Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50840
Title: | พฤติกรรมของคานคอนกรีตเสริมเหล็กที่ซ่อมแซมการกัดกร่อนด้วยคอนกรีตเสริมเส้นใยเหล็ก |
Other Titles: | Behavior of corroded RC beams repaired by steel fiber reinforced concrete |
Authors: | ภัทรกานต์ เหล่าไพฑูรย์ |
Advisors: | พิชชา จองวิวัฒสกุล |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์ |
Advisor's Email: | Pitcha.J@chula.ac.th,p.jongvivatsakul@gmail.com |
Subjects: | คานคอนกรีต -- การกัดกร่อน คอนกรีตเสริมเหล็ก Concrete beams -- Corrosion Reinforced concrete |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การกัดกร่อนทำให้โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็กสูญเสียความแข็งแรง เส้นใยเหล็กจึงถูกใช้เพื่อเป็นวัสดุในการซ่อมแซมการเกิดการกัดกร่อน อย่างไรก็ตามจากงานวิจัยในอดีตพบว่าเมื่อเกิดสนิมในเหล็กเสริมรับแรงดึง จะเกิดรอยแตกระหว่างเหล็กและคอนกรีต ซึ่งเมื่อเกิดการกัดกร่อนมากพอจะทำให้คานจะเปลี่ยนพฤติกรรมจาก Beam action สู่ Arch action ทำให้กำลังรับแรงเฉือนของคานเพิ่มขึ้น อย่างไรก็ตามเมื่อคานได้รับการซ่อมแซมแล้วพฤติกรรมการรับแรงเฉือนจะเปลี่ยนแปลงอีกครั้ง แต่พฤติกรรมของคานที่ซ่อมแซมการกัดกร่อนด้วยคอนกรีตเสริมเส้นใยเหล็กยังไม่มีการศึกษาวิจัยมากนัก งานวิจัยนี้จึงมีวัตถุประสงค์ที่จะศึกษาพฤติกรรมการรับแรงของคานคอนกรีตเสริมเหล็กที่เกิดการกัดกร่อนและพฤติกรรมของคานคอนกรีตเสริมเหล็กภายหลังการซ่อมแซมด้วยคอนกรีตเสริมเส้นใย ตัวแปรที่ใช้ในการศึกษาคือ ระดับของการกัดกร่อน (0 12 และ 16 เปอร์เซ็นต์) และปริมาณเส้นใยเหล็กที่ใช้ในการซ่อมแซม (1.0 1.5 และ 2.0 เปอร์เซ็นต์โดยปริมาตรคอนกรีต) โดยมีตัวอย่างคานทั้งหมด 8 คาน ผลการศึกษาพบว่าระดับการกัดกร่อนส่งผลต่อกำลังรับแรงเฉือนของคานอย่างมีนัยสำคัญ เมื่อคานเกิดการกัดกร่อนที่ 16 เปอร์เซ็นต์ กำลังรับแรงเฉือนของคานกลับมีค่าเพิ่มมากขึ้นเทียบกับคานที่ไม่มีการกัดกร่อน ในขณะเดียวกันคานที่เกิดการกัดกร่อนที่ 12 เปอร์เซ็นต์คานกลับมีกำลังรับแรงเฉือนลดลง เมื่อซ่อมแซมด้วยเส้นใยเหล็ก 1.0 เปอร์เซ็นต์พบกว่ากำลังรับแรงเฉือนของคานมีค่าน้อยกว่าคานที่ไม่เกิดการกัดกร่อน อย่างไรก็ตามการซ่อมแซมด้วยคอนกรีตเสริมเส้นใยเหล็กที่ 1.5 และ 2.0 เปอร์เซ็นต์สามารถเพิ่มกำลังรับแรงเฉือนของคานได้ นอกจากนี้ผู้วิจัยได้นำเสนอแบบจำลองเพื่อคำนวณกำลังรับแรงเฉือนของคานคอนกรีตเสริมเหล็กที่ถูกกัดกร่อนและซ่อมแซมด้วยคอนกรีตเสริมเส้นใยเหล็กด้วยวิธี Truss analogy และ Strut and tie จากผลการวิเคราะห์พบว่าแบบจำลองที่ประยุกต์จาก Truss analogy ให้ผลสอดคล้องกับผลการทดลอง |
Other Abstract: | Corrosion in reinforced concrete (RC) structures is a significant problem caused the deterioration and decrease in strength of structure. Steel fiber reinforced concrete (SFRC) can be used as the repairing material. According to the literature, when the corrosion occurred in the steels, RC beams behaved in arch action instead of beam action since steel reinforcements were un-bonded with concrete. As a result, the shear capacity of corroded RC beams increased. This phenomenon will occur when the corrosion ratio is high enough. After repairing, the load carrying mechanism will change. However, the behavior of RC beams after repairing by SFRC is un-well-known. Therefore, the objective of this study is to investigate the shear behavior of corroded RC beams and corroded RC beams repaired by SFRC. The experimental parameters are corrosion ratio (0% 12 % and 16%) and volume fraction of steel fibers used in repairing (1.0%, 1.5% and 2.0% of concrete volume). The results show that the corrosion ratio significantly affected shear capacity of the beams. The shear capacity of 16 percent corroded RC beam increased comparing with RC beam without corrosion. On the other hand, the shear capacity of the beam decreased when corrosion ratio was 12 percent. The shear capacity reduced when they were repaired by 1% of steel fibers comparing with non-corroded RC beam. Nevertheless, the shear capacity of corroded RC beams can be recovered after repairing by 1.5% and 2.0% of steel fibers. The models for investigating the shear capacity of corroded RC beams after repair were proposed. The shear capacity of corroded RC beams were calculated using truss analogy and strut and tie. The proposed truss analogy model showed good agreement with the experimental results. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | วิศวกรรมโยธา |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50840 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1319 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.1319 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Eng - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5670530721.pdf | 7.98 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.