Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50955
Title: การกำจัดเบนซีนในก๊าซไอเสียด้วยปฏิกิริยาออกซิเดชัน โดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาเหล็กออกไซด์และโมลิบดินัมออกไซด์ บนตัวรองรับไทเทเนีย
Other Titles: REMOVAL OF BENZENE FROM EXHAUST GAS BY CATALYTIC OXIDATION OVER IRON OXIDE AND MOLYBDENUM OXIDE CATALYSTS SUPPORTED ON TITANIA
Authors: คณิน เสลามาศสกุล
Advisors: ธราธร มงคลศรี
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Tharathon.M@Chula.ac.th,tharathon.m@chula.ac.th
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: ปฏิกิริยาออกซิเดชันโดยใช้ตัวเร่งปฏิกิริยาถูกนำมาใช้ในการกำจัดเบนซีนที่ปนอยู่ในก๊าซ ไอเสียจากแหล่งกำเนิดอยู่กับที่ โดยตัวเร่งปฏิกิริยาที่เลือกใช้ประกอบด้วย เหล็กออกไซด์ และ โมลิบดีนัมออกไซด์ บนตัวรองรับไทเทเนียชนิด P25 ซึ่งเตรียมได้จากวิธีการเคลือบฝังเเบบเปียก (wet impregnation method) การวิเคราะห์คุณลักษณะของตัวเร่งปฏิกิริยาใช้เทคนิค Nitrogen Physisorption, Inductively coupled plasma-optical emission spectroscopy (ICP-OES), X-ray diffraction (XRD), pyridine adsorption เเละ NH3 Temperature Programmed Desorption (NH3-TPD) การทดสอบประสิทธิภาพของตัวเร่งปฏิกิริยาในการกำจัดเบนซีนเเละ ไนตริกออกไซด์ (NO) เเบ่งเป็น 3 ระบบ ได้เเก่ ระบบการกำจัดเบนซีน, ระบบการกำจัด NO เเละ ระบบการกำจัดรวม จากการทดลองพบว่า ในช่วงอุณหภูมิปฏิกิริยา 250-300oC ตัวเร่งปฏิกิริยา เหล็กออกไซด์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่ดีที่สุดในระบบการกำจัดเบนซีน ส่วนตัวเร่งปฏิกิริยาโมลิบดีนัมออกไซด์เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาที่ดีที่สุดในระบบการกำจัด NO ซึ่งที่อุณหภูมิปฏิกิริยา 300oC มีค่า %NO conversion เท่ากับ 51.14% และ ในระบบการกำจัดรวมพบว่า ตัวเร่งปฏิกิริยาที่มีความเหมาะสมมากที่สุด คือ ตัวเร่งปฏิกิริยาเหล็กออกไซด์ เนื่องจากมีประสิทธิภาพในการกำจัดเบนซีนที่สูง และ มีความสามารถในการเปลี่ยนเบนซีนไป CO2 ได้เกือบทั้งหมด ถึงเเม้ว่าในส่วนของการกำจัด NO จะมีประสิทธิภาพที่ต่ำกว่าตัวเร่งปฏิกิริยาโมลิบดีนัมออกไซด์เล็กน้อยก็ตาม
Other Abstract: Catalytic oxidations are used for eliminating benzene in exhaust gas. Fe2O3 and MoO3 catalysts supported on TiO2 (P25) which are prepared using wet impregnation method are selected. Nitrogen Physisorption, Inductively coupled plasma-optical emission spectroscopy (ICP-OES), X-ray diffraction (XRD), pyridine adsorption, and NH3 Temperature Programmed Desorption (NH3-TPD) are used for characterizing the catalysts. Three systems, i.e. benzene oxidation, selective catalytic reduction of nitric oxide (NO), and simultaneous benzene and NO reduction are employed. The investigation found that Fe2O3/TiO2 catalyst is the best catalyst for benzene destruction system in the reaction temperature range 250-300oC. MoO3/TiO2 catalyst is the best catalyst for SCR system that shows 51.14 %conversion of NO at 300oC. For mixed system, Fe2O3/TiO2 catalyst is a suitable catalyst for both benzene and NO removal because the catalyst has a high performance for benzene eliminating as well as an ability to convert benzene to CO2 although its attribute to NO removal is slightly lower than MoO3 catalyst.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมเคมี
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50955
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5770131021.pdf3.72 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.