Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50963
Title: การปรับปรุงการออกแบบอาคารต้านทานแผ่นดินไหวด้วยการวิเคราะห์พลศาสตร์ไม่เชิงเส้น
Other Titles: Design improvement of a building under earthquake using nonlinear dynamic analysis
Authors: ปิยะณัฐ โมกข์ณรงค์
Advisors: ทศพล ปิ่นแก้ว
Other author: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์
Advisor's Email: Tospol.P@chula.ac.th,tospol.pink@gmail.com,tospol_pk@yahoo.com
Subjects: อาคาร -- การออกแบบและการสร้าง
การออกแบบต้านทานแผ่นดินไหว
Buildings -- Design and construction
Earthquake resistant design
Issue Date: 2558
Publisher: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Abstract: มาตรฐานการออกแบบกำหนดให้อาคารที่ทำการออกแบบใหม่ภายใต้แรงกระทำจากแผ่นดินไหวสามารถเกิดความเสียหายได้แต่ต้องไม่วิบัติพังทลายจนเกิดความเสี่ยงภัยต่อชีวิตของผู้ใช้งานอาคาร (Life safety criteria) โดยอนุญาตให้ใช้ผลวิเคราะห์แบบเชิงเส้นร่วมกับสมมติฐานภายหลังที่โครงสร้างมีพฤติกรรมแบบไม่เชิงเส้นเพื่อลดความซับซ้อนในการออกแบบ ด้วยวิธีการข้างต้นผลการวิเคราะห์ที่ได้อาจไม่ถูกต้องสมจริง โดยเฉพาะกับอาคารที่มีรูปทรงหรือองค์ประกอบโครงสร้างไม่สม่ำเสมอ ในงานวิจัยนี้จึงนำเสนอกระบวนการปรับปรุงการออกแบบอาคารจำนวน 2 กระบวนการ ได้แก่ กระบวนการออกแบบซ้ำด้วยวิธีลองผิดลองถูก และกระบวนการวิธีพลศาสตร์ไม่เชิงเส้นแบบผสมตามหลักการสมดุลพลังงาน โดยคาดหวังว่าอาคารที่ได้รับการปรับปรุงแบบจะมีประสิทธิภาพในการต้านทานแผ่นดินไหวได้ดีกว่าอาคารที่ออกแบบตามวิธีการปกติ การศึกษาเลือกพิจารณาตัวอย่างอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กมีกำแพงรับแรงเฉือนความสูง 8 ชั้น บริเวณพื้นที่จังหวัดทางภาคเหนือ โดยการปรับปรุงโครงสร้างจะทำเฉพาะการปรับเปลี่ยนปริมาณเหล็กเสริมหลักและรองในส่วนโครงสร้างกำแพงรับแรงเฉือนและเหล็กปลอกเสาเพื่อไม่ให้กระทบต่อสติฟเนสของอาคาร ผลที่ได้จากการปรับปรุงแบบอาคารด้วยกระบวนการทั้งสองให้ผลที่ใกล้เคียงกันและแสดงให้เห็นถึงความเป็นไปได้ในการนำมาใช้ประกอบการปรับปรุงแบบอาคาร โดยพบว่าอาคารที่ปรับปรุงยังมีสมรรถนะอยู่ในเกณฑ์ความเสียหายไม่เกินระดับเป้าหมาย สามารถลดการใช้ปริมาณเหล็กเสริมลงได้อย่างมีนัยสำคัญ ทั้งนี้พบว่าเสามีปริมาณเหล็กปลอกลดลง 30% กำแพงรับแรงเฉือนมีปริมาณเหล็กยืนลดลง 52% และเหล็กเสริมตามขวางลดลง 54% เป็นผลให้สามารถจัดการกำลังความต้านทานของวัสดุได้อย่างมีประสิทธิภาพ นำไปสู่การประหยัดวัสดุและค่าแรงก่อสร้างได้อย่างมีนัยสำคัญ โดยอาคารที่ได้รับการปรับปรุงยังคงมีระดับสมรรถนะในการต้านทานแผ่นดินไหวได้ตามมาตรฐานสากล แม้ผลที่ได้จากกระบวนการทั้งสองจะใกล้เคียงกัน แต่การประยุกต์ใช้งานด้วยกระบวนการวิธีพลศาสตร์ไม่เชิงเส้นแบบผสมตามหลักการสมดุลพลังงานสามารถให้ผลที่รวดเร็วและเป็นระบบกว่า
Other Abstract: The building codes allow damages but no collapse or loss of life (Life safety criteria) under designed earthquake. To simplify the analysis, the design code suggests a conventional linear analysis with some assumption for nonlinear effect. However, the designed building might not achieve the desirable target performance, especially the irregular building. This research proposes two procedures for design improvement, first is the iterative design procedure by using trial and error concept and another is the inelastic dynamic design procedure using pushover analysis with equal energy concept. The procedures aim to effectively improve the seismic resistance of the building over that from conventional design. The 8-storey R/C building with shear walls in Northern Thailand is considered. Only main and transverse reinforcement in shear walls and stirrup in columns are adjusted to avoid the effect on building stiffness. The results obtained from both procedures show that the building performance can meet target level and reveal the possibility of significant reduction of reinforcement. The stirrup reinforcement in column can be reduced to 30%, and both of main and transverse reinforcement in shear wall can be reduced about 50% whiles the building still attains its earthquake performance as required by the standard. These results encourage toward the real application of the proposed procedures to achieve the cost effective design of the building. It is noted that, although the two procedures provide similar results, the application of the inelastic dynamic design by equal energy concept seems to be preferable due to its more effective and systematic.
Description: วิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558
Degree Name: วิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต
Degree Level: ปริญญาโท
Degree Discipline: วิศวกรรมโยธา
URI: http://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50963
URI: http://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1268
metadata.dc.identifier.DOI: 10.14457/CU.the.2015.1268
Type: Thesis
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5770230521.pdf7.39 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.