
Other Titles: Application of ultrasound for lipid extraction from algae and usage of extracted algae
Authors: รุ่งโรจน์ ศรีภูมิ
Advisors: อรอนงค์ ลาภปริสุทธิ
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Onanong.L@chula.ac.th,onny80@gmail.com
Subjects: สาหร่าย -- การใช้ประโยชน์
การสกัด (เคมี)
Algae -- Utilization
Extraction (Chemistry)
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: งานวิจัยนี้ทำการประยุกต์ใช้อัลตราซาวด์ในการสกัดไขมันจากสาหร่าย และศึกษาแนวโน้มการนำสาหร่ายหลังการสกัดมาใช้ประโยชน์ โดยศึกษาการสกัดไขมันจากสาหร่าย 2 ชนิด คือ Chlorella vulgaris และ Scenedesmus obliquus ด้วยอัลตราซาวด์ชนิดโพรบที่ความถี่ 20 กิโลเฮิรตซ์ ที่ระดับพลังงานและระยะเวลาต่างๆ โดยพบว่าปริมาณไขมันที่สกัดได้มีปริมาณเพิ่มขึ้น เมื่อเพิ่มระดับพลังงานและระยะเวลาในการอัลตราซาวด์ สำหรับสภาวะที่เหมาะสมในการสกัดไขมันจาก C. vulgaris คือ ที่ระดับพลังงาน 80 เปอร์เซ็นต์ ระยะเวลา 3 นาที ได้ปริมาณไขมัน 0.166 กรัม/กรัมเซลล์สาหร่ายแห้ง และสำหรับ S. obliquus คือที่ระดับพลังงาน 40 เปอร์เซ็นต์ นาน 1 นาที ได้ปริมาณไขมัน 0.040 กรัม/กรัมเซลล์สาหร่ายแห้ง เมื่อพิจารณาปริมาณกรดไขมันรวม (C12-C22) พบว่าสภาวะที่เหมาะสมสำหรับ C. vulgaris คือ ที่พลังงาน 100 เปอร์เซ็นต์ ระยะเวลา 5 นาที พบกรดไขมัน 68.98 มิลลิกรัม/กรัมสาหร่ายแห้ง และสำหรับ S. obliquus คือที่พลังงาน 40 เปอร์เซ็นต์ ระยะเวลา15 นาที พบกรดไขมันเท่ากับ 74.20 มิลลิกรัม/กรัมสาหร่ายแห้ง เมื่อวัดปริมาณไขมันคงเหลือในกากสาหร่ายด้วยวิธี Bligh และ Dyer พบปริมาณไขมันในกากสาหร่าย C. vulgaris ในช่วง 0.047-0.187 กรัม/กรัมเซลล์สาหร่ายแห้งและ และในกากสาหร่าย S. obliquus ​ในช่วง 0.050-0.136 กรัม/กรัมเซลล์สาหร่ายแห้ง เมื่อศึกษาแนวทางการใช้ประโยชน์ของกากสาหร่าย โดยวิเคราะห์สารต้านอนุมูลอิสระ ซึ่งตรวจพบเฉพาะใน S. obliquus และตรวจพบปริมาณโปรตีนใน C. vulgaris และ S. obliquus ในช่วง 40.28-44.15 และ 39.94-44.73 กรัม/100กรัมสาหร่ายแห้ง ตามลำดับ
Other Abstract: This research focused on application of ultrasound for lipid extraction from algae and potential of using extracted algae. Chlorella vulgaris and Scenedesmus obliquus were used in this research. Ultrasound extraction was investigated by using a 20 kHz ultrasound probe at different power and sonication time. It was found that the amount of extracted lipids increased with the increase of power and sonication time. For C. vulgaris , 0.166 g lipid/g dried algae was found at optimal conditions, which were at 80 percent and 3 minute sonication time. For S. obliquus, 0.040 g lipid/g dried algae was found at 40 percent with 1 minute sonication. When considered the total fatty acids (C12-C22), the optimal conditions for C. vulgaris were at 100 percent for 5 minutes with the total lipids of 68.98 mg fatty acids/g dried algae and for S. obliquus, the conditions were at 40 percent and 15 minutes with the lipids of 74.20 mg fatty acids/g dried algae. When compared the remained lipids using Bligh and Dyer’s method, 0.047-0.187 g lipid/g dried algae was found in extracted ​C. vulgaris and 0.050-0.136 ​g lipid/g dried algae was found in extracted S. obliquus. Extracted algae sample was analyzed for antioxidant and only found in S. obliquus. The amount of protein in extracted S. obliquus and C. vulgaris were 40.28-44.15 and 39.94-44.73 g/100 g dried algae, respetively.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมสิ่งแวดล้อม
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50831
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1279
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.1279
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5670354621.pdf4.95 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.