Please use this identifier to cite or link to this item:
https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50935
Title: | พัฒนาการทางความคิดและการสร้างสรรค์ภาพยนตร์ของบรรจง ปิสัญธนะกูล |
Other Titles: | DEVELOPMENT OF FILM-MAKING APPROACH OF BANJONG PISANTHANAKUN |
Authors: | ฉัตรระวี มหิธิธรรมธร |
Advisors: | โสภาวรรณ บุญนิมิตร |
Other author: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิเทศศาสตร์ |
Advisor's Email: | Sopawan.B@Chula.ac.th,leave2remain0@gmail.com |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการทางความคิดและการสร้างสรรค์ภาพยนตร์ของผู้กำกับภาพยนตร์บรรจง ปิสัญธนะกูล ด้วยการวิเคราะห์ภูมิหลัง แรงบันดาลใจ และอิทธิพลที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์ผลงานของบรรจงจนเกิดเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัว การวิเคราะห์กลวิธีการเล่าเรื่อง การผสมผสานตระกูลภาพยนตร์ประเภทต่างๆ กระบวนการคิด ตลอดจนกระบวนการทำงานของบรรจง โดยศึกษาผ่านผลงานภาพยนตร์ของบรรจงจำนวน 6 เรื่อง ประกอบกับการสัมภาษณ์เชิงลึกบรรจงและผู้ทรงคุณวุฒิด้านภาพยนตร์อีก 4 ท่าน ซึ่งผลการวิจัยพบว่า 1. ในแง่ของภูมิหลัง บรรจงนิยมถ่ายทอดลักษณะนิสัยส่วนตัวลงไปในภาพยนตร์ผ่านการใช้ตัวละคร ไม่ว่าจะเป็นการมีนิสัยช่างพูด การชอบพูดจาเสียดสี มีความกวน และการมีสัญชาตญาณด้านความตลก (sense of humor) สูง ส่วนในแง่ของแรงบันดาลใจ บรรจงได้รับแรงบันดาลใจสำคัญมาจากภาพยนตร์ฮอลลีวู้ด นอกจากนี้บรรจงยังได้รับแรงบันดาลใจมาจากข้อมูลทั้งที่เป็นภาพถ่ายและตัวอักษรจากในสื่อต่างๆ ยิ่งไปกว่านั้น บรรจงยังได้รับแรงบันดาลใจมาจากเรื่องราวรอบตัว ได้แก่ ประสบการณ์ของตนเองและบุคคลรอบข้าง 2. จุดเด่นในการเล่าเรื่องของบรรจงคือ ภาพยนตร์ทุกเรื่องของบรรจงไม่ว่าจะเป็นแนวสยองขวัญหรือโรแมนติกคอมเมดี้จะต้องมีการหักมุมเสมอ ซึ่งบรรจงมีพัฒนาการในการหักมุมจากการหักมุมเชิงโครงเรื่องในภาพยนตร์เรื่องแรกๆ มาเป็นการหักมุมเชิงความรู้สึกระหว่างตัวละคร (หักมุมเชิงดราม่า) ในภาพยนตร์เรื่อง “พี่มาก..พระโขนง” ส่วนการผสมผสานตระกูลของภาพยนตร์ภาพยนตร์ของบรรจงนิยมการผสมผสานอารมณ์ขันลงไปในภาพยนตร์ ซึ่งโดยมากมักเป็นความตลกร้ายแบบเสียดสี (ตลกทางความคิด) ไม่ใช่ตลกคาเฟ่ ทั้งนี้ภาพยนตร์สยองขวัญที่ผสมผสานความตลกถือเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของบรรจง เพราะเป็นอารมณ์ขันในการกลัวผี (Horror Comedy) กล่าวคือฉากผีและสถานการณ์เกี่ยวกับความตายเป็นเครื่องมือที่ส่งเสริมให้ภาพยนตร์มีความตลกมากยิ่งขึ้น นอกจากนี้ภาพยนตร์สยองขวัญที่ผสมผสานความตลกของบรรจงยังมักจะมีการล้อเลียนภาพยนตร์สยองขวัญอีกด้วย 3. อิทธิพลสำคัญที่ส่งผลต่อการสร้างสรรค์ผลงานของบรรจง ได้แก่ บริษัทฟีโนมีนาและบริษัทจีทีเอช โดยบริษัทฟีโนมีนามีอิทธิพลโดยตรงต่อภาพยนตร์ 2 เรื่องของบรรจง คือ “ชัตเตอร์ กดติดวิญญาณ” และ “แฝด” เนื่องจากอยู่ในฐานะบริษัทผู้ผลิตภาพยนตร์ นอกจากนี้การที่บรรจงเคยทำงานที่บริษัทฟีโนมีนามาก่อน ยังทำให้บรรจงได้เรียนรู้ทักษะในการออกกองถ่ายและทักษะในด้านต่างๆ อันสามารถนำไปประยุกต์ใช้กับการสร้างภาพยนตร์ในเรื่องต่อๆ มาได้ ขณะที่ความเป็นระบบสตูดิโอและนโยบายของบริษัทจีทีเอชก็ส่งอิทธิพลเป็นอย่างมากต่อภาพยนตร์ของบรรจง ยิ่งไปกว่านั้น การที่บรรจงทำงานภายใต้ระบบบอร์ดบริหาร 8 คน และระบบผู้อำนวยการสร้างภาพยนตร์ ก็อาจทำให้ภาพยนตร์ของบรรจงพัฒนาไปในทิศทางที่ดีขึ้น ทว่าในขณะเดียวกันก็อาจทำให้บรรจงสูญเสียความเป็นประพันธกรไป |
Other Abstract: | This research aims at studying the cognitive development and the production of film director Banjong Pisanthanakun. The analysis consists of a study of the background, inspiration and influences affecting the creation of his work that have built the identity, storytelling techniques, combination of film types, thinking and working processes, by examining his 6 movies. Additionally, in-depth interviews were conducted with four film experts. The results showed that: 1. In terms of background, Banjong likes to convey his own personality in his movies through characters, whether being talkative, sarcastic, and funny, with sense of humor. His major inspiration comes from Hollywood movies. Moreover, he has been inspired by photographers, letters from the media, and also his own experience and stories of people around him. 2. His narrative style is horror or romantic comedy, always with a twisted point. The development started from his early movies with the twist of plot to the characters’ feelings (drama) in the movie “Pee Mak Phra Kanong”. Regarding the combination of genres, Banjong always adds humors, sarcastically funny ideas and jokes in his movies. Horror comedy is a style unique to him because it is the humor in the fear of ghosts, meaning ghost scenes and death situations, were tools help the movie to be funnier. His comedy movies usually parody horror films as well. 3. The significant influences on his works include the Phenomena and GTH companies. The production of The Phenomena had a direct impact on his two films: "Shutter" and "Alone". His work experiences at the company earned him skills in film shooting, which were later applied to his filmmaking. In addition, working in studios and the policy of the GTH had a great influence on his movies. Furthermore, working in the board committee of eight people and the producer system may have improved Banjong’s movies. But in the meantime, he might have lost a sense of commitment. |
Description: | วิทยานิพนธ์ (นศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558 |
Degree Name: | นิเทศศาสตรมหาบัณฑิต |
Degree Level: | ปริญญาโท |
Degree Discipline: | นิเทศศาสตร์ |
URI: | http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50935 |
Type: | Thesis |
Appears in Collections: | Comm - Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
5684661628.pdf | 5.22 MB | Adobe PDF | View/Open |
Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.