Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50905
Title: ผลของการคัดเลือกผู้เล่นโดยใช้คะแนนความฉลาดทางการเล่นที่มีต่อการพัฒนาทักษะกีฬาแบดมินตันขั้นพื้นฐานในเด็กหญิงอายุ 12 ปี
Other Titles: The effect of using play-quatient score to select players on the development of basic skills badminton performance of the 12-year-old girls
Authors: สุดาพัทธ์ เลิศพรกุลรัตน์
Advisors: ชัชชัย โกมารทัต
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิทยาศาสตร์การกีฬา
Advisor's Email: Chuchchai.G@Chula.ac.th,chuchchai.g@chula.ac.th
Subjects: แบดมินตัน
ความสามารถทางกีฬา
Badminton (Game)
Athletic ability
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: วัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการพัฒนาทักษะกีฬาแบดมินตันขั้นพื้นฐานของกลุ่มตัวอย่าง 3 กลุ่ม ที่มีคะแนนความฉลาดทางการเล่นแตกต่างกัน คือกลุ่มที่มีคะแนนความฉลาดทางการเล่นสูง ปานกลางและต่ำ กลุ่มตัวอย่างเป็นเด็กนักเรียนหญิง อายุ 12 ปี ของโรงเรียนสาธิตจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย (ฝ่ายมัธยม) และโรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศรีนครินวิโรฒปทุมวัน โดยใช้แบบทดสอบความฉลาดทางการเล่นของ ชัชชัย โกมารทัตและคณะ เป็นเกณฑ์ในการแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 15 คน รวมทั้งสิ้น 45 คน ดำเนินการทดลองโดยนำทั้ง 3 กลุ่มมาฝึกทักษะกีฬาแบดมินตันขั้นพื้นฐาน เป็นเวลา 8 สัปดาห์ๆ ละ3 วัน ทำการทดสอบทักษะกีฬาแบดมินตันของ บดินทร์ ปั้นบำรุงกิจ ก่อนเข้ารับการฝึก หลังการฝึก 4 สัปดาห์ และหลังการฝึก 8 สัปดาห์ นำผลที่ได้มาทำการวิเคราะห์ข้อมูลทางสถิติ โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน เปรียบเทียบผลการทดสอบแต่ละรายการภายในกลุ่ม โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียวแบบวัดซ้ำ และเปรียบเทียบผลของการทดสอบทุกรายการระหว่างกลุ่ม โดยใช้การวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วมทางเดียว ถ้าพบว่ามีความแตกต่างกัน จะใช้การวิเคราะห์เปรียบเทียบเป็นรายคู่ ตามวิธีของ Bonferroni กำหนดระดับความมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 ผลการวิจัย 1. ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถทางการเล่นกีฬาแบดมินตันขั้นพื้นฐานภายในกลุ่มทั้ง 3 กลุ่ม พบว่า หลังการฝึก 8 สัปดาห์ ดีกว่าหลังเข้ารับการฝึก 4 สัปดาห์ และดีกว่า ก่อนเข้ารับการฝึก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2. ผลการเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถทางการเล่นกีฬาแบดมินตันขั้นพื้นฐานระหว่างกลุ่มภายหลังการฝึก 8 สัปดาห์ และหลังการฝึก 4 สัปดาห์พบว่า กลุ่มที่มีค่าความฉลาดทางการเล่นสูง มีการพัฒนาทักษะที่ดีกว่า กลุ่มที่มีคะแนนความฉลาดทางการเล่นปานกลาง และกลุ่มที่มีคะแนนความฉลาดทางการเล่นต่ำ อย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 สรุปผลการวิจัย เด็กนักเรียนหญิงอายุ 12 ปี ที่มีระดับความฉลาดทางการเล่น (Play Quotient) ที่แตกต่างกัน จะมีความสามารถในการพัฒนาความสามารถทักษะกีฬาแบดมินตันขั้นพื้นฐานที่แตกต่างกัน โดยกลุ่มที่มีค่าความฉลาดทางการเล่นสูง จะมีแนวโน้มในการพัฒนาทักษะกีฬาแบดมินตันขั้นพื้นฐานในระดับที่ดี และสามารถประยุกต์ใช้ในการพิจารณาคัดเลือกผู้เล่นระดับเยาวชนเพื่อพัฒนาทักษะการเล่นในระดับสูงต่อไปได้
Other Abstract: Abstract Purpose The purpose of this study was to compare the capability of badminton skill development between 3 groups that has different Play Quotient score. The sample group was separated by 3 ranges of score: the highest, moderate and lowest Play Quotient score. Methods The sample was selected the 12-year-old girl student of Chulalongkorn University Demonstration School, and Pathumwan Demonstration School as our sample. The Play Quotient test of Chuchchai Gomaratut,et al. Were divided the sample into 3 groups of 15 players. All groups were trained with basic badminton skill for 8 week (3days per week). All samples were tested by the badminton Skill Test of Bodin Punbumrongkij. There are 3 different periods: before training, after 4 and 8 weeks of training. The obtained data were analyzed in terms of means and standard deviations, One-way analysis of variance with repeated measures, One-way Analysis of Covariance by Bonferroni were employed for statistical significant at the .05 level Results 1.The comparison of badminton skills within groups showed that badminton skills of all groups after 8 weeks of training were significantly better than after 4 weeks of training and significantly better than before training at the .05 level 2. The comparison of badminton skills between groups after 8 and 4 weeks of training showed that badminton skills of the high Play Quotient score group was significantly better than the moderate Play Quotient score group and the low Play Quotient score group at the .05 level. Conclusion The different levels of Play Quotient affects the development of basic skill badminton performance of 12-year-old girls and can be used as a consideration the young players to keep practicing high skills badminton performance.
Description: วิทยานิพนธ์ (วท.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิทยาศาสตร์การกีฬา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50905
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.887
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.887
Type: Thesis
Appears in Collections:Spt - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5678337439.pdf8.21 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.