Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50942
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปารีณา ศรีวนิชย์en_US
dc.contributor.authorศศิรดี สะเดาen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะนิติศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-02T02:07:00Z-
dc.date.available2016-12-02T02:07:00Z-
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50942-
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractวิทยานิพนธ์ฉบับนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาถึงอำนาจจับของราษฎร กรณีความผิดซึ่งหน้าตั้งแต่เงื่อนไขหลักเกณฑ์การจับของราษฎร ขอบเขตความผิดทางอาญาที่ราษฎรมีอำนาจจับ วิธีการจับโดยราษฎร การตรวจสอบการจับของราษฎร และผลการจับโดยมิชอบด้วยกฎหมายของราษฎร จากการศึกษาพบว่า ความผิดที่ราษฎรมีอำนาจจับในความผิดซึ่งหน้าตามบทบัญญัติกฎหมายไทย จะต้องเป็นความผิดที่ระบุตามบัญชีแนบท้ายประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญา โดยหากเพิ่มเติมฐานความผิดอาญาที่สมควรกำหนดให้ราษฎรมีอำนาจจับได้ ได้แก่ ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ และความผิดฐานบุกรุกเคหสถาน จะทำให้ราษฎรมีบทบาทในการป้องกันสิทธิในทรัพย์สิน และสิทธิในการอยู่อาศัยในเคหสถานได้ทันท่วงที ซึ่งในต่างประเทศ ได้แก่ รัฐแคลิฟอร์เนีย สหรัฐอเมริกา ประเทศอังกฤษ ประเทศฝรั่งเศส และประเทศนิวซีแลนด์ ได้มีการกำหนดให้ราษฎรมีอำนาจจับในความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ อันเป็นการคุ้มครองสิทธิในทรัพย์สิน และความผิดฐานบุกรุกเคหสถาน ที่ให้ความสำคัญในหลักการคุ้มครองความปลอดภัยต่อชีวิตในเคหสถานอันเจ้าบ้านพึงมี ด้วยเหตุผลที่กล่าวข้างต้น วิทยานิพนธ์ฉบับนี้จึงทำการศึกษาวิเคราะห์อำนาจจับของราษฎร กรณีความผิดซึ่งหน้า เพื่อเสนอแนวทางในการแก้ไขเพิ่มเติมฐานความผิดที่ราษฎรมีอำนาจจับ ได้แก่ ความผิดฐานทำให้เสียทรัพย์ และความผิดฐานบุกรุกเคหสถาน โดยบัญญัติให้ครอบคลุมเพียงพอที่จะตอบสนองนโยบายรัฐในการส่งเสริมและสนับสนุนให้ราษฎรมีส่วนร่วมในการปกป้องดูแลสังคมได้อย่างมีประสิทธิภาพมาปรับใช้ให้เหมาะสมกับกระบวนการยุติธรรมทางอาญาของประเทศไทย อันช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในกระบวนการยุติธรรมได้ดียิ่งขึ้นen_US
dc.description.abstractalternativeThis thesis presents the study on citizen’s arrests in the case of flagrant offenses, including conditions and criteria for citizen’s arrest, scope of criminal offenses for which the citizen has the power of arrest, citizen’s arrest methods, examination of the citizen’s arrest, as well as results of illegal citizen’s arrests. According to the study, the citizen’s power of arrest, flagrant offenses under the scope in which a citizen has the power of arrest must be the offenses specified in the Schedule Annexed to the Criminal Procedure Code. It was found that it is prescribed in foreign countries that a citizen shall have the power of arrest with respect to offenses of mischief, which protects the rights in property, and offenses of trespass to dwelling, in which the principle of life safety protection entitled by the dwelling owner is emphasized For the aforesaid reasons, this thesis proposes a guideline for amending offenses for which the citizen has the power of arrest, by prescribing provisions regarding the offenses of mischief and offenses of trespass to dwelling that are sufficiently inclusive to satisfy the government policies on promoting and supporting citizen participation in efficiently overseeing and protecting the society.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.titleการกำหนดความผิดทางอาญาที่ราษฎรมีอำนาจจับen_US
dc.title.alternativeTHE CRIMINAL MEASURES FOR CITIZEN'S ARRESTen_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineนิติศาสตร์en_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorPareena.S@Chula.ac.th,pareena.lawchula@gmail.comen_US
Appears in Collections:Law - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5686023634.pdf3.14 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.