Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50931
Title: การพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพตามแนวคิดการเรียนรู้ทางสังคมและอารมณ์เพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย
Other Titles: Development of Health Promotion Program Based on Social and Emotional Learning Concept for Reducing Risky Sexual Behaviors in Upper Secondary School Students
Authors: พงศ์นที สัตยเทวา
Advisors: เอมอัชฌา วัฒนบุรานนท์
น้อย เอส. เคย์
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะครุศาสตร์
Advisor's Email: Aimutcha.W@Chula.ac.th,aimutchaw@gmail.com
noyskay@indiana.edu
Subjects: การส่งเสริมสุขภาพ
การเรียนรู้ทางสังคม
นักเรียนมัธยมศึกษาตอนปลาย -- พฤติกรรมทางเพศ
Health promotion
Social learning
High school students -- Sexual behavior
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพตามแนวคิดการเรียนรู้ทางสังคมและอารมณ์เพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย 2) เพื่อศึกษาผลของการพัฒนาโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพตามแนวคิดการเรียนรู้ทางสังคมและอารมณ์เพื่อลดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนปลาย โรงเรียน ศีลาจารพิพัฒน์ จำนวน 60 คน แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ กลุ่มทดลองใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพตามแนวคิดการเรียนรู้ทางสังคมและอารมณ์จำนวน 30 คน และกลุ่มควบคุมไม่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลองคือโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพตามแนวคิดการเรียนรู้ทางสังคมและอารมณ์ ซึ่งใช้เวลาในการทดลอง 8 สัปดาห์ มีดัชนีความสอดคล้องเท่ากับ 0.87 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบวัดพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ แบบวัดเจตคติ และแบบวัดความรู้เกี่ยวกับพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศ ที่มีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.97 0.98 และ 0.95 วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าที (t-test) ผลการวิจัยพบว่า 1) โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพที่พัฒนาขึ้นตามแนวคิดการเรียนรู้ทางสังคมและอารมณ์ ประกอบด้วยแนวคิดการเรียนรู้ทางสังคมและอารมณ์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ 6 กิจกรรม และการประเมินผล ซึ่งโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพที่พัฒนาขึ้น ได้ผ่านกระบวนการตรวจสอบคุณภาพ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ และมีค่าดัชนี ความสอดคล้องเท่ากับ 0.87 2) ผลของการใช้โปรแกรมส่งเสริมสุขภาพตามแนวคิดการเรียนรู้ทางสังคมและอารมณ์ พบว่า ค่าเฉลี่ยของคะแนนพฤติกรรมเสี่ยงทางเพศหลังการทดลองของนักเรียนกลุ่มทดลองต่ำกว่าก่อนการทดลองอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และต่ำกว่านักเรียนกลุ่มควบคุมที่ไม่ได้รับโปรแกรมส่งเสริมสุขภาพ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
Other Abstract: The purposes of this research were 1) to develop the health promotion program based on the social and emotional learning concept for reducing risky sexual behaviors in upper secondary school students 2) to study the effects of the health promotion program based on the social and emotional learning concept on risky sexual behaviors in upper secondary school students. The sample was 60 upper high school students from Srilajarnpipat School Bangkok Thailand. Divided equally into two groups, 30 students in the experimental group were assigned to participate under the health promotion program and the other 30 students in control group. The experimental instruments consisted of health promotion program which IOC was 0.87. The duration of the experiment was eight weeks. The data collecting instrument included risky sexual behaviors test, risky sexual behaviors attitude test and knowledge test. The reliabilities were 0.97, 0.98 and 0.95. The data were then analyzed by means, standard deviation and t-test. The research findings were as follows: 1) A developed health promotion program consisted of concept, 6 intervention activities and evaluation. 2) The effects of applying the health promotion program on risky sexual behaviors in experimental group were found lower after using the health promotion program than before at the .05 level of significance and lower than students in control group at the .05 level of significance as well.
Description: วิทยานิพนธ์ (ค.ด.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาเอก
Degree Discipline: สุขศึกษาและพลศึกษา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50931
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1180
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.1180
Type: Thesis
Appears in Collections:Edu - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5684219027.pdf6.58 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.