Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50884
Title: | ผลของโปรแกรมการบำบัดครอบครัวสำหรับผู้ป่วยโรคร่วมต่อการบริโภคสุราของผู้ติดสุราที่มีโรคร่วมทางจิตเวช |
Other Titles: | The effect of family intervention for dual disorders program on alcohol consumption among alcohol dependence clients with psychiatric comobidity |
Authors: | อัจฉรา เตชะอัตตกุล |
Advisors: | เพ็ญพักตร์ อุทิศ |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะพยาบาลศาสตร์ |
Advisor's Email: | Penpaktr.U@Chula.ac.th,penpaktr_uthis@hotmail.com |
Subjects: | ผู้ติดสุรา ครอบครัว -- แง่จิตวิทยา Alcoholics Families -- Psychological aspects |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยกึ่งทดลองศึกษาสองกลุ่มวัดผลก่อนและหลังการทดลอง มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบ 1) การบริโภคสุราของผู้ติดสุราที่มีโรคร่วมทางจิตเวชที่ได้รับโปรแกรมการบำบัดครอบครัวสำหรับผู้ป่วยโรคร่วมในระยะก่อนการทดลอง และหลังการทดลอง 1 เดือน และ 2) การบริโภคสุราของผู้ติดสุราที่มีโรคร่วมทางจิตเวชระหว่างกลุ่มที่ได้รับโปรแกรมการบำบัดครอบครัวสำหรับผู้ป่วยโรคร่วมกับกลุ่มที่ได้รับการพยาบาลตามปกติ ในระยะก่อนการทดลอง และหลังการทดลอง 1 เดือน กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้ติดสุราที่มีโรคร่วมทางจิตเวช และผู้ดูแลจำนวน 40 ครอบครัว ซึ่งมีคุณสมบัติตามเกณฑ์ที่กำหนด มารับบริการแบบผู้ป่วยนอก แผนกการพยาบาลจิตเวชและประสาทวิทยา โรงพยาบาลพระมงกุฎเกล้าซึ่งกลุ่มตัวอย่างได้รับการจับคู่กลุ่มด้วยคะแนนการบริโภคสุรา และโรคร่วมทางจิตเวช แล้วถูกสุ่มเข้ากลุ่มทดลองและกลุ่มควบคุม กลุ่มละ 20 ครอบครัว กลุ่มควบคุมได้รับโปรแกรมการบำบัดครอบครัวสำหรับผู้ป่วยโรคร่วม (Family Intervention for Dual Disorders) ซึ่งผู้วิจัยประยุกต์มาจากการศึกษาของ Mueser and Fox (2002) ส่วนกลุ่มควบคุมได้รับการพยาบาลตามปกติ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ 1) โปรแกรมการบำบัดครอบครัวสำหรับผู้ป่วยโรคร่วม 2) แบบสอบถามข้อมูลส่วนบุคคล 3) แบบประเมินปัญหาการบริโภคสุรา 4) แบบบันทึกการบริโภคสุรา (Timeline Followback) และ5) แบบประเมินสัมพันธภาพในครอบครัว เครื่องมือทุกชุดผ่านการตรวจสอบความตรงเชิงเนื้อหาจากผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน เครื่องมือชุดที่ 4 ตรวจสอบความเที่ยงโดยวิธีทดสอบซ้ำพบค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ของเพียร์สันเท่ากับ .97 และเครื่องมือชุดที่ 5 พบค่าสัมประสิทธิ์อัลฟาของครอนบาคเท่ากับ .87 วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติที กำหนดมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผู้ติดสุราที่มีโรคร่วมทางจิตเวชมีร้อยละของจำนวนวันดื่มหนักหลังได้รับโปรแกรมการบำบัดครอบครัวสำหรับผู้ป่วยโรคร่วมลดลงกว่าก่อนการทดลอง และมีร้อยละของจำนวนวันหยุดดื่มมากกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผู้ติดสุราที่มีโรคร่วมทางจิตเวชมีร้อยละของจำนวนวันดื่มหนักหลังได้รับโปรแกรมการบำบัดครอบครัวลดลง และมีร้อยละของจำนวนวันหยุดดื่มหลังได้รับโปรแกรมการบำบัดครอบครัวมากกว่ากลุ่มผู้ติดสุราที่มีโรคร่วมทางจิตเวชที่ได้รับการพยาบาลตามปกติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 |
Other Abstract: | This study is quasi-experimental pretest-posttest control group research design. The objectives were to compare: 1) alcohol consumption of alcohol dependence clients with psychiatric comorbidity who received family intervention for dual disorders program at 1 month post intervention 2) alcohol consumption of alcohol dependence clients with psychiatric comorbidity who received family intervention for dual disorders program and those who received regular nursing care measured at 1 month post intervention. The Sample consisted of 40 families’ alcohol dependence clients with psychiatric comorbidity who met the inclusion criteria and received services at Psychiatry and Neurology outpatient department in Phramongkutklao Hospital. They were matched pair with alcohol consumption scores and type of psychiatric comorbidity and then randomly assigned to either experimental or control group, 20 subjects in each group. The experimental group received family intervention for dual disorders program developed by researcher whereas the control group received regular nursing care. Research comprised of: 1) Family intervention for dual disorders program 2) Demographic questionnaire 3) the AUDIT scale 4) Timeline followback, and 5) Family relationship scale. All instruments were verified for content validity by 5 professional experts. The reliability of 4th instrument was reported by Pearson Correlation as of .97 and the 5th instruments had Cronbach’s Alpha Coefficient reliability of .84. Descriptive statistics and t-test were used in Data analysis. The conclusions of this research are as follows: 1) Percent of drinking day in alcohol dependence clients with psychiatric comorbidity who received family intervention for dual disorders program measured at the end of intervention was significantly lower and Percent of abstinence drinking day in alcohol dependence clients with psychiatric comorbidity who received family intervention for dual disorders program measured at the end of intervention was significantly higher than that before at p .05 2) Percent of drinking day in alcohol dependence clients with psychiatric comorbidity who received family intervention for dual disorders program measured 1 month after the end of intervention was significantly lower and Percent of abstinence drinking day in alcohol dependence clients with psychiatric comorbidity who received family intervention for dual disorders program measured 1 month after the end of intervention was significantly higher than those who received regular nursing care p .05 |
Description: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | พยาบาลศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | พยาบาลศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50884 |
URI: | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.769 |
metadata.dc.identifier.DOI: | 10.14457/CU.the.2015.769 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Nurse - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5677229136.pdf | 5.07 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.