Please use this identifier to cite or link to this item: https://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50979
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorวิชัย เยี่ยงวีรชนen_US
dc.contributor.authorณัฐสรณ์ คุปตะวาณิชen_US
dc.contributor.otherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. คณะวิศวกรรมศาสตร์en_US
dc.date.accessioned2016-12-02T02:07:48Z
dc.date.available2016-12-02T02:07:48Z
dc.date.issued2558en_US
dc.identifier.urihttp://cuir.car.chula.ac.th/handle/123456789/50979
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (วศ.ม.)--จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2558en_US
dc.description.abstractเครื่องสแกนเลเซอร์ภาคพื้นดิน (Terrestrial Laser Scanner, TLS) เป็นเครื่องมือรังวัดจุดตำแหน่งพิกัด 3 มิติภาคพื้นดิน ที่ให้ข้อมูลจุดพิกัดจำนวนมากและมีความถูกต้องสูง เรียกว่า พอยท์คลาวด์ (point cloud) ได้ถูกนำมาใช้ในงานทางด้านวิศวกรรม และสถาปัตยกรรม จึงจำเป็นต้องมีการวางแผนการรังวัดโดยคำนึงถึงความถูกต้องของข้อมูลพอยท์คลาวด์ที่ต้องการเป็นสำคัญ ซึ่งปัจจัยความถูกต้องของข้อมูลพอยท์คลาวด์ที่เกี่ยวข้องกับการรังวัดด้วยเครื่องสแกนเลเซอร์ภาคพื้นดิน ได้แก่ ระยะห่างระหว่างวัตถุกับสถานีตั้งเครื่องสแกนเลเซอร์ภาคพื้นดิน และจำนวนสถานีตั้งเครื่องสแกนเลเซอร์ภาคพื้นดิน นอกจากนี้ยังพิจารณากระบวนการรังวัดที่เป็นกระบวนการสำคัญในการจัดการข้อมูลพอยท์คลาวด์ คือ การรังวัดยึดโยงพิกัดทางตรง (direct georeferencing) และการรังวัดยึดโยงพิกัดทางอ้อม (indirect georeferencing) สำหรับงานวิจัยนี้วัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์หาปัจจัยทางเรขาคณิตที่มีผลต่อค่าความถูกต้องของข้อมูลพอยท์คลาวด์ที่ได้จากการสแกนโดยใช้เครื่องสแกนเลเซอร์ภาคพื้นดิน ซึ่งสามารถออกแบบการทดลองโดยแบ่งกรณีศึกษาสำหรับปัจจัยด้านระยะห่างระหว่างวัตถุกับสถานีตั้งเครื่องสแกนเลเซอร์ภาคพื้นดินออกเป็น 5 ระยะ ตั้งแต่ 30 ถึง 150 เมตร ส่วนปัจจัยเรื่องจำนวนสถานีตั้งเครื่องสแกนเลเซอร์ภาคพื้นดิน แบ่งเป็น 1 2 และ 3 สถานีที่ระยะการสแกน 30 และ 90 เมตร โดยศึกษาเปรียบเทียบกันระหว่างกระบวนการรังวัดยึดโยงพิกัดทางตรงและทางอ้อมทุกกรณี จากนั้นด้วยการตรวจสอบกับค่าพิกัดจุดตรวจสอบ (checkpoints) และทำการทดสอบผลทางสถิติ พบว่าความถูกต้องของข้อมูลพอยท์คลาวด์ลดลงเมื่อระยะการสแกนมากขึ้น ทั้งนี้หากต้องการให้ข้อมูลพอยท์คลาวด์มีความถูกต้องสูงขึ้นต้องรังวัดยึดโยงค่าพิกัดทางอ้อมหรือเพื่อจำนวนสถานีตั้งเครื่องสแกนเลเซอร์ภาคพื้นดินเพื่อให้ข้อมูลพอยท์คลาวด์มีความหนาแน่นเพิ่มขึ้นen_US
dc.description.abstractalternativeTerrestrial laser scanning (TLS) is a ground-based instrument to measure the three dimension point of objects. TLS capture a lot of high-accuracy spatial points called point cloud which applied in engineering and architecture projects. It has to be planned to surveying the accuracy of the point cloud. The scanning geometry factors of affecting the accuracy of point cloud are the distance of scanning and the number of TLS stations. Also, the measuring process is an important process in the point cloud data management has two methods which are direct georeferencing and indirect georeferencing. The purpose of this thesis is to assess the accuracy of analysis of factors affecting the geometry accuracy of point cloud from TLS. The experimental design case study, the first, the distance of scanning range from 30 to 150 meters. The second factor is the number of TLS stations that one, two and three stations are a scanning range from 30 and 90 meters, By comparison, between direct georeferencing and indirect georeferencing, in all case studies. Then, checking the point cloud with checkpoints and showing the statistical test results. The experimental results the accuracy of point cloud decreases when increasing the distance of scanning. If it wants to increase the accuracy of point cloud, it’ll use indirect georeferencing or add the TLS stations that the point cloud density is increased.en_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.relation.urihttp://doi.org/10.14457/CU.the.2015.1266-
dc.rightsจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.subjectการรังวัด
dc.subjectระบบการกราดตรวจ
dc.subjectเรขาคณิต
dc.subjectSurveying
dc.subjectScanning systems
dc.subjectGeometry
dc.titleการศึกษาปัจจัยทางเรขาคณิตของการสแกนที่มีผลกระทบต่อความถูกต้องของเครื่องสแกนเลเซอร์ภาคพื้นดินen_US
dc.title.alternativeA study of scanning geometry factors affecting the accuracy of terrestrial laser scanneren_US
dc.typeThesisen_US
dc.degree.nameวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิตen_US
dc.degree.levelปริญญาโทen_US
dc.degree.disciplineวิศวกรรมสำรวจen_US
dc.degree.grantorจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยen_US
dc.email.advisorVichai.Y@Chula.ac.th,vichai.y@chula.ac.then_US
dc.identifier.DOI10.14457/CU.the.2015.1266-
Appears in Collections:Eng - Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
5770501621.pdf10.87 MBAdobe PDFView/Open


Items in DSpace are protected by copyright, with all rights reserved, unless otherwise indicated.