Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50925
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | เนาวนิตย์ สงคราม | en_US |
dc.contributor.author | ภาณุพงษ์ ปุญญมาโนชญ์ | en_US |
dc.contributor.other | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์ | en_US |
dc.date.accessioned | 2016-12-02T02:06:39Z | |
dc.date.available | 2016-12-02T02:06:39Z | |
dc.date.issued | 2558 | en_US |
dc.identifier.uri | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50925 | |
dc.description | วิทยานิพนธ์ (ค.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาผลของการใช้วิธีการสอนแบบอุปนัยบนเว็บโดยใช้อินโฟกราฟิกที่มีต่อความสามารถในการคิดเชิงมโนทัศน์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีการคิดแบบอิสระ (FI) และการคิดแบบพึ่งพิง (FD) และ 2) เพื่อเปรียบเทียบความแตกต่างผลของการใช้วิธีการสอนแบบอุปนัยบนเว็บโดยใช้อินโฟกราฟิกที่มีต่อความสามารถในการคิดเชิงมโนทัศน์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีแบบการคิดต่างกัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยนี้เป็นนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น จำนวน 60 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้รายวิชาวิทยาศาสตร์ เว็บการเรียนรู้ด้วยวิธีการสอนแบบอุปนัยร่วมกับออนไลน์อินโฟกราฟิก แบบทดสอบ The Group Embedded Figures Test (GEFT) แบบวัดความสามารถในการคิดเชิงมโนทัศน์ แบบสังเกตพฤติกรรมการเรียน และแบบประเมินผลงานอินโฟกราฟิก สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ การหาค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีแบบการคิดต่างกันที่ได้รับการเรียนด้วยวิธีการสอนแบบอุปนัยบนเว็บโดยใช้อินโฟกราฟิกมีคะแนนความสามารถในการคิดเชิงมโนทัศน์หลังการทดลองสูงกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีการคิดแบบอิสระ (FI) และการคิดแบบพึ่งพิง (FD) ที่ได้รับการเรียนด้วยวิธีการสอนแบบอุปนัยบนเว็บโดยใช้อินโฟกราฟิกมีคะแนนความสามารถในการคิดเชิงมโนทัศน์หลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 | en_US |
dc.description.abstractalternative | The purposes of the research were: (1) to study the effects of an inductive method on the web using infographic on the conceptual thinking ability of lower secondary school students categorized into two groups based the two different cognitive styles, the Field Independent (FI) learners and the Field Dependent (FD) learners, (2) to compare the different of an inductive method on the web using infographic upon the conceptual thinking ability of lower secondary school students with different cognitive styles. The samples comprised of 60 lower secondary school students. The research instruments consisted of a science lesson plan, a website designed based on an inductive method with online infographic, the Group Embedded Figures Test (GEFT), the conceptual thinking ability test, the learning behavior observation form, and the infographic performance evaluation form. The data were collected and analyzed using an arithmetic mean, a standard deviation, and a t-test. The results of the study revealed that: 1) the post-test conceptual thinking ability mean score was significantly higher than the pre-test mean score (p<.05), and 2) the post-test conceptual thinking ability scores of the FI learners and the FD learners were significantly different (p<.05) | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.relation.uri | http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1182 | - |
dc.rights | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.subject | การเรียนการสอนผ่านเว็บ | |
dc.subject | ทักษะทางการคิด | |
dc.subject | Web-based instruction | |
dc.subject | Thinking skill | |
dc.title | ผลของการใช้วิธีการสอนแบบอุปนัยบนเว็บโดยใช้อินโฟกราฟิกที่มีต่อความสามารถในการคิดเชิงมโนทัศน์ของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นที่มีแบบการคิดต่างกัน | en_US |
dc.title.alternative | Effects of an inductive method on web using infographic on conceptual thinking ability of lower secondary school students with different cognitive styles | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | ครุศาสตรมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | en_US |
dc.degree.discipline | เทคโนโลยีและสื่อสารการศึกษา | en_US |
dc.degree.grantor | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย | en_US |
dc.email.advisor | Noawanit.S@Chula.ac.th,noawanit_s@hotmail.com,Noawanit.S@Chula.ac.th | en_US |
dc.identifier.DOI | 10.14457/CU.the.2015.1182 | - |
Appears in Collections: | Edu - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5683372027.pdf | 9.49 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.