Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50902
Title: การวิเคราะห์คลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อขณะตีลูกบอลในนักกีฬาฮอกกี้สนาม
Other Titles: Electromyography analysis during ball hitting action in field hockey player
Authors: นพรัตน์ วิทยาการโกวิท
Advisors: ชัยพัฒน์ หล่อศิริรัตน์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: Chaipat.L@Chula.ac.th,tonchaipat@hotmail.com
Subjects: กล้ามเนื้อ
การบันทึกคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ
นักฮอกกี้
Muscles
Electromyography
Hockey players
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบกล้ามเนื้อหลักที่ใช้ในการออกแรงตีลูกบอลในแต่ละช่วงท่าของการตีลูกบอลของนักกีฬาฮอกกี้หญิง วิธีดำเนินการวิจัย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นนักกีฬาฮอกกี้หญิงทีมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จำนวน 12 คน และนักกีฬาฮอกกี้หญิงทีมชาติ จำนวน 17 คน โดยการคัดเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เก็บข้อมูลโดยการติดขั้วรับสัญญาณไฟฟ้ากล้ามเนื้อบนผิวหนังบริเวณกล้ามเนื้อลำตัวช่วงบน 4 จุดและลำตัวช่วงล่าง 4 จุด ทำการทดสอบความสามารถในการหดตัวของกล้ามเนื้อสูงสุด (MVC) จากนั้นทำการวัดคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อ โดยให้นักกีฬาทำการตีลูกบอล จำนวน 6 ครั้ง นำคลื่นไฟฟ้ากล้ามเนื้อที่ได้มาทำการหาค่าร้อยละของการหดตัวของกล้ามเนื้อสูงสุด เปรียบเทียบจากค่าการหดตัวสูงสุดของกล้ามเนื้อ (MVC) นำข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติโดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ หาค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบความแตกต่างระหว่าง 2 กลุ่มตัวอย่าง (Independent t-test) ทดสอบความมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผลการวิจัย จังหวะการง้างไม้ ทีมชาติไทยใช้กล้ามเนื้อ Latissimus Dorsi, Pectoralis Major, Tensor Fascia Latae และ Rectus Femoris แต่ทีมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใช้กล้ามเนื้อ Middle Deltoid และ Gluteus Maximus มากที่สุด จังหวะการดึงไม้ลง ทีมชาติไทย ใช้กล้ามเนื้อ Pectoralis Major, External Abdominal Obliques, Gluteus Maximus และ Tensor Fascia Latae แต่ ทีมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใช้กล้ามเนื้อ adductor Magnus และLatissimus Dorsi มากที่สุด จังหวะไม้กระทบลูกบอล ทีมชาติไทยใช้กล้ามเนื้อ Pectoralis Major, External Abdominal Obliques, Gluteus Maximus และ Tensor Fascia Latae แต่ทีมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยใช้กล้ามเนื้อ Middle Deltoid และ Adductor Magnus มากที่สุด จังหวะส่งแรงตามลูกบอล ทีมชาติไทยใช้กล้ามเนื้อ Pectoralis Major, Middle Deltoid, Tensor Fascia Latae และ Gluteus Maximus แต่ ทีมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ใช้กล้ามเนื้อ Latissimus Dorsi และ Adductor Magnus มากที่สุด สรุปผลการวิจัย นักกีฬาทีมจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยมีการใช้กล้ามเนื้อที่แตกต่างกับนักกีฬาทีมชาติไทยและมีบางกล้ามเนื้อที่ไม่สอดคล้องกับท่าทางของการตี ทำให้การตียังไม่มีประสิทธิภาพเท่าที่ควร
Other Abstract: Purpose : The purpose of this research was to study and compare the primary muscles utilized in each phase of puck hitting in woman field hockey players. Methods : Twelve women field hockey players from Chulalongkorn University team and seventeen women field hockey players from Thai national team were purposively sampled to compare their muscle activities using surface electromyography during four phases of hitting a hockey puck. Four upper body muscle sites and four lower body muscle sites were assessed for their Maximum Voluntary Contraction (MVC) as baseline for comparisons for each subject before measuring each muscle activity as percentage of MVC (%MVC) during various phases of hitting. Differences in muscle utilization in field hockey hit between two teams were compared with .05 level of statistical significance Results : During back swing phase, Thai national team players utilized Latissimus Dorsi, Pectoralis Major, Tensor Fascia Latae and Rectus Femoris whereas Chulalongkorn University team players utilized Middle Deltoid and Gluteus Maximus. During forward swing phase, Thai national team players utilized Pectoralis Major, External Abdominal Obliques, Gluteus Maximus and Tensor Fascia Latae whereas Chulalongkorn University team players utilized Latissimus Dorsi and Adductor Magnus. During ball impact phase, Thai national team players utilized Pectoralis Major, External Abdominal Obliques, Gluteus Maximus and Tensor Fascia Latae whereas Chulalongkorn University team players utilized Middle Deltoid and Adductor Magnus. During follow-through phase, Thai national team players utilized Pectoralis Major, Middle Deltoid, Tensor Fascia Latae and Gluteus Maximus whereas Chulalongkorn University team players utilized Latissimus Dorsi and Adductor Magnus. Conclusions : The Chulalongkorn University team player did not utilize proper muscle groups with less effectiveness in various phases of puck hitting compared to the performance of Thai national team players.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50902
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.912
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.912
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5678312739.pdf3.86 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.